Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548
พลังเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

AIS Homepage

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
บุญคลี ปลั่งศิริ
Mobile Phone




ถึงคราวที่เอไอเอสหันลำกลับหาเลือดใหม่เข้าเสริมทัพ หลังจากค้นพบตลาดสื่อสารต้องอาศัยคนที่จบสาขาหลากหลายมากกว่าวิศวกรรมศาสตร์

แม้จะไม่ใช่แนวคิดที่ใหม่อะไร ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเลือกคนรุ่นใหม่เข้าไปทำงานด้วย เสมือนกับเป็นส่วนเสริมให้องค์กรนั้นมีความลงตัวยิ่งกว่าที่เคยเป็น แต่สำหรับเอไอเอส องค์กรที่มีอายุมายาวนานในวงการธุรกิจการสื่อสาร การเลือกที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้มีความหมายเพียงแต่ได้คนมาทำงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่กลับหมายถึงการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและระบบการทำงานของบริษัทไปในตัว เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ผู้บริหารเสนอ คือ คนในกลุ่มสาขาศิลปศาสตร์มากกว่าจะเป็นวิศวกรอย่างที่เคยผ่านมาตลอด

เอไอเอสได้ยกให้ปีนี้ทั้งปีเป็นปีแห่งบุคคลหรือที่เรียกว่า "people year" จะเป็นปีที่ให้ความสำคัญแก่พนักงานในองค์กรเป็นพิเศษ ผู้บริหาร โดยเฉพาะบุญคลี ปลั่งศิริ แนะให้หันมาใช้ retention กับพนักงานในองค์กร พอๆ กับการใช้วิธีการเดียวกันนี้กับผู้บริโภคของบริษัท เช่นเดียวกันบุญคลีถึงกับออกปากว่า นับต่อจาก นี้เอไอเอสจะต้องมีพนักงานเลือดใหม่ที่เข้ามาเสริมทัพ จะต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างตัวบริการขึ้นมาให้แก่เอไอเอส ซึ่งนับจากนี้จะเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่บริษัท และจะหาคนแบบนี้ได้ก็ต้องเป็นคนที่จบในสาขาต่างๆของศิลปศาสตร์ จำนวนของการรับคนกลุ่มนี้จะเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มวิศวกรอย่างที่ผ่านมา เนื่องจาก infrastructure ของเอไอเอสถือว่าค่อนข้างสมบูรณ์แบบแล้ว

New World Order หรือ NWO ถือเป็นโครงการเล็กๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางปีที่ผ่านมา เพื่อตอบรับกับแนวทางของการรับคนแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นของเอไอเอสนับต่อจากนี้ โครงการดังกล่าวเปิดรับเด็กรุ่นใหม่เพียง 4 คน ที่ยังไม่จบการศึกษาจากทั่วประเทศ แบบไม่จำกัดสาขา เข้ามาร่วมสอบข้อเขียน สอบวัดสภาวะทางจิตใจและความคิดหรือที่เรียก EQ ต้องผ่านด่านการประเมินผลความสามารถในความคิดหลายด่าน ทั้งแบบกลุ่ม แบบเดี่ยว และมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสัมภาษณ์ก่อนที่จะเข้ามาร่วมทำงาน เป็นทีมงานเล็กๆ ที่ช่วยคิดค้นบริการใหม่ๆ ให้กับบริษัทตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม โดย ได้สิทธิพิเศษทั้งสวัสดิการ เงินเดือนและการพิจารณาเข้าทำงาน เมื่อจบการศึกษา

แม้จะเป็นโครงการที่เน้นให้เด็กๆ ได้เข้าร่วมสังคมการทำงานก่อนทำงานจริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอไอเอสกำลังทดลองแนวความคิดของการผสมผสานทีมงานที่มากกว่าเป็นวิศวกรหรือการเงิน การบัญชีเพียงอย่างเดียว เอไอเอสอาจจะอยากรู้ว่าส่วนผสมที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะเป็นส่วนผสมที่พอเหมาะและสร้างประโยชน์ได้จริงหรือไม่

วรพล เทศนา เด็กหนุ่มจาก BBA International Program คณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาดจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ NWO ด้วยสาเหตุที่เอไอเอสระบุว่า เขามีความสามารถ ในแง่ของการมีมุมมองเชิง business model และ consolidation อย่างที่คนอื่นไม่มีมุมมองนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำเป็นอย่างมากใน การร่วมทีมในการพัฒนาบริการใหม่ๆ ขึ้น

อรณัฐ วงษ์ทองดี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นเด็กสาวที่มาจากสาขาที่เอไอเอสอาจจะไม่เคยพิจารณาให้เข้าทำงานในองค์กรมาก่อนด้วยซ้ำ แต่สำหรับโครงการนี้เธอผ่านการคัดเลือกหลายด่านด้วยแววของการมีความคิดในเชิงการวิเคราะห์ที่มากกว่าคนอื่นๆ และสิ่งนี้ดูเหมือนจะสำคัญไม่น้อย เช่นเดียวกันกับ สิงหพงษ์ สุคันโธ นักศึกษา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถือเป็นรากฐานสำคัญของกลุ่ม เนื่องจากธุรกิจการพัฒนาบริการ บทบาทของความสามารถของสิงหพงษ์ ในแง่ของการรู้จักเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดีมีส่วนให้การพัฒนานั้นผ่านไปได้โดยไม่ติดขัด

ขณะที่ปราโมทย์ ไทยเพชร์กุล นักศึกษาสาขาการโฆษณา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC เด็กหนุ่มที่ร่ำเรียน มาจากสาขาของศิลปศาสตร์เพียงคนเดียวในกลุ่ม คือส่วนผสมที่เข้ามาช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ ให้กับการพัฒนาบริการใหม่ในอนาคต

