Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548
Keep on the WATCH! ภารกิจของศูนย์เตือนภัย             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Phuket's Still Alive
World Class Strategy
บทเรียนครั้งใหญ่ของคน IT
Turn Grief to Wisdom การเรียนรู้และบทบาทของญี่ปุ่น
บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา
Next Threats To Come ภัยจากใต้พิภพ
The Different Wave




พลันที่กระแสคลื่น Tsunami ขนาดใหญ่สลายตัว หลังจากโถมเข้าใส่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอาณาบริเวณโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย พร้อมกับปรากฏภาพความสูญเสียทั้งชีวิตผู้คนและบ้านเรือนทรัพย์สินที่มากเป็นประวัติการณ์ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องระบบเตือนภัย Tsunami ประจำภูมิภาคก็เริ่มดังขึ้น

แต่สำหรับ Hawaii หมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเผชิญกับภัยจาก Tsunami มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ระบบเตือนภัย Tsunami ได้รับการจัดตั้งและดำเนินการมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว

Hawaii มิได้มีความสำคัญอยู่ที่เพียงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่มีผู้คนให้ความสนใจเดินทางไปพักผ่อนตากอากาศอย่างต่อเนื่องเท่านั้น หากแต่ Hawaii ยังมีความสำคัญในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุที่ Hawaii เป็นประหนึ่ง mid point ระหว่างแผ่นดินของ 4 ทวีป ทั้งเอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย

ความสำคัญในมิติดังกล่าวสะท้อนออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะของการเป็นที่ตั้งฐานทัพขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่ Pearl Harbor ซึ่งมีบทบาทตั้งแต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกัน สภาพทางธรณีวิทยาของ Hawaii ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะภูเขาไฟและตั้งอยู่เกือบจะในบริเวณกึ่งกลางของ Pacific Plate ที่แวดล้อมด้วยแนวภูเขาไฟใน Ring of Fire ทำให้ Hawaii เป็น hot spot ของการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพของเปลือกโลกของอาณาบริเวณโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย และจากสถิตินับตั้งแต่ปี 1837 เป็นต้นมา Hawaii ต้องประสบกับภัยพิบัติจาก Tsunami ขนาดใหญ่อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบ 12 ปี

ความพยายามที่จะสร้างกลไกในการแจ้งเตือนภัยเหตุ Tsunami ได้เริ่มขึ้นและดำเนิน ไปอย่างต่อเนื่องใน Hawaii ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 กระทั่งในปี 1946 กระบวนการที่จะพัฒนาระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพจึงเกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีรูปธรรมชัดเจนขึ้น

ความรุนแรงของ Tsunami ที่ถาโถมเข้าทำลายทรัพย์สินและคร่าชีวิตผู้คนในหมู่เกาะ Hawaii ครั้งสำคัญเกิดขึ้นในปี 1946 เมื่อเกิดเหตุแผ่นดิน ไหวนอกชายฝั่งของหมู่เกาะ Aleutian ใน Alaska ซึ่งนอกจากจะส่ง ผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต (70 ราย) และทรัพย์สินอย่างมากบนเกาะ Unimak ของ Alaska ในทันทีแล้ว แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวดังกล่าว ได้ก่อให้เกิด Pacific-wide Tsunami ขนาด 7.8 (surface-wave magnitude) โดย Hawaii เป็นจุดที่ได้รับความเสียหายไม่น้อยเช่นกัน

ในช่วงระยะเวลาห่างเกือบ 5 ชั่วโมง ของการเกิดแผ่นดินไหว คลื่น Tsunami ขนาดสูงถึง 8.1 เมตร ซัดเข้าใส่เมือง Hilo บนเกาะ Hawaii (เกาะใหญ่และใต้สุดของหมู่เกาะ Hawaii) สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินรวมมูลค่ามากถึง 26 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเฉพาะในเมือง Hilo มีมากถึง 96 ราย

หากเปรียบเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากเหตุ Tsunami ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายปี 2004 จำนวนผู้เสียชีวิต จากเหตุ Tsunami เมื่อปี 1946 ที่สาดเข้าใส่เมือง Hilo ย่อมเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างมิอาจเทียบได้ หากแต่จำนวนผู้เสียชีวิต 96 รายดังกล่าวมากเพียงพอที่จะยืนยันถึงความสำคัญของการสร้างระบบเตือนภัยเพื่อป้องกันและบรรเทาความสูญเสียของประชาชน

