Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2548
World Class Strategy             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Phuket's Still Alive
บทเรียนครั้งใหญ่ของคน IT
Turn Grief to Wisdom การเรียนรู้และบทบาทของญี่ปุ่น
Keep on the WATCH! ภารกิจของศูนย์เตือนภัย
บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา
Next Threats To Come ภัยจากใต้พิภพ
The Different Wave

   
search resources

Tourism
ปมุข อัจฉริยะฉาย




World Class Destination, Dream Island และ Natural Resorts เป็นนิยามที่ ปมุข อัจฉริยะฉาย ประธานหอการค้าจังหวัด ภูเก็ต พูดถึงยุทธศาสตร์การฟื้นฟู 3 แหล่งท่องเที่ยวหลัก อย่างภูเก็ต เกาะพีพี และเขาหลัก ที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547

เพียงแต่จุดหลักที่จะต้องเริ่มฟื้นฟูก่อนควรเป็นที่ภูเก็ต เพราะเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายน้อยมาก สามารถฟื้นฟูได้เร็วที่สุด และที่สำคัญ ภูเก็ตถือเป็น hub ของแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่กระจายอยู่โดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นเกาะพีพี เขาหลัก เกาะ ลันตา หมู่เกาะสิมิลัน ฯลฯ

ถ้าภูเก็ตฟื้นตัว อีกไม่นานพื้นที่โดยรอบเหล่านี้ก็ต้องฟื้นตัวตามเช่นกัน

แม้ว่าในปัจจุบัน ภูเก็ตจะมีโครงสร้างพื้นฐานหลายประการ จนสามารถเรียกเป็น international destination ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ แต่ก็ยังมีจุดด้อยหลายประการที่ต้องปรับปรุง หรือสร้างเสริมขึ้นมาใหม่

การมีสนามบินที่ได้มาตรฐาน มีโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลที่ทันสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ยังดูห่างไกล หากต้องการจะพัฒนาภูเก็ตให้เป็น world class destination อย่างจริงจัง

แม้จะมีชาวต่างชาติหลายรายได้เข้ามาซื้อบ้านพักอาศัย เป็นบ้านพักหลังที่ 2 โดยเฉพาะบ้านพักตากอากาศระดับหรู ราคาหลังละ 40-100 ล้านบาท ก็ไม่ได้หมายความ ว่า ภูเก็ตได้ถูกยกระดับขึ้นเป็น world class แล้วจากความเคลื่อนไหวดังกล่าว

"ถือได้ว่าตอนนี้ภูเก็ตเป็นได้ในระดับ world class resident เท่านั้น" ปมุขบอก

"ถนน ท่าเรือ การดูแลรักษาชายหาด การมีสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้ชาวต่างชาติเห็นถึงความปลอดภัยในระดับโลกจริงๆ คือสิ่งที่จะต้องสร้างเพิ่มขึ้นมา ถ้าจะเป็น world class destination"

การพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด คือการยกระดับเมืองภูเก็ต โดยการเข้ามาจัดระเบียบใหม่ทั้งระบบ

เขายกตัวอย่างเมืองตากอากาศที่มีลักษณะเป็น world class destination เช่น ฮาวาย มัลดีฟ แคนคูน แคริบเบียน "สินค้าที่เขาขายที่ชายหาดเป็นยังไง ผมมั่นใจว่าทุกคนก็คงทราบ และคงจะอยู่ในใจของผู้บริหารระดับสูงแล้วว่า เขาควรจะต้องทำยังไง"

"ครั้งนี้มันเสียหายมากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดระเบียบ ผู้ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้วิกฤติเป็นโอกาสนั้น เริ่มมาตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ก็คือ เริ่มมาจากนโยบายของภาครัฐ ก็คือนายกรัฐมนตรี ลงมาถึงจังหวัด มาถึงผู้ว่าฯ มาถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทุกคนจะต้องมาจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นช่วงนี้ จะเป็นช่วงที่โอกาสที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถจัดระเบียบชายหาดได้ดีที่สุด ทำอย่างไรที่จะทำให้ภูเก็ตของเราเป็น world class beach destination ก็คือการจัดระเบียบเท่านั้นเอง"

ในเชิงยุทธศาสตร์การยกระดับภูเก็ต ให้เป็น world class destination นอกจากการวางระเบียบใหม่แล้ว ความพยายาม จัด event เพื่อดึงให้คนเข้ามายังพื้นที่แห่งนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากัน

ความที่ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีสนามกอล์ฟอยู่เป็นจำนวนมาก ปมุขเสนอว่าภาครัฐควรต้องผลักดันให้มีการจัดการแข่งขันประเภท Golf Paradise หรือการแข่งขัน Golf Invitation อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อดึงนักกอล์ฟมืออาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลกให้เดินทางเข้ามาแข่งขันที่นี่

แต่สิ่งที่เขาสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอจากภาครัฐ ก็คือการจัดให้ปีนี้ เป็นปี Water Sport World Championship โดยนำการแข่งขันกีฬาทางน้ำระดับโลกถึง 6 รายการด้วยกันมาแข่งขันกันที่ภูเก็ต

บางรายการเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้น เป็นประจำอยู่แล้ว แต่บางรายการเพิ่งจะมาใช้ที่นี่เป็นสถานที่แข่งขันเป็นปีแรก

ทั้ง 6 รายการประกอบด้วย

1. การแข่งขัน Sea Rally ที่จะจัดเป็นการแข่งเรือจากภูเก็ตไปถึงเกาะ Port Bear ประเทศอินเดีย ที่วางแผนจัดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา

2. การจัดงาน International Sport Fishing Classic ประมาณเดือนพฤศจิกายน

3. การจัด Laguna Tri Athletic ในเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน

4. การแข่งขันเรือใบภูเก็ต คิงส์คัพ รีกัตตา ที่จะจัดในปีนี้เป็นปีที่ 19

5. การแข่งขันเรือ Fomular 1 Power Boat World Championship ซึ่งจะจัดขึ้นที่ภูเก็ตเป็นครั้งแรก ในเดือนมีนาคมนี้

6. การแข่งขัน Class 1 Power Boat World Championship : ซึ่งถือเป็นครั้งแรก เช่นกันในเดือนพฤศจิกายน

ทั้ง 6 รายการ ถือเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ในการเดินทางกลับเข้ามายังภูเก็ต เนื่องจากสาเหตุที่ "คนที่เล่นกีฬาประเภทนี้ มีแต่มหาเศรษฐีเท่านั้นที่เล่น" ปมุขบอก

ส่วนที่เกาะพีพี ซึ่งเขานิยามให้เป็น dream island เนื่องจากยังมีธรรมชาติบางส่วน ที่เกิดขึ้นมาใหม่ ภายหลังจากที่สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ถูกทำลายไปแล้วกับคลื่นสึนามิ

"ภูเก็ตสมัยเมื่อ 20 ปีก่อนก็คือ dream island เป็นเกาะในฝันที่คนอยากจะมา เพราะมีชายหาดขาว ทะเลสงบเงียบ ไม่มีผู้คน แต่การพัฒนาการท่องเที่ยวของภูเก็ตเกิดขึ้นเร็วเกินไป จนตอนนี้เป็น dream island ไม่ได้แล้ว ต้องไปที่พีพี"

ธรรมศักดิ์ ภูพันธ์วิวัฒน์ กรรมการหอการค้าเขต 16 กระบี่ ภูเก็ต และพังงา ให้แนวทางพัฒนาเกาะพีพี เพื่อเป็น dream island ตามแนวคิดของปมุขว่าคือการจัดระเบียบ การก่อสร้างใหม่ โดยจำกัดจำนวนห้องพักของโรงแรมให้น้อยลง ส่วนนักท่องเที่ยวก็เน้นให้เป็นการท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับเป็นหลัก หรือหากอยากจะพักค้างคืนก็กำหนดลงไปเลยว่าโรงแรมที่จะสร้างขึ้นใหม่บนเกาะพีพี ต้องเป็นระดับ 5 ดาวเท่านั้น

ส่วนแนวทางการพัฒนาเขาหลักให้เป็น natural resorts ก็คือ การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มีส่วนผสมผสานกับธรรมชาติ มีต้นไม้ มีความเขียว มีบึง "ผมอยากจะเห็นภาพของเขาหลัก เป็นเหมือนกับที่ลังกาวี ที่โกตาบารู คินนาโกตาบารู ซึ่งสิ่งแวดล้อมเขาสวยมาก มีการออกแบบที่สวย" ปมุขอธิบาย

อย่างไรก็ตาม ทั้งที่พีพี และเขาหลัก คงต้องอาศัยเวลาอีกสักระยะ แนวทางการฟื้นฟู จึงจะเริ่มเด่นชัดขึ้นได้ เพราะเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับภูเก็ต

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกอย่างคงต้องรอให้มีเจ้าภาพ และการวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนให้เกิดขึ้นมาเสียก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us