ทั้งหมดจะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการเป็นพนักงาน ส่วนด้านหน้า ชั้น 16 ตึกเอไอเอส ถูกแบ่งกั้นเป็นห้องขนาดเล็ก ตกแต่ง และเพิ่มเครื่องใช้สำนักงาน คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ดูทันสมัย พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตลอด 24 ชั่วโมง และยูบีซี สำหรับเด็กกลุ่มนี้โดยเฉพาะ ทั้งหมดมีโจทย์ที่รับมาจากผู้บริหาร ว่าจะต้องเข้าไปช่วยระดมความคิด เสนอความคิดเห็นของตนแก่โครงการใดบ้าง โดยมุมมองของกลุ่มคนทั้ง 4 จะเข้าไปช่วยเสริมสำหรับทีมผู้คิดค้นตัวบริการที่มีอยู่แล้ว และทุกคนก็ต้องมีผลงานของตนเอง ในการควบคุมดูแลการผลิตตัวบริการใหม่ๆ ออกมาก่อนที่จะจบสิ้นวาระของโครงการในกลางปี 48

"ผมพบว่าการทำงานจริงๆ มันไม่เหมือนกับที่เรียนรู้มาจากห้องเรียน ในความเป็นจริงแล้วพวกผมที่เรียนวิศวกรรมนั้นค่อนข้างคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอน logic มากๆ ตอนแรกๆ มาทำงานก็ยังสงสัยว่าทำไมเพื่อนๆ ถึงได้คิดไปอีกทางไม่เหมือน กับพวกเราเลย แต่พอหันย้อนกลับไปคิดอย่างที่เขาเองเสนอออกมาก็พบว่า มันเป็น ทางเลือกที่ดีไม่น้อย ทำให้ผมเรียนรู้ว่า การที่มีทีมงานในสาขาที่หลากหลายทำงานร่วมกันอยู่มันช่วยเติมเต็มอะไรหลายๆ อย่างของเนื้อหางานให้ลงตัว โดยปกติหากว่าผ่านการคิดวิเคราะห์มาจากอรณัฐแล้ว ปราโมทย์อาจจะช่วยคิดสร้างสรรค์อย่างที่เขาถนัด ส่งโยนมาให้ผมช่วยดูว่ามีความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยีมากแค่ไหน ส่วนวรพลจะเสริมมุมมองเชิงธุรกิจว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผมเชื่อว่า ค่อนข้างดีเลยทีเดียว" สิงหพงษ์กล่าวไว้เมื่อครั้งที่ "ผู้จัดการ" ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนถึงที่ทำงานของพวกเขา

เช่นเดียวกันกับอีก 3 คน ทั้งหมดล้วนแต่เชื่อว่า มุมมองของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่เพียงสาขาวิศวกรรมเท่านั้น น่าจะเป็นทางเลือก ที่สำคัญมาก เพราะนั่นหมายถึงการเติมเต็มความคิดซึ่งกันและกันให้สมบูรณ์แบบนั่นเอง

"ผมว่าโครงการนี้ทำให้เรารู้ว่าตัวเราเองถนัดด้านไหน มันแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่แรกแต่เราไม่เคยได้ใช้มัน ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านหนึ่งพูดไว้ว่า ทักษะของคนเราก็เหมือนกับลิ้นชัก ถ้าไม่หมั่นเปิดมัน มันก็อาจจะเป็นสนิมได้ หากเปิดบ่อยๆ ก็จะเปิดง่ายและหยิบอะไรใส่หรือเอาออกมาก็ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ผมว่าการได้เข้าร่วมโครงการก็คงเหมือนกับการเปิดลิ้นชักนั่นแหละ" วรพลกล่าว

วรพลคือคนแรกที่มีผลงานออกสู่ตลาดจริง ด้วยการทำงานร่วมกันกับบริษัท ไซเบอร์แพลนเนตในการพัฒนาเกมบนโทรศัพท์มือถือตัวใหม่ภายใต้ชื่อ "มูนทรา คิดส์" ขณะที่ที่เหลือต่างมีโครงการของตัวเองในการดูแล และน่าจะพร้อมเปิดตัวทำตลาดในเร็ววันนี้ด้วย

ทั้ง 4 ต้องหันหลังให้กับการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยของตนเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อมาทำงานในบริษัทเอไอเอส แต่ทั้งหมดเชื่อสิ่งที่ได้ถือว่ามากมาย เพราะไม่เพียงแต่ได้โอกาสเท่านั้น ยังได้ประสบ การณ์นอกห้องเรียน และแม้ทุกคนจะบอกได้ไม่เต็มปากว่า เมื่อผ่านการทำงาน ที่เอไอเอสแล้ว หลังจากจบการศึกษาจะกลับ มาสมัครงานที่นี่หรือไม่ แต่ทั้งหมดต่างก็ยอมรับว่าระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้พวกเขา รู้จุดหมายว่านับจากนี้ตนเองจะต้องหาความรู้ในด้านไหนให้กับตนเองเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถไปถึงเป้าหมายอย่างที่ตัวเองอยากจะเป็นในที่สุด

แน่นอนสำหรับเอไอเอสแล้วเมื่อครบระยะเวลาของโครงการดังกล่าว 1 ปี คำตอบที่ได้จะออกมาเป็นอย่างไร นั่นก็ถือ เป็นข้อพิสูจน์แนวความคิดของโครงการและ คงจะมีผลต่อการรับพนักงานเข้ามาทำงาน ในองค์กรนับต่อจากนี้ด้วยไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us