แผนงานเพื่อสร้างระบบเตือนภัยหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ได้รับการอนุมัติในปี 1948 ภายใต้ชื่อระบบเตือนภัย Seismic Sea Wave Warning System ก่อนที่จะนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ Pacific Tsunami Warning Center (PTWC) ขึ้นที่หาด Ewa Beach ใกล้เมือง Honolulu เมื่อ ปี 1949 โดยมี National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) เป็นองค์กรรับผิดชอบปฏิบัติงาน

ระบบการดำเนินงานของ PTWC ประกอบด้วยการตรวจจับและประมวลข้อมูลของแรงสั่นสะเทือนที่ได้รับจากหน่วยเฝ้าระวังแห่งอื่นๆ เพื่อจำแนกว่าแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว เป็นแรงที่เกิดจากเหตุแผ่นดินไหว หรือเป็นแรงสะเทือนจากการทดลองระเบิดปรมาณูใต้ผืนแผ่นดิน ควบคู่กับการประสานข้อมูลกับ National Earthquake Infor-mation Center (NEIC) และ National Seismic Network (NSN) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังและบ่งชี้พิกัดการเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนภัยได้อย่างแม่นยำต่อไป

บทบาทของ PTWC ในช่วงเริ่มแรกเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก และได้แสดงบทบาทสำคัญในการรายงานและออกประกาศแจ้งเตือนภัยจากเหตุ Tsunami สำหรับประชาชนชาวอเมริกัน โดยเฉพาะ Hawaiian อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ Kamchatka Peninsula Tsunami (Russia : 1952, surface-wave magnitude : 8.2) Aleutian Tsunami (Alaska, USA : 1957, surface-wave magnitude : 8.3) และ Great Chilean Tsunami (Chile : 1960, surface-wave magnitude : 8.6)

เหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งประเทศชิลี (Great Chilean Earthquake : 1960) ที่มี ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.5 ตามมาตรา Richter scale ได้ก่อให้เกิด Great Chilean Tsunami ที่มีความสูงมากถึง 25 เมตร และส่งผลกระทบครอบคลุม พื้นที่ของประเทศต่างๆ ทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างกว้างขวาง

คลื่น Tsunami ใช้เวลาเดินทางกว่า 14 ชั่วโมงก่อนที่จะขึ้นฝั่งบนหมู่เกาะ Hawaii พร้อมกับสร้างความเสียหายรวมมูลค่าที่สูงถึง 24 ล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้ประชาชน ผู้อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้เสียชีวิตรวม 61 ราย โดยคลื่นที่เข้ากระหน่ำเมือง Hilo มีความสูงถึง 10.7 เมตร ซึ่งนับเป็นจุดที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด

นอกจากนี้ คลื่น Tsunami ยังเคลื่อนตัวเป็นระยะทางไกลเข้าสู่ชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น หลังจากเหตุแผ่นดินไหวผ่านพ้นไปนานกว่า 22 ชั่วโมง ด้วยระดับความสูงมากกว่า 10 ฟุต จากระดับน้ำทะเลสูงสุดด้วย

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ประเทศใน Pacific Basin ได้แสวงหาความร่วมมือที่จะจัดตั้งระบบเตือนภัย Tsunami ในระดับนานาชาติขึ้นใน Pacific (The Tsunami Warning System in the Pacific : TWS) ในเวลาต่อมา

ความร่วมมือเพื่อจัดตั้ง TWS ดังกล่าวเริ่มปรากฏเป็นจริงมากขึ้น เมื่อมีการประชุม Intergovernmental Oceanographic Commission (IOC) องค์กรที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของ UNESCO เมื่อปี 1961 โดยวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการของ TWS อยู่ที่การเฝ้าระวังและติดตามการเกิดแผ่นดินไหวในจุดต่างๆ พร้อมกับรายงานผลกระทบว่าแผ่นดินไหวดังกล่าวจะก่อให้เกิด Tsunami หรือไม่ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ก่อนนำไปสู่การแจ้งเตือนภัยในเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้น

ระบบเตือนภัย TWS ในระดับนานาชาติภายใต้กรอบของ IOC ได้รับความร่วมมือและพัฒนาขึ้นเป็นลำดับเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่ม International Coordination Group (ICG) พร้อมกับการตั้ง International Tsunami Information Center (ITIC) เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับภัย Tsunami ในเวลาต่อมา

