Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548
ช่องทางสื่อสารยามวิกฤติ             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
search resources

Telecommunications




อินเทอร์เน็ตถือเป็นช่องทางที่สำคัญที่สุดในช่วงที่การสื่อสารติดขัดเพราะเหตุการณ์สึนามิ ไม่เพียงแต่ใช้เพื่อส่งข่าวสารด้วยอีเมล อ่านข่าวเหตุการณ์อย่างทันท่วงที แทนการรับชมจากโทรทัศน์ที่ในช่วงแรกของการรายงานนั้นไม่ได้รับการตอบรับจากช่องต่างๆ จนหลายคนผิดหวัง และต้องรับภาพข่าวและการรายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์บีบีซี และซีเอ็นเอ็นเท่านั้น

หลายเว็บไซต์เริ่มให้ความสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือเหตุการณ์สึนามิในแถบภูมิภาคเอเชียไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ การเปิดเว็บไซต์รายงานผู้สูญหาย รายงานข่าวสดจากผู้สื่อข่าวมืออาชีพและมือจำเป็น เป็นแหล่งบริจาค จนมีการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของโลกเอาไว้ว่า นับเป็นการบริจาคผ่านระบบออนไลน์ที่ได้จำนวนเงินมากที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้

เว็บไซต์ google.com เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลชื่อดัง ถึงกับเปิดหน้า Ways to help with tsunami relief ที่หน้าแรกของไซต์โดยเฉพาะขึ้นมาเพื่อรวบรวมเว็บไซต์ทั่วโลกที่เปิดให้คนรับบริจาคเงินให้กับประเทศตต่างๆ เช่นเดียวกันกับความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ www.blogspot.com หรือที่รู้จักกันในชื่อ blog ของ google เอง ยังได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในช่วงของเหตุการณ์สึนามิถล่มเอเชีย เนื่องจากตัดสินใจเปิดไซต์ http://tsunamihelp.blogspot. com/ เพื่อเป็นแหล่งรายงานข่าวที่เกิดขึ้น รายงานจำนวนคนหาย คนเสียชีวิต ประกาศคนหาย ขอรับบริจาคเงินช่วยเหลือประเทศต่างๆ และพูดคุยระหว่างกัน

โดยการจัดอันดับการค้นหายอดนิยมของ google.com ในช่วงของวันที่ 27 ธันวาคม 2547 นั้นพบว่าอันดับแรกคือคำว่า tsunami ก่อนตามมาด้วยชื่อของผู้สูญหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวแทบทั้งสิ้น ก่อนตามมาด้วยสถานที่ที่พบครั้งสุดท้าย หรือสถานที่ของที่เกิดเหตุต่างๆ

เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากสุดนอกจาก google.com เพื่อใช้ค้นหาคนหายแล้ว ยังมีเว็บไซต์ที่เว็บบอร์ดที่คนแวะเวียนเข้ามาโพสต์ขอความช่วยเหลือและพูดคุย วิพากษ์ วิจารณ์เหตุการณ์ เช่นเดียวกันกับเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากตลอดช่วงระยะของการเกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us