|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
ขณะที่เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มภาคใต้บ้านเรา ผู้เขียนเดินทางมาเยี่ยมญาติที่เคนทักกี้ และเพิ่งวางโทรศัพท์จากคุณแม่ที่เมืองไทย ตอนที่คุยกันทางโทรศัพท์ คุณแม่บอกเพียงว่า เมื่อเช้าแผ่นดินไหว ประมาณ 6 ริกเตอร์ คนในกรุงเทพฯ รู้สึกได้ ไม่ได้คิดอะไรมาก วางหูกันไป... จากนั้น สวมวิญญาณนักข่าว ท่องโลกอินเทอร์เน็ต ถึงได้ทราบว่า แผ่นดินไหวที่แม่บอกนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบ 40 ปี ขนาด 8.9 ริกเตอร์ (ต่อมา Unite States Geological Survey หรือ USGS เพิ่มเป็น 9 ริกเตอร์) ที่ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา... พอเล่าให้สามีฟัง สามี บอกทันทีว่า ให้เช็กข่าวให้ละเอียด เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อาจเกิดสึนามิได้ เพราะเกาะสุมาตราอยู่ในเขต การเกิดแผ่นดินไหวที่มีสาเหตุจากการที่เปลือกโลกเคลื่อนตัว หรือทางธรณีวิทยาเรียกว่า Subduction Zone และเพียงไม่กี่นาที สึนามิก็ถาโถมเข้าสู่ฝั่ง...
จากนั้นกระแสข่าวบนโลกไซเบอร์ก็เริ่มมีมากขึ้น รุนแรงขึ้น...เปลี่ยนจากเช้าของ Post Christmas ที่ควรจะแจ่มใส กลายเป็นเช้าที่หดหู่ที่สุดในชีวิต...เห็นภาพจากศรีลังกาก่อน มาที่อินเดีย และมาที่ภูเก็ต เขาหลัก พังงา ที่โดนไปด้วยเต็มๆ ขณะที่ยังไม่ทราบชะตากรรมของชาวสุมาตรา... ตัวเลขผู้เสียชีวิต ผู้สูญหายเริ่มเพิ่มขึ้น ซากปรักหักพังเกลื่อนหาดอันเคยสวยงาม... ได้ข่าวคุณพุ่มหายจากอินเทอร์เน็ต รีบโทรกลับบ้านทันที คนที่บ้านยังไม่ทราบข่าวหลายข่าว ต่างก็หดหู่ไปตามๆ กัน บอกน้องสาวให้รีบเช็กว่ามีที่ไหนต้องการรับบริจาคอะไรบ้าง ให้ไปช่วยกันบริจาค ซึ่งน้องบอกว่า น้ำใจคนไทยนั้นยิ่งใหญ่จริงๆ เมื่อเกิดภัยระดับชาติต่างออกมาร่วมแรงร่วมใจกันอย่างแข็งขัน ขอให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง... ฟังแล้วน้ำตาไหล ตอนนั้นอยากกลับบ้านมาก... ข้างนอกหิมะก็ตกหนัก ออกไปไหนไม่ได้ รู้สึกอ่อนแรง... ทำได้เพียงเข้าไปบริจาคในสภากาชาดสากล จากนั้น พ่อแม่สามีดูข่าว และร่วมบริจาคในสภากาชาดและ CareUSA ซึ่งเป็นองค์กร NGO ช่วยเหลือผู้ยากจนที่มีหน่วยงานในประเทศไทยด้วย เพื่อนอเมริกันเริ่มติดต่อมา ถามไถ่ถึงครอบครัวที่เมืองไทยด้วยความห่วงใย และช่วยกันบริจาคด้วย
วันผ่านไป...สัปดาห์ผ่านไป...ข่าวเริ่มบางลง แต่ความสูญเสียไม่สามารถหาค่าได้...การหารายได้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติครั้งนี้ยังมีต่อเนื่องในอเมริกา...ผู้คนต่างสัญชาติ ต่างศาสนา ร่วมทำในสิ่งเดียวกันคือ การ "ให้"...