กระนั้นก็ดี ความพยายามที่จะสร้างระบบการแจ้งเตือนภัย Tsunami ในระดับนานาชาติ สามารถปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างเป็นทางการในปี 1965 เมื่อศูนย์ปฏิบัติการ PTWC บนหาด Ewa Beach ของสหรัฐอเมริกาได้ขยายบทบาทจากเดิมที่เป็นเพียงศูนย์แจ้งเตือนภัย Tsunami ระดับชาติไปสู่การเข้ารับผิดชอบภารกิจการแจ้งเตือนภัยระดับนานาชาติภายใต้กรอบของ Pacific Tsunami Warning System (PTWS)

นอกจากนี้ประสบการณ์จากเหตุแผ่นดินไหวที่ Prince William Sound และคลื่น Tsunami (surface-wave magnitude : 8.4) ใน Alaska USA เมื่อปี 1964 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชายฝั่งทะเล ตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือเป็นระยะทาง ยาวตั้งแต่ Alaska ไล่เรียงไปจนจรดพื้นที่ของเมือง Crescent City ใน California รวมมูลค่ากว่า 106 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตอีกนับร้อยคนจากผลของการขาดระบบเตือนภัยในระดับท้องถิ่น ทำให้ในปี 1967 การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวัง Palmer Observatory ที่เมือง Palmer Alaska ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง และเป็นต้นร่างของ West Coast/Alaska Tsunami Warning Center (WC/ATWC) ซึ่งมีบทบาทเติมเต็มความรับผิดชอบการเป็นศูนย์ปฏิบัติการเตือนภัย Tsunami ในระดับท้องถิ่นอีกหน่วยงานหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

โครงข่ายที่เชื่อมโยงทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับนานาชาติของระบบการเตือนภัยจาก Tsunami ของ Pacific Tsunami Warning System (PTWS) ซึ่งมี Pacific Tsunami Warning Center (PTWC) ที่ Hawaii ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งศูนย์ปฏิบัติการกลางดังกล่าว ถือเป็นระบบเตือนภัยขนาดใหญ่ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดหลังเกิด Tsunami ในมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงการหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวแบบในการพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาคในอนาคต

ขณะเดียวกัน ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องบทบาทของ PTWC จากเหตุการณ์ดังกล่าวในเชิงลบก็เป็นไปอย่างหนักหน่วง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า PTWC รับรู้ถึงความเป็นไปได้ ที่จะเกิดคลื่น Tsunami ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรอินเดีย หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0 Richter ที่ Sumatra เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2004 เกือบจะในทันที แต่ด้วยเหตุที่ศูนย์ดังกล่าวจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบเฉพาะต่อประเทศสมาชิกของ ICG-TWS และบริบทของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ศูนย์ดังกล่าวออกประกาศผ่านทาง bulletin ของศูนย์ฯ เพียงว่า

NO DESTRUCTIVE TSUNAMI THREAT EXISTS FOR THE PACIFIC BASIN

BASED ON HISTORICAL EARTHQUAKE AND TSUNAMI DATA.

THERE IS THE POSSIBILITY OF A TSUNAMI NEAR THE EPICENTER.

อย่างไรก็ดี พัฒนาการในความร่วมมือเพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยรวมถึงศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังในลักษณะดังกล่าว ย่อมมิได้เป็นคำตอบเพียงประการเดียวในมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบจาก Tsunami เท่านั้น

เพราะการดำรงอยู่และปฏิบัติการของระบบและศูนย์เตือนภัย มิได้เป็น ไปเพื่อระงับเหตุการเกิดแผ่นดินไหวหรือ Tsunami ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หากแต่ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของระบบเตือนภัยอยู่ที่ความสามารถในการลดจำนวนความสูญเสียในเชิงของชีวิตผู้คนอย่างเป็นด้านหลัก ซึ่งหมายถึงการประกอบส่วนด้วยแผนป้องกันและบรรเทาวิบัติภัย รวมถึงแผนอพยพผู้คนไปสู่สถานที่ปลอดภัย ซึ่งต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย

ปัญหาอยู่ที่ว่า ประเทศผู้ประสบภัยจากเหตุ Tsunami ในมหาสมุทรอินเดียทั้งหลายจะสามารถพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างความเข้าใจจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้มากน้อยอย่างไรเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us