|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
"เมื่อ Polli Woods - interior designer ชาวออสซี่ซื้อโกดังเก่าๆ มาครอบครอง มันไม่มีอะไรเลยนอกจากผนังด้านหนึ่ง
เธอจึงใช้วิสัยทัศน์อันกล้าแกร่งเนรมิตให้กลายเป็นบ้านสวยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ" เป็นบทเกริ่นนำของบทความเรื่อง "Wonder wall" ที่เขียนโดย Catherine Downey-Armstrong และภาพโดย Trevor Fox ตีพิมพ์ในนิตยสาร House & Garden/December 2004 พร้อมรายละเอียดที่แปลและเรียบเรียงให้ได้ศึกษากันดังนี้
Polli Woods ไม่ใช่คนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงหรือกลัวการต้องใช้สีเข้มและการเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งสำคัญๆ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ interior designer แห่งเมือง Adelaide ผู้นี้ตัดสินใจแปลงสภาพโกดังร้างที่มีเพียงผนังสกปรกเลอะเทอะด้วยข้อความของคนมือบอนให้กลายเป็นบ้านสวยจนผู้พบเห็นตะลึงตาค้าง และเธอก็พำนักอยู่อย่างอบอุ่นในปัจจุบัน
"ตอนที่ตัดสินใจซื้อโกดังนี้ก็ไม่ถือว่าแพงอะไร ความคิดแวบแรกในหัวสมองก็คือ มันช่างสกปรกเลอะเทอะสิ้นดี" เธอหัวเราะก่อนจะเล่าความหลังต่อไปว่า "ทั้งเพื่อนๆ และครอบครัวต่างก็พูดกับฉันเป็นเสียงเดียวกันว่า ถึงจะเรียกมันว่าเป็น "ความสุขใจของช่างซ่อม" ก็ออกจะดีเกินไปด้วยซ้ำ"
แต่มาถึงวันนี้ คนกลุ่มเดียวกันนั่นแหละพากันตื่นตาตื่นใจกับความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฝ่ามือและพูดเป็นเสียงเดียวกันอีกว่า เป็นบ้านที่ตกแต่งได้ดีที่สุดเท่าที่ Polli เคยทำมา ซึ่งก็คงจะจริงถ้าดูจากสถิติว่า ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา Polli ย้ายบ้านมาแล้ว 22 ครั้ง
"ฉันชอบย้ายบ้านทุก 2 หรือ 3 ปี" Polli อธิบายที่สำคัญเมื่อลงมือซ่อมแซมตกแต่งบ้านหลังใด เธอจะใช้วิธียกเครื่องใหม่หมด "การย้ายบ้านแต่ละครั้งถือเป็นโอกาสที่จะได้ลองสถาปัตยกรรมสไตล์ใหม่ๆ และได้ทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและการออกแบบใหม่ๆ ขณะใช้งานจริงด้วย"
สำหรับ Polli แล้ว สิ่งที่ทำให้เธอตัดสินใจตกลงซื้อโกดังนี้คืองานก่ออิฐที่น่าจะมีอายุย้อนไปถึงช่วงทศวรรษ 1920 และเธอก็สะดุดตามาตั้งแต่แรกเห็นเลยทีเดียว "ฉันอยากให้งานก่ออิฐนี้ได้อวดโฉมอยู่ในบ้านเป็นที่สุด"
แต่ในความคิดของสถาปนิก John Caporoso แห่งบริษัท Archi-Build แล้วถือว่างานนี้หินเอาการเลยทีเดียว เพราะผนังเดิมที่มีอยู่ด้านเดียวนั้นไม่ได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่อย่างใด เขาจึงต้องใช้วิธีนำแผ่นคอนกรีตขนาดมหึมาหนา 200 มม. มาสร้างโกดังขึ้นใหม่ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วมันได้กลายเป็นแรงบันดาลใจอันใหญ่หลวงสำหรับ Polli
"โครงสร้างที่ได้น่ามหัศจรรย์มาก และเมื่อมันต้องแสงตามธรรมชาติจะให้สีที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป ทำให้ฉันค้นพบว่า องค์ประกอบด้านโครงสร้างของอิฐและคอนกรีตคือ สิ่งที่ฉันต้องการนำมารวมเข้ากับภาพรวมของงานตกแต่งภายในด้วย"
