Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
“LIABILITY MANAGEMENT" วิทยายุทธ “พลิกแพลง” ตามสถานการณ์”             
 

   
related stories

“ตำนานเซ็นทรัลยุคแรกคือชีวิตและผลงาน นี่เตียง แซ่เจ็ง”
“ความแตกต่างที่ลงตัวของ “จิราธิวัฒน์” ระหว่าง กลุ่มตัดสินใจกับกลุ่มปฏิบัติการ?”
“จิราธิวัฒน์” 39 ชีวิตคือเส้นโลหิตห้างเซ็นทรัล”

   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เตียง จิราธิวัฒน์ - นี่เตียง แซ่เจ็ง
สุทธิชัย จิราธิวัฒน์
Shopping Centers and Department store




เตียง จิราธิวัฒน์ เปิดร้าน GROCERY เล็กๆ ที่สี่พระยา โดยนำเข้าสินค้า - หนังสือและอื่นๆ มาขาย โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ออกแอล/ซี

ปี 2499 เปิดห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของประเทศไทยที่วังบูรพาด้วยเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท กู้มาจากธนาคารศรีนคร

ปี 2510 เปิดสาขาใหญ่ที่สีลม เตียง ต้องหอบโฉนดที่ดินไปแสดงเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารศรีนครและธนาคารกรุงเทพ ในวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท "การหมุนเวียนเงินของห้างเซ็นทรัลในยุคนี้ใช้ 2 แบงก์นี้เป็นส่วนใหญ่" ผู้รู้บอก

ห้วงเวลา 20 ปี ในยุคของ เตียง จิราธิวัฒน์ เขาเป็นผู้วางแผน และควบคุมการเงิน "เขาเป็นคนไม่ค่อยจะไว้วางใจใคร แม้ป่วยนอนอยู่โรงพยาบาลยังต้องให้คนเอาเช็คไปให้เซ็น" คนที่เดินเข้านอกออกในบ้านจิราธิวัฒน์ในสมัยนั้นบอก

ส่วนด้านบัญชีนั้นพอเปิดห้างที่วังบูรพา มุกดา (เอื้อวัฒนสกุล) ลูกสาวคนที่สองของเตียงก็ได้เข้ามาดูแล

ช่วงต่อที่เตียงจะลาโลกนั้น สุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ได้กลับจากต่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทด้านการเงินบ้าง แต่มากจริงๆ เมื่อเตียงตายไปแล้วและมีการจัดสรรตำแหน่งกันใหม่ แบ่งงานกันรับผิดชอบ เขาจึงได้รับผิดชอบงานด้านนี้

พอดีเป็นช่วงที่ธนาคารกรุงเทพกำลังเป็น "หนุ่มผยอง" ในวงการธนาคาร และจับตามองห้างเซ็นทรัลที่กำลังมีอนาคตโครงการชิดลมที่ไปได้ดี ธนาคารกรุงเทพโชคดีที่ FINANCE จำนวนเงิน 60 ล้าน แทบจะเป็นรายเดียว และว่ากันว่าตอนนี้สุทธิชัยมีบทบาทเด่นชัด

ผู้สันทัดกรณีวิเคราะห์การก้าวกระโดของการเรียนรู้ การบริหารหนี้สิน (LIABILITY MANAGEMENT) ของสุทธิชัย มีมูลเหตุสองประการ หนึ่ง - สุทธิชัย เป็นคนหัวสมัยใหม่ เรียนรู้ได้เร็ว (โปรดสังเกตนักบริหารเงินตราที่เก่งๆ หลายคนจบทางวิศวฯ) และเขามีเพื่อนฝูงในวงการธนาคารไทยและต่างประเทศ สอง - ธนาคารกรุงเทพซึ่งถือว่าเป็นผู้นำด้านข่าวสารและเทคโนโลยีการธนาคาร เป็นผู้แนะนำและพัฒนาลูกค้า ว่ากันว่าธนาคารแห่งนี้ได้ทำบทบาทเช่นนี้ก่อนใครๆ ในประเทศไทย

เมื่อจะลงมือทำโครงการคอมเพล็กซ์ที่ลาดพร้าว ในห้วงเวลาที่ดอกเบี้ยภายในประเทศอยู่ในอัตราสูง และระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมองเห็นว่าเป็นช่วงการลงทุนที่เสี่ยงเอามากๆ ทางเดินของเงินลงทุนของโครงการจึงมาสองทาง 1. เอาทรัพย์สินที่มีอยู่ค้ำประกันเงินกู้ในประเทศจากธนาคารศรีนครและธนาคารกรุงเทพ 2. กู้เงิน OFF-SHORE

