|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
นอกเหนือจากมหาสมุทรแปซิฟกและมหาสมุทรอินเดียที่มีแนวโน้มจะต้องเผชิญกับเหตุ Tsunami แล้ว มหาสมุทรแอตแลนติก ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีโอกาสต้องเผชิญกับภัยพิบัตินี้ไม่น้อยเช่นกัน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้เฝ้าศึกษาและติดตามปฏิกิริยาของภูเขาไฟ Cumbre Vieja (Old Summit ในภาษาสเปน) ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ La Palma ทางทิศตะวันตกของหมู่เกาะ Canary Islands ดินแดนในการปกครองของสเปนในมหาสมุทร Atlantic มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่ภูเขาไฟยังไม่สงบลงแห่งนี้ มีแนวโน้มที่จะปะทุและระเบิดขึ้น ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและ Tsunami เข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่งทะเล Atlantic ได้ไม่ยาก
นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยขนานนาม La Palma ในฐานะที่เป็น potential hazard โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่าการปะทุตัวของ Cumbre Vieja ในปี 1949 นอกจากจะก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างกว้างขวางแล้ว ยังก่อให้เกิดรอยแตกที่มีความยาวถึง 2 กิโลเมตร ที่เกิดจากการเลื่อนตัวลงของพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะ La Palma ด้วย
แม้จะมีการประมาณการว่า ภูเขาไฟ Cumbre Vieja จะไม่เกิดการปะทุระเบิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ หากมีความเป็นไปได้ที่การปะทุระเบิดครั้งใหม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด ก็เมื่อล่วงเลยเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 21 หรือในช่วงระยะเวลากว่า 50 ปีนับจากห้วงเวลาปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าวิบัติภัยที่จะเกิดเป็น Atlantic Tsunami จากการระเบิดของภูเขาไฟแห่งนี้ยังไม่ใช่ภัยคุกคามในปัจจุบันก็ตาม
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มิได้ละเลยความเป็นไปได้ที่จะเกิดการถล่มตัวลงของพื้นที่ขนาด 500 ตารางกิโลเมตร ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ La Palma ที่สืบเนื่องมาจากรอยแยกของการระเบิดเมื่อปี 1949 ซึ่งจะทำให้มวลของแผ่นดินขนาด 5 แสนล้านตัน ถล่มลงในมหาสมุทรและจะทำให้เกิดมหาคลื่นยักษ์ (Megatsunami) ที่อาจมีระดับความสูงถึง 100 เมตร สาดใส่เข้าสู่ภาคเหนือของทวีป Africa ภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ขึ้นสู่ฝั่งอังกฤษภายใน 5 ชั่วโมง และเดินทางเข้าสู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (east coast) ของทวีปอเมริกาเหนือ ที่อาจส่งผลเสียหายให้กับ Florida จนถึง New York และบางส่วนของ Boston ภายในเวลา 12 ชั่วโมงด้วยระดับความสูงของคลื่น 10-25 เมตรเลยทีเดียว
ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิด Megatsunami จากเหตุผืนแผ่นดินบนเกาะ La Palma ถล่ม ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง เพราะในอดีตที่ผ่านมา แม้จะมีการบันทึกเหตุการณ์ Megatsunami ที่มีระดับความสูงถึง 500 เมตร จากเหตุแผ่นดินและภูเขาน้ำแข็งถล่ม ใน Alaska (Crillon Inlet, Lituya Bay Alaska : 1958) แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวก็จำกัดความเสียหายอยู่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดกระแสคลื่น Tsunami ที่มีผลกระทบในวงกว้างในลักษณะของ trans-oceanic Tsunami แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี การค้นพบ Mid-Atlantic Ridge