Polli ชื่นชมกับสัมผัสที่ได้จากโกดังโดยมีคอนกรีตเป็นสื่อสำคัญ และกระตุ้นให้เธอใช้สีพ่นรถยนต์กับห้องครัว แรงบันดาลใจอีกอย่างหนึ่งคือ ความปรารถนาที่เฝ้ารอมานานว่าต้องซื้อเก้าอี้ Eames มาประดับบ้านให้ได้ "ฉันอยากได้มานานแล้ว หลังจากได้เก้าอี้นี้มา มันกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์หลักให้ฉันทำในส่วนของงานออกแบบที่เกี่ยวข้องได้อีกโข เช่น ฉันเลือกไม้อัดทำด้วยไม้อเมริกันวอลนัตมาต่อเป็นตู้ในห้องครัวให้มีขนาดยาวขึ้นและนำมาทำเป็นประตูห้องเล็กๆ ที่อยู่ติดกับครัว เพราะการใช้ไม้อัดเป็นส่วนประกอบของพนักเก้าอี้และอุปกรณ์แต่งบ้านหลักๆ ล้วนทำให้เกิดบรรยากาศของความเป็นบ้านโดยสมบูรณ์"
สีเทาของห้องครัวนั้นไปด้วยกันได้อย่างสวยงามกับแผ่นไม้ redgum สีแดงเข้มขนาดมหึมาที่นำมาทำในส่วนของ benchtop ของโต๊ะทำงาน ซึ่ง Polli และ Pete ผู้เป็นสามีไปพบเข้าโดยบังเอิญในงานนิทรรศการผลงานจากไม้ "พอเราพบว่าอยู่ในช่วงลดราคาก็รีบตะครุบซื้อทันที"
เพราะแผ่นไม้มีรูปทรงเดิมเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู จึงออกแบบให้ตรงปลายด้านหนึ่งของแผ่นไม้มีอ่างล้างจานทำด้วยกราไฟท์คู่หนึ่ง ทำให้ Pete ซึ่งเป็นพ่อครัวหัวป่าก์ประจำครอบครัวมีพื้นที่เตรียมอาหารบน benchtop นี้อย่างเหลือเฟือ
ส่วนห้องใต้ดินที่เพิ่งขุดและสร้างขึ้นใหม่พร้อมประตูที่พื้น (trapdoor) ทำด้วยไม้ jarrah แบบดั้งเดิมนั้นเล่าก็มีบทบาททำให้โกดังร้างแห่งนี้มีความพิเศษเหนือชั้นขึ้นไปอีก เพราะ Polli และ Pete เป็นนักสะสมไวน์มานานจึงต้องการห้องเก็บไวน์ โดยเฉพาะหลังจากที่ต้อง "เอาไวน์ชั้นดีและไวน์ขนาดแม็กนั่มไปซุกไว้ใต้ตู้มานานปี"
บริเวณห้องนั่งเล่นออกแบบให้ผนังโค้งสีแดงเข้มโอบล้อมโซฟา เครื่องรับโทรทัศน์ อุปกรณ์ไฮ-ไฟ และเก้าอี้ Eames เป็นรูปลิ่มขนาดมหึมา แต่ตรงทางเข้านั้นเจตนาออกแบบให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมไม่เด่นสะดุดตาอะไร สามารถเปิดหรือปิดได้ตามแต่โอกาส
ชั้นบนของบ้านก็ออกแบบให้มีผนังโค้งลักษณะเดียวกับห้องนั่งเล่นข้างล่างแต่สูงระดับเอวเท่านั้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับส่วนที่สมมุติให้เป็นห้องสมุดของ Polli การนำเอาหลักขององค์ประกอบเชิงสถาปัตยกรรมนี้มาใช้ทำให้ห้องแลดู กว้างขวางขึ้นมาก เพราะตัวบ้านจริงๆ กว้างเพียง 6 เมตรเท่านั้น แถมยังทำให้ผลงานศิลปะที่แขวนบนผนังคอนกรีตเด่นขึ้นมาทันที และบังคับสายตาของผู้ก้าวเดินเข้ามาให้จับจ้องอยู่ที่ผลงานศิลปะนี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อ Polli ต้องให้คำจำกัดความบ้านของเธอเอง เธอพูดสั้นๆ เพียงว่า "ลงตัว ติดดิน และโดดเด่น" ซึ่งก็ตรงตามภาพที่ปรากฏแก่สายตาแบบเป๊ะๆ เพราะเมื่อมองจากถนนเข้ามา จะเห็นบ้านสีแดงสะดุดตาโดดเด่นออกมาจากบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นซึ่งทาสีเบจเป็นส่วนใหญ่
|
|
|
|
|