กิจการห้างสรรพสินค้าในช่วงปี 2524 -5 เป็นช่วงก้าวกระโดดของการลงทุนถึง 3 แห่งในเวลาไล่เลี่ยกัน บริษัทห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเกือบทุกสาขา (ยกเว้นชิดลม) ได้กู้เงินระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศเมื่อต้นปี 2526 เป็นจำนวนเงิน 140 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยประมาณ 16-18% ต่อปี ซึ่งชำระไปแล้วประมาณ 36 ล้านบาท (สิงหาคม 2529)

สำหรับเงินกู้จากต่างประเทศนั้นเริ่มกู้ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2525 จนถึงปี 2527 วงเงินประมาณ 24.28 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยทำการกู้ 2 ลักษณะ เป็นสัญญาเงินกู้และตั๋วเงินกู้

"อัตราดอกเบี้ยนั้นกำหนดเป็น 2 ประเภท ระยะแรกๆ กู้แบบอัตราดอกเบี้ยตายตัว อยู่ระหว่าง 14-15% ต่อปี ต่อมาเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ย SIBOR บวกระหว่าง 0.75-1.25%" รายงานงบดุลระบุไว้ถึงพัฒนาการการกู้เงิน

ก่อนสิ้น 31 สิงหาคม 2528 ได้ชำระไปแล้วคิดเป็นเงินไทยประมาณ 250 ล้านบาท และในช่วงกันยายน 2528 -31 สิงหาคม 2529 ห้างเซ็นทรัลต้องชำระอีกประมาณ 416 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าช่วงใดๆ (เป็นอัตราที่ปรับปรุงหลังการลดค่าเงินบาทแล้ว)

"การลดค่าเงิน 2 ครั้งนั้นทำให้เกิดผลต่างถึงประมาณ 114 ล้านบาท"

เมื่อเผชิญกับการผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากเข้าในปี 2528 ห้างเซ็นทรัลได้ปรับการกู้เงินใหม่เป็นระบบ MULTI CURRENCY LOAN โดยกู้เงินเป็นเงินเหรียญสหรัฐและเปลี่ยนเป็นเงินสกุลฟรังซ์สวิส ผ่านจากสำนักงานตัวแทนหรือสาขาธนาคารต่างประเทศไทยสิงคโปร์ในอัตราดอกเบี้ย SIBOR บวกระหว่าง 0.75-1.25% เป็นจำนวนเงินประมาณ 23.3 ล้านฟรังซ์สวิส

หนี้จาก OFFSHORE LOAN จำนวนนี้จะต้องชำระให้หมดภายในปี 2532 อีกประมาณ 426 ล้านบาท

ส่วนสาขาชิดลม ดำเนินกิจการโดยบริษัทชิดลมสรรพสินค้านั้น พลิกโฉมปรับปรุงครั้งใหญ่ประมาณปี 2526 โดยใช้เงิน OFFSHORE ประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 300 ล้านบาท ใช้คืนไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง

การลงนามเงินกู้ทุกครั้งกระทำโดย สุทธิชัย จิราธิวัฒน์ (ฝ่ายเซ็นทรัล) แต่เขาไม่เคยพูดหรือสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนใดๆ เลย

สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เคยสัมภาษณ์เมื่อต้นปี 2527 ถึงแผนการณ์กู้เงินจากธนาคารต่างประเทศไว้ว่า "ในช่วงใดที่ดอกเบี้ยธนาคารต่างประเทศถูกจะกู้มาก หากแพงจะหันมากู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศแทน" เขาบอกว่าปกติห้างเซ็นทรัลทุกสาขาจะต้องใช้เงินหมุนเวียนประมาณ 4-500 ล้านบาท

เป็นที่รู้กันว่าธนาคารต่างประเทศที่ให้การสนับสนุนทางการเงินกับห้างเซ็นทรัลนั้น อาทิ ธนาคารคานาดา, SOCIETE GENERALE, ธนาคารบีบีซี, ธนาคารแห่งอเมริกา เป็นต้น

สำหรับปี 2529 นี้คาดว่ากำลังวางแผนกู้หรือกำลังกู้เงินก้อนใหญ่เพื่อก่อสร้างสาขาแห่งใหม่ที่รามคำแหง

"ธุรกิจค้าปลีกของห้างเซ็นทรัล เงินหมุนเวียนเร็ว ชำระหนี้ตรงตามเวลา แม้หนี้จะมากก็ไม่มีปัญหาอะไรใหญ่โตคุยกันได้ คุยกันรู้เรื่อง" เจ้าหนี้รายหนึ่งกล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us