Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548
กลไกดันหุ้น KPN ไม่ให้หลุด "จอง"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ, บมจ.
เอเชีย พลัส,บล.
Automotive




นอกจากจะมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของบริษัทแล้ว เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้นว่าเหตุการณ์ราคาต่ำจองจะไม่เกิดขึ้น ผู้บริหารเคพีเอ็น ออโตโมทีฟและเอเชีย พลัส ได้นำเอา Greenshoe Option มาใช้ในการกระจายหุ้นครั้งนี้

บริษัทเคพีเอ็น ออโตโมทีฟ จำกัด (มหาชน) หรือ KPN เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีการขายหุ้นเพิ่มทุน จำนวน 22,641,374 ล้านหุ้นหรือ 22.64% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเพิ่มทุน แบ่งขายให้กับประชาชนทั่วไป 22.5 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 15 บาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการจำหน่ายให้กับผู้ลงทุนสถาบันครึ่งหนึ่งและอีก 2.5 ล้านหุ้นให้กับผู้มีอุปการคุณของบริษัท ส่วนที่เหลือเป็นการจำหน่ายให้นักลงทุนทั่วไป

นอกจากนี้ยังมีหุ้นที่ขายให้กับกรรมการ ผู้บริหาร รวมทั้งพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยอีก 141,374 หุ้น ซึ่งหุ้นจำนวนนี้จะมีส่วนลดราคา 15% รวมเป็นเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ประมาณ 340 ล้านบาท

การกระจายหุ้นของเคพีเอ็นครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นำเอาวิธีการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่จัดจำหน่าย (Greenshoe Option) มาใช้ในหุ้นบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการนำวิธีนี้มาใช้บ้างแล้วเช่นกรณีของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นที่เคพีเอ็นนำมาจัดสรรเกินจำนวนตามเงื่อนไข greenshoe option มีอยู่ 3.4 ล้านหุ้น

บล.เอเชีย พลัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน รวมทั้งผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายน่าจะเป็นต้นคิดสำคัญเบื้องหลังในการนำ greenshoe option มาใช้ครั้งนี้ เนื่องจากผลดีประการ หนึ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่หุ้นเข้าทำ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็คือ ความผันผวนของราคาหุ้นจะมีน้อยลง เพราะจะมีการซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำมาชดเชยหุ้นที่ถูกจัดสรรเกินออกไป

ในฐานะผู้จัดจำหน่ายและรับประกัน การจัดจำหน่าย หากหุ้นของลูกค้าเข้าทำ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วราคาไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือที่เลวร้ายกว่านั้นก็คือ ราคาปรับตัวลงต่ำกว่าราคาจองซื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทและโอกาสในการหาลูกค้ารายใหม่ ที่ผ่านมาผลงานของ บล.เอเชีย พลัส ได้รับความ เชื่อถือจากนักลงทุนและบริษัทที่สนใจจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาโดย ตลอด ทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่เป็นลูกค้าและราคาหลังการเข้าซื้อขาย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีที่ผ่าน มามีหุ้นที่ บล.เอเชีย พลัส เป็นผู้จัดจำหน่าย หลายบริษัทที่ราคาไม่เป็นไปตามที่นักลงทุน คาดหวัง อาทิ บริษัทเกษมราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ KH ที่มีราคาจองหุ้นละ 3.80 บาท แต่ปัจจุบันราคาอยู่ต่ำกว่าจองหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับ เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ (SNC) และดี อี แคปปิตอล (DE) ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน

การนำ greenshoe option มาใช้ จึงน่าจะเป็นทางออกที่จะช่วยรักษาระดับราคาหุ้นที่เข้าซื้อขายเอาไว้ได้ในระดับหนึ่ง

ก่อนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งนี้ เคพีเอ็นได้เตรียมความ พร้อมมาเป็นเวลาปีกว่า โดยคัดเลือกและผนึกรวมบริษัทที่มีผลประกอบการและศักยภาพที่ดีในกลุ่มยานยนต์จำนวน 5 บริษัท ได้แก่ เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ, เคพีเอ็น พลาสติก, เคพีเอ็น-เอสที ลอจีสติคส์, เคพีเอ็น-เอสที คลังสินค้า และเคพีเอ็น พลัส โดยให้เคพีเอ็น ออโตโมทีฟเป็นบริษัท แม่ในการเข้าจดทะเบียน

เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม ยานยนต์ โดยเป็นผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (OEM) ให้กับผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทผู้ผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทั้งการผลิตชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูปและชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบรถยนต์ รถจักรยาน ยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการดำเนิน ธุรกิจแฟรนไชส์ค้าอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์และธุรกิจคลังสินค้าและกระจายสินค้า

ปัจจุบันเคพีเอ็น ออโตโมทีฟมีโรงงานการผลิต 2 แห่งคือ โรงงานผลิตชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูป ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี มีกำลังการผลิตที่ 15,000 ตันต่อปี และโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีกำลังการผลิต 2,000 ตันต่อปี เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้บริษัทจะนำไปซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้สูงขึ้นกว่า 30% ซึ่งจะช่วยในการรองรับการผลิตชิ้นงานให้ลูกค้ารายใหม่คือ Dana Corporation ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งจะนำเงินบางส่วนไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและชำระหนี้เงินกู้ที่มีอยู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us