โดย Bruce C. Heezen นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน (1924-1977) พร้อมด้วยคณะผู้สำรวจวิจัยจาก Columbia University ในช่วง ทศวรรษที่ 1950 นอกจากจะนำไปสู่ทฤษฎีการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ทะเล และการยอมรับทฤษฎีการเคลื่อนตัวของแผ่นผืนดินที่นำไปสู่การเป็นทวีป (continental drift) ที่เสนอโดย Alfred Wegener นักวิทยาศาสตร์ สหวิทยาการชาวเยอรมัน (1880-1930) แล้ว ยังก่อให้เกิดความกังวลในความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวและ Tsunami ครั้งใหญ่จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ท้องทะเลแห่งนี้ด้วย
ทั้งนี้ Mid-Atlantic Ridge ซึ่งเป็นแนวภูเขาใต้ท้องทะเล ที่ถือเป็นแนวเขาที่มีระยะทางยาวที่สุดในโลก โดยแนว Mid-Atlantic Ridge พาดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ยาวตลอดตั้งแต่ Iceland ใน North Atlantic ทางทิศเหนือไปสู่ Antarctica ทางด้านใต้และก่อให้เกิดรอยแยกที่จำแนก North American Plate ออกจาก Eurasian Plate ในด้านเหนือของมหาสมุทร (North Atlantic) และแยก South American Plate ออกจาก African Plate ในด้านทิศใต้ (South Atlantic)
Hot spot ของ Mid-Atlantic Ridge อยู่ที่ Iceland ซึ่งแม้สภาพโดยทั่วไปของเกาะขนาด 1.03 แสนตารางกิโลเมตร ที่นับเป็นเกาะใหญ่อันดับที่ 18 ของโลกแห่งนี้ จะปกคลุมด้วยหิมะและอากาศที่หนาวเย็น แต่สภาพด้านล่างของ Iceland กลับเป็นหินเหลวของภูเขาไฟ ที่พร้อมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในอนาคต
ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์ของการเกิดแผ่นดินไหวและ Tsunami ครั้งใหญ่ ที่ Lisbon ประเทศโปรตุเกส เมื่อปี 1755 (Lisbon Earthquake & Tsunami : 1755) ซึ่งมีความรุนแรงของการสั่นสะเทือนและส่งผลเสียหายในระดับใกล้เคียงกับเหตุแผ่นดินไหวและ Tsunami ในมหาสมุทรอินเดีย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาการเกิด Tsunami ในมหาสมุทรแอตแลนติกมากขึ้น
ความรุนแรงของเหตุการณ์ในปี 1755 นอกจากจะส่งผลให้ประชากรของเมือง Lisbon ไม่น้อยกว่า 90,000 คน หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรเมือง Lisbon ที่มีอยู่ประมาณ 275,000 คนในขณะนั้น ต้องสูญเสียชีวิต อาคารสถานที่กว่า 85% ของเมืองยังได้รับความเสียหาย
Lisbon Tsunami นับเป็น Trans-Oceanic Tsunami ครั้งเดียวในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ โดยคลื่น Tsunami ขนาดความสูงถึง 20 เมตร มิได้สร้างความเสียหายเฉพาะใน North Atlantic Basin เมื่อได้สาดเข้าใส่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเละเหนือของทวีป Africa และเคลื่อนตัวขึ้นสู่ North Atlantic เข้าสู่ชายฝั่งประเทศฟินแลนด์เท่านั้น หาก Lisbon Tsunami ยังส่งผลกระทบกว้างขวางออกไปถึงหมู่เกาะในทะเล Caribbean ด้วยเวลาเพียง 7-8 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
แม้ว่าสภาพทางธรณีวิทยาของ Atlantic จะแตกต่างจากมหาสมุทรอินเดีย แต่ในประวัติศาสตร์ที่เดินทางมาครบรอบ 250 ปีของ Lisbon Earthquake & Tsunami ประกอบกับสถิติของการเกิด Tsunami ขนาดย่อยๆ ที่เกิดขึ้นในปี 1867, 1918 และ 1946 ในทะเล Caribbean และ North Atlantic โอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยวิบัติจากเหตุแผ่นดินไหวและ Tsunami ในมหาสมุทรแอตแลนติกย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะปฏิเสธได้
บางทีภัยคุกคามจากใต้พิภพอาจกำลังรอคอยเวลา ก่อนการรุกครั้งใหม่ แต่จะเป็นไปด้วยขนาดใหญ่เพียงใด และเมื่อใด คงไม่มีใครกำหนดได้
|
|
|
|
|