Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 เมษายน 2545
"เคซีอี"เตรียมทุ่มพันล้าน ซื้อเครื่องจักรเพิ่มการผลิต             
 


   
search resources

เคซีอี อีเลคโทรนิคส์, บมจ. - KCE




เคซีอีเตรียมกู้อีกเกือบ 1 พันล้านบาท เพื่อซื้อเครื่อง จักรขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 3 แสนตารางฟุต รองรับออร์เดอร์สินค้าที่เพิ่มเข้ามาช่วงไฮซีซั่น ยืนยันผลประกอบการไตรมาสแรก

ปีนี้ที่จะประกาศออกมามีกำไร ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท นายปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE เปิดเผย ว่า

ขณะนี้เคซีอี เตรียมที่จะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพิ่ม เพื่อใช้เป็น เงินทุนในการขยายโรงงานของบริษัทย่อย คือ บริษัท เคซีอี เทคโนโลยี จำกัด เพิ่มอีก โดยต้อง ลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม เพื่อรองรับออร์เดอร์ใหม่

ๆ ที่กำลังเพิ่มเข้ามา โดยการลงทุนดังกล่าวนี้ เคซีอี ต้องกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ประมาณ 14 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินสองในสามส่วนของเงินทุน และอีกส่วนหนึ่งจะใช้เงินทุน หมุนเวียนของบริษัท

เพื่อใช้ในการขยายงานดังกล่าวนี้ ส่วนการติดตั้ง เครื่องจักรจะแล้วเสร็จและเดินเครื่องผลิตได้ประมาณไตรมาส 3 หรือ 4 ปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจนี้

ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกับออร์เดอร์ลูกค้าที่มีเข้ามาในขณะนี้ ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของ เคซีอีเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนตารางฟุตต่อเดือน จากเดิมที่มีกำลังการผลิต อยู่แล้ว 3 แสนตารางเมตรต่อเดือน

เช่นกัน และหากรวมกันทั้ง 3 โรงงานเคซีอีมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 9 แสนตารางฟุตต่อเดือน แต่ช่วงที่ผ่านมากำลังการผลิตของเคซีอียังไม่เต็มกำลังการผลิต

แต่การลงทุนขยายกำลังการผลิตไว้เพราะมองถึงอนาคตที่ออร์เดอร์ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต นายปัญจะยืนยันว่า แม้ตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จะซบเซาไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา

แต่ก็เป็นเพียงชิ้นส่วนบางชนิดเท่านั้น แต่ PCB ที่เคซีอีผลิตอยู่ ยังได้รับความนิยมเช่นเดิม และการผลิต สินค้าก็ตามออร์เดอร์ที่มีเข้ามาเท่านั้น อีกทั้งมูลค่าตลาด PCB มีถึง 3.5 หมื่นล้านบาท

โอกาสที่ตลาดดังกล่าวจะเติบโตย่อมมีช่องทางอีกมาก ขึ้นอยู่กับการผลิตและการหาลูกค้าของแต่ละบริษัท ดังนั้น เรื่องตลาดจึงไม่มีปัญหา ก่อนหน้านี้ การขยายกำลังการผลิตด้วยการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่นั้น

ยังไม่ถึงเวลา เพราะต้องดูภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยอีกหลายอย่างประกอบกัน แต่การซื้อเครื่องจักรเพิ่ม ในไลน์การผลิต เป็นสิ่งที่ต้องกระทำก่อน รวมทั้งขยายตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะ

พิจารณาความต้องการของตลาดและราคาขายด้วย สำหรับต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตนั้น KCE ยังต้องนำเข้าถึง 38.5% ขณะที่อีก 61.5% เป็นวัตถุดิบที่บริษัทผลิตได้เอง โดยให้ บริษัท ไทยลามิเนต จำกัด

ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เพื่อผลิตพรีเพ็กซ์และลามิเนต จึงทำให้บริษัทลดต้นทุนได้พอสมควร ขณะที่ส่วนต่างระหว่างต้นทุนและ ราคา (Gross Margin ) ทั้งหมดมีกว่า 30% ซึ่งเป็นตัวเลขที่บริษัทพอใจ

แต่ขัดแย้งกับความเข้าใจของรัฐบาลที่มองว่า ธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอ-นิกส์ ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มของสินค้า และรายได้จาก การขายก็ไม่ได้มากมายเหมือนกับธุรกิจอื่น เพราะ KCE มีกำไรจากการผลิต PCB

เป็นที่พอใจของผู้บริหาร แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาการผลประกอบการของ เคซีอีและบริษัทย่อยจะไม่ดีนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ออร์เดอร์สินค้าจากลูกค้า

หดหายไปทันที ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาสดังกล่าวขาดทุนอย่างหนัก ประกอบกับแต่เดิมออร์เดอร์จากลูกค้าก็ลดลงกว่าแต่ก่อนมาก เพราะถูกไต้หวันทุ่มตลาดส่งผลให้เคซีอี

ต้องหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยการลดราคาสินค้าลงถึง 15% ซึ่งกระทบต่อรายได้ที่ต้องลดลง ตามไปด้วย แต่ขณะนี้ออร์เดอร์กำลังจะมา เพราะเราหาลูกค้าในแถบยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่ม

โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก เราบุกตลาดนี้แล้ว และออร์เดอร์เริ่มเข้ามามากขึ้นจากก่อนหน้าที่หดหายไปอย่างมากเช่นกัน และราคาสินค้าของเราก็เริ่มทรง ๆ ตัวแล้ว

เชื่อว่าอีกไม่นานราคาก็น่าจะดีดกลับเหมือนเดิม ปีนี้เรายิ้มได้แน่นอนŽ นายปัญจะกล่าว อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ คือตลาดเป้าหมายของเคซีอีเมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ

เพราะตลาดดังกล่าวมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ก้าวหน้าและในอนาคตการใช้สายไฟฟ้าในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีแล้ว ดังนั้น จึงต้องเพิิ่มการผลิตและส่งออกเพื่อทำตลาด จากที่ KCE ขายอยู่เพียง 25%

ของกำลังการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ตามแผนการเพิ่มกำลังการผลิตนั้น KCE จะมีกำลังการผลิตในปีนี้ทั้งสิ้น 900 ตารางฟุตต่อเดือนและเพิ่มเป็น 1,200 ตารางฟุตต่อเดือนในปี 2545 หากจะเพิ่มไปตามแผนดังกล่าว จริง

จะพบว่ากำลังการผลิตในปี 2545 นี้ จะก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก และนั่นหมายความว่า KCE จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีกเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้ผู้บริหารยืนยันว่า

ยังไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานแห่งใหม่ โดยตลาดที่สำคัญในการส่งออกของ KCE คือ ยุโรป 60% สหรัฐอเมริกา 25% เอเชีย 15% ที่เหลือคือขายให้กับลูกค้าในประเทศ นายปัญจะให้ เหตุผลว่า

การขายในประเทศมีน้อย เนื่องจากราคาขายของ PCB ในประเทศจะมีราคาถูกกว่า ราคาขายในต่างประเทศ ดังนั้น ช่วงที่ผ่านมา KCE จึงมุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศเกือบทั้งหมด รวมทั้งตลาดก็ใหญ่กว่า

เนื่องจากความต้องการใช้มีมากกว่า สำหรับผลประกอบการของเคซีอีนั้น นายปัญจะคาดว่าผลประกอบการคือยอดขายสำหรับ ปี้นี้ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนกำไรประมาณ 200 ล้านบาท

เพราะอย่างน้อยการสั่งซื้อสินค้าย่อมมีมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าสินค้าคงคลังของ ลูกค้าน่าจะหมดไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา จึงคาดว่าจะมีออร์เดอร์เข้ามามากกว่าปกติ และย่อม ส่งผลดีต่อราคาสินค้าที่จะปรับขึ้นอีกครั้ง

แม้ว่าผลประกอบการจะมีกำไรเพียงเล็กน้อยในงวดสิ้นปี 2544 เพราะบริษัทย่อยฉุดให้ผล ประกอบการบริษัทลดลง ส่งผลให้ผลการดำเนิน งานลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน จากที่มีกำไร 520.46 ล้านบาท

เหลือเพียง 2.44 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นที่มีอยู่ 17.64 บาทเหลือเพียง 0.08 บาทต่อหุ้น ซึ่งกำไรที่ลดลงเกือบ 100% เนื่องจากสาเหตุสองประการคือ

ประการแรกภาวะการค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลกได้ประสบความตกต่ำเริ่มจากไตรมาสที่หนึ่งของปีที่ผ่านมา และถูกซ้ำเติมโดยเหตุการณ์การก่อการร้ายในประเทศคู่ค้าสำคัญ

อันส่งผลให้ความต้องการสินค้าของบริษัทลดลง ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในระหว่างผู้ผลิต ราคาต่อหน่วยลดลงในช่วงปลายไตรมาสที่สามและที่สี่ อีกทั้ง บริษัทย่อย (บริษัท เคซีอี เทคโนโลยี จำกัด)

ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2544 ยังคงประสบ การขาดทุนจากยอดขายที่ต่ำกว่าเป้าหมายและต้นทุนการผลิตสูง ในปี 2543 ก่อนบริษัท เคซีอี เทคโนโลยี จำกัด เริ่มดำเนินงานนั้นบริษัทฯมีกำไรจากส่วนได้เสียใน

กำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยสองบริษัท173,870,407 บาท แต่ในรอบปี 2544 มีการขาดทุนจากส่วนได้เสียในขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย 129,319,357 บาท

โดยที่บริษัทย่อยอื่นยังคงทำกำไรสุทธิเป็นที่พอใจ นายปัญจะแย้มว่า สำหรับผลประกอบการ ไตรมาสแรกปีนี้ ที่กำลังจะประกาศผลออกมานั้น นายปัญจะเผยว่าจะมีกำไรแน่นอน แม้ว่าบริษัท ย่อยคือ เคซีอี

เทคโนโลยี ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการผลิตสินค้าเมื่อปลายปี 2544 นั้น ประสบกับภาวะขาดทุน ซึ่งเป็นตัวฉุดให้เคซีอี ประสบภาวะ ขาดทุน แต่ปีนี้ออร์เดอร์สินค้าที่สั่งเข้ามายังเคซีอี เทคโนโลยี เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us