สมาคมนักเรียนไทยในมหาวิทยาลัย Southern Illinois University at Carbondale จัดเลี้ยงอาหารค่ำการกุศล โดยรายได้ทั้งหมดจัดส่งให้สถานทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมคนไทยใน Arizona ตั้งกล่องรับบริจาคที่หน้าร้านซูเปอร์มาร์เก็ต Lee lee ของชาวเวียดนาม สมาคมนักเรียนไทยใน University of Colorado at Boulder ตั้งกล่องรับบริจาคในโรงอาหาร ของมหาวิทยาลัย เงินบริจาคทั้งหมดมอบให้สภากาชาด ไทย ร้านอาหารธารทิพย์ร่วมกับสมาคมนักเรียนไทยใน Oregon State University จัดงานอาหารกลางวัน เพื่อช่วยผู้ประสบภัยในครั้งนี้ ทั้งนี้ยังมีสมาคมนักเรียนไทยและกลุ่มคนไทยอีกหลายแห่งกระจายทั่วอเมริกาที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยนาม ร่วมกุศลในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ นักเรียนต่างชาติชาวศรีลังกา อินเดีย และอินโดนีเซีย ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น ที่ MIT ร่วมกันจำหน่ายสินค้าตั้งแต่ปฏิทิน ของที่ระลึก ขนมเค้ก คุกกี้ และมอบรายได้ให้แก่ UNICEF
ยิ่งกว่านั้น เด็กนักเรียนทั่วอเมริกายังพร้อมใจกันหารายได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยเช่นกัน บางคนแคะกระปุกหมูออมสินมาร่วมบริจาคคนละเล็กละน้อย บางคนมีไอเดียขายคูปองล้างรถให้แก่ผู้ปกครองของตนใบละ 1 ดอลลาร์ และบริจาคเงินให้สภากาชาด บางคนขาย Hot Chocolate ขายขนมบราวนี่ เพื่อการกุศลครั้งนี้ กลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนมัธยม Monta Vista High School ในแคลิฟอร์เนีย ร่วมใจกันขายกำไลข้อมือพร้อมสลักลายว่า "Wave of Aid" โดยตั้ง เป้าไว้ที่ 9,000 ดอลลาร์ เด็กชาย Girish Swaminath วัย 12 ปีจากโรงเรียน Challenger ในแคลิฟอร์เนีย บริจาคส่วนแบ่งกำไรที่เขาได้จากการขายหนังสือ "Ramayana : A Children's pic" ของเขาให้แก่ UNICEF นักเรียนใน Las Vegas จำหน่ายริบบิ้นสีฟ้าน้ำทะเล เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความทรงจำและกำลังใจ... เป็นภาพที่น่าซึ้งใจมากของเด็กน้อยเหล่านี้ที่มีแรงใจช่วยเหลือเพื่อนอีกฟากหนึ่งของโลก
"ฉันเข้าใจความรู้สึกของเด็กๆ ที่สูญเสียพ่อแม่ของพวกเขาอย่างดี เพราะฉันก็เป็นคนหนึ่งที่สูญเสียพ่อของฉันเมื่อคราวที่ท่านไปปฏิบัติหน้าที่ทางทหาร ตอนนั้นฉันอายุแค่สองขวบเอง" เป็นความรู้สึกของ Isabella Blackney นักเรียนเกรด 3 จากโรงเรียนใน Redmond ในรัฐ Washington โดย Isabella มีความหวังว่าเธอและเพื่อนๆ จะสามารถหารายได้จำนวน 2,500 ดอลลาร์ เข้าโครงการ Kids to Kids เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นมหากาฬ Tsunami ที่อุบัติขึ้นเมื่อวันเช้าที่ 26 ธันวาคม 2004 ซึ่งเวลานั้นตรงกับคืนคริสต์มาสของชาวอเมริกัน...เป็นคืนที่ผู้คนตื่น!
ตื่นจากความเห็นแก่ความสุขส่วนตน... ตื่นจากมายาที่หลงคิดว่าโลกใบนี้มีเพียงแค่อเมริกาเพียงแผ่นดินเดียว... ตื่นมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เดินดินด้วยกัน... ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าพลังของ "ธรรมชาติ" ที่คราใดพิโรธขึ้นมา สามารถล้างทำลายมวลมนุษยชาติโดยไม่เลือกเผ่าพันธุ์ได้ภายในพริบตา...
ขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดกับผู้ประสบมหันตภัยครั้งนี้ และขอแสดงความขอบคุณและความภูมิใจไปยังเพื่อนมนุษย์ทุกท่านในฐานะสัตว์โลกที่มีโอกาสได้ประกอบคุณงามความดีได้กว่าสัตว์อื่นใด...
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
(พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
|
|
|
|
|