|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
ทันทีที่เที่ยวบินสุดท้ายของสายการบิน ANA ร่อนลง แตะพื้นสนามบิน Haneda ความท้าทายที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเป็น mission ที่เกือบจะ impossible ก็ได้เริ่มขึ้น ในคืนอันแสนสั้นของวันที่ 30 พฤศจิกายน 2004
ห่างจากตัวอาคารของสนามบิน Haneda (ที่มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า Big Bird) ไปทางตะวันออก 400 เมตร อาคารใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ ด้วยงบประมาณ 670 ร้อยล้านเยน เป็นที่ที่ Big Bird จะได้กางปีกออก นั่นหมายถึง การขยาย terminal ใหม่โดยย้ายที่ทำการของ ANA group และสายการบิน Air Do ไปยัง terminal 2 พร้อมกันนั้น JAL group ก็ขยายเข้าครอบครองพื้นที่เดิมของ ANA ใน terminal 1
หลังจากที่ได้รับสัญญาณ confirm landing เมื่อเวลา 23.25 น. เรียบร้อยแล้ว staff ที่ศูนย์ควบคุมการบินก็เริ่มถอดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารเพื่อบรรจุลงกล่องตามลำดับอย่างระมัดระวัง จากนั้นเป็นหน้าที่ของทีมงานที่ว่าจ้างมาเป็นพิเศษจากบริษัทขนย้ายซึ่งมาช่วยลำเลียงของไปส่ง ส่วน staff ที่รับผิดชอบในแต่ละเครื่องมือจะไปรอรับของที่ terminal 2 และเริ่มประกอบกลับดังเดิมให้ทันใช้งานสำหรับเที่ยวบินแรกของวันรุ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันทางด้านล่างของศูนย์ควบคุมการบินนั้น เครื่องบินโบอิ้ง จำนวน 50 ลำ ก็กำลังถูกเคลื่อนย้ายโดยใช้รถลาก 500 คัน
อีกด้านหนึ่ง staff กลุ่มใหญ่ในส่วนของภาคพื้นดิน เริ่มทำหน้าที่หลังจากผู้โดยสารคนสุดท้ายออกจากสนามบิน สัมภาระทุกชิ้นได้รับการลำเลียงไปยังอาคารใหม่ในลักษณะเดียวกัน
การเคลื่อนย้ายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมจนกระทั่งถึง 4.00 น. ซึ่งเป็นเวลานัดหมายที่ทุกระบบจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดและทดลองก่อนใช้งานจริง
ลองนึกภาพคร่าวๆ ถึงเวลาย้ายบ้านซึ่งกว่าจะเก็บและบรรจุของลงกล่องเสร็จ กว่าจะขนของไปยังบ้านใหม่และกว่าจะจัดของเข้าที่ให้พร้อมอยู่อาศัยอย่างปกตินั้นคงใช้เวลากันหลายวัน ดังนั้นการย้ายไป terminal ใหม่เพียงเวลาข้ามคืนของ ANA นี้จึงเทียบเท่ากับเป็นงานช้าง (ทั้งโขลง) เลยทีเดียวและเหนือสิ่งอื่นใดการปฏิบัติการในวันรุ่งขึ้นนั้นจะต้องไม่มีคำว่า "ผิดพลาด"
เวลา 5.25 น.เช้าตรู่ของวันที่ 1 ธันวาคม 2004 ประตูใหญ่ terminal 2 ของ Big Bird ภายใต้การดำเนินงานของ ANA ได้เปิดออกต้อนรับผู้โดยสารอย่างเป็นทางการ
ก่อนหน้านี้แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ออกไปเป็นระยะๆ แล้วก็ตามแต่ก็ยังมีผู้โดยสารบางคนที่ยังไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้การเปิด terminal ใหม่ในวันแรกต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่มาช่วยอำนวยความสะดวกมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดีโดยปราศจากความผิดพลาดใดๆ ทั้งในส่วนของศูนย์ควบคุมการบินและภาคพื้นดิน
