|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
 |

บทความเรื่อง "Bridge of size" ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Wallpaper/December 2004 จากปลายปากกาของ Jonathan Bell และฝีมือกดชัตเตอร์ของ Joe Tettamanti ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเรื่องเด่นของคอลัมน์ ด้วยเหตุผลของความล้ำสมัยในเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธาของฝรั่งเศส ที่สามารถสร้างสะพาน Millau Viaduct ข้ามหุบเขา Tarn Valley ได้สำเร็จและทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
Millau Viaduct สะพานสูงที่สร้างคร่อมและข้ามหุบเขา Tarn Valley ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ได้รับยกย่องให้เป็นโครงการวิศวกรรมโยธาอันน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของยุโรป สาเหตุที่ต้องมีโครงการนี้ขึ้นมา เพราะ Tarn Valley มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบต่ำกว้างใหญ่ไพศาล บนที่ราบสูงหินปูน เป็นเวลานานหลายทศวรรษแล้วที่ลักษณะพื้นที่ ซึ่งจมลึกลงเป็นแอ่งกระทะนี้เป็นอุปสรรคในการมองเห็นทางของนักท่องเที่ยวขณะขับรถจากปารีสลงสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยวของทุกปีจะต้องเกิดสภาพการจราจรติดขัดอย่างน่าตกใจกลัวในบริเวณใกล้กับเมือง Millau สภาวะที่ทุกคนอารมณ์เสีย คนขายของก็บ่นพึม แถมบนถนนยังเต็มไปด้วยควันพิษ ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวทั้งสิ้น
สะพาน Millau ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2001 ทำหน้าที่ เป็นทางเบี่ยง (bypass) มหึมาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะออกแบบให้สามารถย่นระยะทางของเส้นทางสู่ Barcelona ได้ถึง 100 กม. และช่วยยุติปัญหา "ชั่วโมงเร่งด่วนไม่รู้จบ" ของ Millau ได้อย่างชะงัด แต่ความจำเป็นในการอนุรักษ์ความงามตามธรรมชาติของหุบเขาเอาไว้ย่อมทำให้โครงการสร้างมอเตอร์เวย์แบบเดิมๆ กลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงการต้องก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในเขตชนบทที่ยังคงความเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ จึงต้องหาทางออกเชิงเทคนิคด้วยการสร้างสะพานสูงคร่อมหุบเขาและสามารถสร้างได้สูงกว่าที่คิดเอาไว้แต่แรกด้วยซ้ำ สะพานที่ต้องใช้เหล็กราว 40,000 ตัน และคอนกรีตอีก 350,000 ตันนี้ ถือเป็นงานส่งออกเชิงสถาปัตยกรรมอันโด่งดังที่สุดของ Sir Norman Foster แห่งสหราชอาณาจักรเลยก็ว่าได้ บริษัท Foster and Partners ใช้ความกล้าหาญที่มีพื้นฐานจากความเฉียบแหลมด้านวิศวกรรมสมัยใหม่ออกแบบสะพานโดยไม่ให้มีจุดแวะพักเลย เพราะต้องการให้สะพานเป็นหนึ่งในผลงานที่มีโครงสร้างสง่างามที่สุด ซึ่งเมื่องานก่อสร้างดำเนินมาถึงจุดนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดแล้วว่า บริษัทประสบความสำเร็จดีเยี่ยมจากการที่สะพานรูปร่างเหมือนใบมีดสามารถตั้งเด่นสง่าอยู่บนเสาตอม่อขนาดยักษ์ 7 เสา และมีสายเคเบิลทำหน้าที่พยุงตัวถนนเอาไว้
โครงสร้างของสะพานจึงเป็นนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีที่มิอาจปฏิเสธได้และไม่มีวันเป็นไปได้ หากปราศจากการใช้ความก้าวหน้าของ digital design มาช่วยงานออกแบบ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยี GPS เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถนำส่วนประกอบขนาดมหึมาของสะพานมาติดตั้งได้อย่างแม่นยำควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี advance computer modelling ในการกำหนดรูปทรงของโครงสร้างสะพาน และใช้หุ่นยนต์ในงานบัดกรีเหล็กเพื่อประกอบตัวสะพานขนาดยักษ์ เมื่อผสมผสานกับความรู้เชิงวิศวกรรมของ Eiffel วิศวกรฝรั่งเศสผู้ช่ำชองด้านโครงสร้างหอคอย ก็ทำให้สามารถสร้างสะพานที่มีเสาตอม่อสูงที่สุดในโลกคือ 343 เมตรได้สำเร็จ
เมื่อยืนอยู่ตรงเบื้องล่างของหุบเขาแล้วมองขึ้นไปยังสะพานสูงแห่งใหม่ในเช้าวันที่มีหมอกลง ก็จะเห็นภาพของ Millau Viaduct ที่มีอายุการใช้งานถึง 210 ปีสูงเสียดแทงเข้าไป ในก้อนเมฆ แต่ถ้าวันใดที่อากาศแจ่มใสแล้วคุณขับรถไปตามถนน ก็จะได้เห็นผลงานมาสเตอร์พีซของสะพานสูงแห่งนี้เต็มสองตาเหมือนดูภาพยนตร์จอยักษ์ยังไงยังงั้น ตัวถนนบนสะพานยังได้รับการออกแบบให้โค้งเล็กน้อยเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้เห็นภูมิทัศน์ทั่วหุบเขาได้เต็มตา หลังพิธีเปิดใช้เป็นทางการในเดือนธันวาคม 2004 ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีรถราว 25,000 คัน ขับผ่านเส้นทาง 2.6 กิโลเมตรนี้ทุกวัน
|
|
 |
|
|