|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
ภาพ The Great Wave Off Kanagawa หนึ่งในผลงานในชุด 36 Views of Mount Fuji (Fugaku Sanjurokkei) ของ Katsushika Hokusai (1760-1849) ศิลปินชาวญี่ปุ่น กลายเป็นภาพที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและได้รับการอ้างอิงอย่างคลาดเคลื่อนในฐานะที่เป็นภาพของคลื่นยักษ์ Tsunami สำหรับผู้คนที่ขาดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นและผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องคลื่นแล้ว ภาพของมหาคลื่นในทะเล (okinami : great off-shore wave) ดังกล่าวมิได้เกี่ยวพันกับ Tsunami เลย
Tsunami เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นจากการนำอักษร tsu ซึ่งหมายถึง harbor มาผนวกรวมกับ nami ที่แปลว่า wave โดยมีความเชื่อว่าคำศัพท์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยชาวประมงญี่ปุ่น ที่เมื่อนำเรือเดินทางกลับเข้าสู่ฝั่งแล้วพบว่าอาณาบริเวณโดยรอบของท่าเรือได้ถูกคลื่นขนาดใหญ่สาดโถมเข้าทำลาย โดยไม่ปรากฏสิ่งบอกเหตุเลยระหว่าง ที่พวกเขาอยู่ในทะเล
สาเหตุของความสับสนในกรณีดังกล่าว น่าจะเป็นผลมาจากความเข้าใจในอดีต ที่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของ Tidal wave ซึ่งเดิมหมายรวมครอบคลุมถึงคลื่นขนาดใหญ่ในทะเลหรือมหาสมุทร ซึ่งเกิดจากลมพายุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับผิวหน้าของท้องทะเล (sub-surface) รวมถึงปรากฏการณ์ของคลื่นที่เกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์ในลักษณะของน้ำขึ้น น้ำลง โดยก่อนหน้านี้ Tsunami และ Tidal wave ถูกเหมารวมให้เป็นเรื่องเดียวกันด้วย อันเนื่องมาจากองค์ความรู้เรื่อง Tsunami ในขณะนั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Tsunami แตกต่างจากคลื่นน้ำในมหาสมุทรอื่นๆ อยู่ที่ ช่วงความยาวของคลื่น Tsunami เมื่ออยู่ในทะเลจะมีช่วงความยาวคลื่นยาวมาก โดยในบางกรณีอาจมีช่วงความยาวคลื่นยาวมากถึง 100 กิโลเมตร ขณะที่คลื่นทะเลโดยทั่วไปจะมีความยาวคลื่นเพียงสั้นๆ ไม่กี่เมตรเท่านั้น
อย่างไรก็ดี เมื่อคลื่น Tsunami เคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง ช่วงความยาวคลื่นขนาดยาวของ Tsunami ระลอกแรกจะม้วนตัวมุดลงเกิดปรากฏการณ์ที่คล้ายกับเป็นน้ำลดลงเฉียบพลัน ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิด ก่อนที่มวลน้ำขนาดใหญ่ของ Tsunami ระลอกต่อๆ มาจะถาโถมเข้าใส่ชายฝั่งในเวลาต่อมา
ปรากฏการณ์ Tsunami ที่ได้รับการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และจำแนกแยกส่วนออกจาก Tidal wave ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวิทยาการและความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของแผ่นดินไหว และความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนตัวแบบ Seismic wave ได้รับการพัฒนาขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์และนักสมุทรศาสตร์ จึงพยายามแยก Tsunami ออกจาก Tidal wave เพราะ Tsunami มิได้เกี่ยวข้องกับกระแสน้ำ หรือปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงอย่างที่เคยเข้าใจ
ทั้งนี้ Seismic wave เป็นปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของแผ่นดินในลักษณะของคลื่นที่เกิดจากแรงที่มากระทำในลักษณะต่างๆ โดยปัจจุบันความรู้ด้าน Seismic wave ได้แบ่งการเคลื่อนตัวของแผ่นดินออกเป็นสองลักษณะใหญ่คือ Body wave และ Surface wave
การเคลื่อนตัวของ Body wave ในด้านหนึ่งก็คือการเคลื่อนที่ภายในชั้นดินของโลก ซึ่งการเคลื่อนตัวดังกล่าวจะส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนชั้นต้นของการเกิดแผ่นดินไหว แต่จะมีผลในเชิงทำลายเพียงเล็กน้อย โดย Body wave สามารถแยกตามลักษณะของการเกิดขึ้นได้สองแบบประกอบด้วย (1) Primary waves : P waves ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่เกิดจากแรงอัด-ดันในแนวตั้ง (longitudinal or compressional waves) โดยสามารถเคลื่อนที่ผ่านวัตถุได้ทุกชนิด ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของเสียง คือ 330 เมตร/วินาที ในอากาศ 1,450 เมตร/วินาที ในน้ำ และ 5,000 เมตร/วินาที ในแกรนิต (2) Secondary waves : S waves ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่เกิดจากแรงตัดขวาง (transverse or shear waves) สามารถเคลื่อนที่ได้เฉพาะในของแข็ง เนื่องเพราะของเหลวและก๊าซ ไม่มีแรงต้านการตัดขวาง โดย S waves จะเคลื่อนที่ช้ากว่า P waves ประมาณกึ่งหนึ่งของ P waves
สำหรับการเคลื่อนที่แบบ Seismic wave ที่สร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวเป็นการเคลื่อนที่แบบ Surface wave ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของผิวโลกในลักษณะคล้ายกับการเคลื่อนที่ของคลื่นน้ำ แม้ Surface wave จะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า Body wave แต่คลื่น Surface wave นี้มีแนวโน้มที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนและความเสียหายให้กับตัวอาคาร และเป็น Seismic wave ที่มีอำนาจการทำลายสูง โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) Rayleigh waves ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในระดับผิวที่ก่อให้เกิด ลักษณะลอนคลื่นเหมือนผิวน้ำ โดยการเคลื่อนที่ลักษณะดังกล่าวตั้งชื่อตาม Lord Rayleigh ที่ได้คาดการณ์การเกิดขึ้นของคลื่นชนิดนี้ในปี 1885 (2) Love waves ซึ่งตั้งชื่อตาม Augustus Edward Hough Love นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ได้สร้างตัวแบบการเกิด คลื่นในลักษณะที่มีแรงตัดขวางตามแนวนอน (horizontal shearing) นี้ขึ้นในปี 1911
ความเกี่ยวพันของ Seismic wave ทั้ง 4 ลักษณะล้วนมีผลต่อการเกิดขึ้นของ Tsunami ไม่มากก็น้อย อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าพื้นผิวของโลกประกอบด้วยแผ่นดินและผืนน้ำ การเคลื่อนที่ในชั้นดินไม่ว่าจะเป็นในลักษณะใด มีโอกาสที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในผืนน้ำบริเวณดังกล่าวด้วย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ Seismic wave ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น
หากกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่าง Seismic wave กับ Tsunami อยู่ที่ Tsunami เป็นผลหรือปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของ Seismic wave ที่แสดงผลออกมาเป็นการเคลื่อนตัวผ่านกระแสน้ำในมหาสมุทรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี Tsunami ไม่จำเป็นต้องเกิดจากแรงของการเคลื่อนที่แบบ Seismic wave ทางกายภาพของเปลือกโลกอย่างเดียวเท่านั้น หากยังสามารถเกิดขึ้นจากการพุ่งชนของอุกกาบาต และสะเก็ดวัตถุจากนอกโลกได้ด้วย
|
|
|
|
|