ปีกใหม่เป็นอาคาร 5 ชั้นกับชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้นที่ใช้เป็นชานชาลาของสถานีรถไฟสาย Keikyu และสถานี Tokyo Monorail พร้อมกับทางเดินใต้ดินที่สร้างเชื่อมต่อมาจาก terminal 1
ภาพเขียนขนาดใหญ่ซึ่งแขวนอยู่กลางทางเข้าด้านหน้าของ terminal 2 ที่ชื่อ "AURORA OF WATERFALL" เป็นงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานโดดเด่นอย่าง Hiroshi Senju ซึ่งปัจจุบันเป็น Director of International Research Center for the Arts ของ Kyoto University of Art and Design ภายในอาคารยังมี master piece ของ Hiroshi Senju จัดแสดงอีก 3 ชิ้น
ห้องโถงเพดานสูงโปร่งสบายตาได้รับการออก แบบเป็น Counter Check-in เรียงยาวตลอดแนว หรืออาจจะเลือกตรงไปยังเครื่องอัตโนมัติที่สามารถ Check-in ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอเข้าแถว
พื้นที่ทั้ง 6 ชั้นทางทิศใต้ของอาคารสร้างเป็น mall ภายใต้ชื่อ Market Place ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมร้านอาหารและร้านจำหน่ายของฝากชื่อดังของทั้งโตเกียว มาไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังมีห้างสรรพสินค้า Mitsukoshi มาสมทบด้วยอีกแรงใน concept ของ one-stop-stop เช่นนี้ช่วยให้การรอคอยขึ้นเครื่องไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป ในทางกลับกัน Market Place อาจมีส่วนช่วยดึงดูดให้ผู้คนมา Check-in เร็วขึ้นเผื่อจะได้มีเวลาเดิน shopping นานขึ้น
ทางด้านเหนือของอาคารมีโรงแรม Haneda Excel Hotel Tokyu ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารโดยเฉพาะ business man ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มักจะต้องออกเดินทางไปติดต่อธุรกิจยังต่างจังหวัดตั้งแต่เช้าและช่วยสร้างความอุ่นใจไม่ว่าจะกลับถึงโตเกียวดึกเพียงใดก็ตาม
แม้ว่าจะมีฐานะเป็นเพียงสนามบินภายในประเทศแต่ Big Bird วันนี้มีศักยภาพเทียบเท่าหรืออาจจะดีกว่ามาตรฐานของสนามบินนานาชาติบางแห่งเสียด้วยซ้ำ
การเปิดใช้ terminal 2 นี้ราวกับเป็นการท้าดวล terminal 1 ที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้าม ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของสถานที่ การบริการด้วยจำนวนเที่ยวบินและเวลาที่สะดวกในการเดินทาง รวมไปถึงเรื่องของราคาที่มีผู้โดยสารเป็นกรรมการตัดสินแพ้ชนะ
หากมองให้ลึกลงไปอีกจะพบว่าการแข่งขันที่ทวีความเข้มข้นขึ้นนี้เป็นไปอย่างสอดคล้องภายใต้นโยบายเดียวกันของ Big Bird ที่ทั้งสองหาใช่จะเป็นศัตรูกันโดยตรงแต่กลับเป็นพันธมิตรที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันในฐานะปีกอันแข็งแรงที่จะพา Big Bird ออกบิน ท้าทายเจ้าแห่งความเร็วอย่าง Shinkansen ในการช่วงชิงตลาดคมนาคมญี่ปุ่นที่มีมูลค่ามหาศาล
อีกมิติหนึ่ง การกางปีกของ Big Bird คราวนี้ อาจจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นของความพร้อมที่อาศัยความได้เปรียบในทำเลซึ่งตั้งอยู่ในเขตโตเกียวเพื่อก้าวขึ้นเป็น International Airport แทนที่ Narita ในอนาคต
|
|
|
|
|