|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2548
|
|
ตามระเบียบใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย สินเชื่อที่จะถูกจัดชั้นให้เป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans : NPLs) คือสินเชื่อที่ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ผู้ให้กู้ได้ต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 งวดเป็นต้นไป
จนถึงปัจจุบัน ระเบียบดังกล่าวยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงไป และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังไม่เคยมีจดหมายเวียนไปถึงผู้บริหารธนาคารพาณิชย์แต่ละรายว่ากรณีธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการใดที่จะออกมาเพื่อผ่อนปรนหนี้สินที่ภาคธุรกิจในจังหวัดเหล่านี้มีกับธนาคารพาณิชย์เป็นกรณีพิเศษ
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นแต่การออกมาให้สัมภาษณ์จากผู้บริหารของภาครัฐว่ามีแนวทางปฏิบัติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มนักธุรกิจเหล่านี้ให้ฟื้นฟู และดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไปได้
มีการมอบหมายให้ธนาคารของรัฐ อาทิ ธนาคารเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดสรรวงเงินกู้พิเศษ พร้อมเตรียมทีมงานไปให้คำปรึกษากับบรรดานักธุรกิจเรื่องการเงิน
มีการระดมทุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จัดตั้งเป็นกองทุนสึนามิฟันด์ ขึ้นมาเพื่อนำเงินเข้าไปร่วมลงทุนกับธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน
แต่ก็ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมว่าธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิ โดยเฉพาะธุรกิจที่สิ่งปลูกสร้างถูกทำลายไปกับกระแสคลื่น จะมีวิธีการเยียวยาหรือฟื้นฟูธุรกิจของเขาอย่างไร หรือจะผ่อนปรนระเบียบอะไร เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องกลายเป็น NPLs
เหตุการณ์คลื่นสึนามิซัดถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ เกิดขึ้นในตอนสายของวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม ซึ่งน่าเชื่อว่า ณ งวดวันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม ซึ่งนักธุรกิจเหล่านี้มีกำหนดจะต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับธนาคารพาณิชย์ กว่า 90% คงยังไม่ได้จ่าย เพราะทุกคนกำลังชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการกอบกู้ซากตึก และตามหาผู้ที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ
ถือเป็นการนับ 1 หากยึดตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการจัดชั้นสินเชื่อที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ก่อให้เกิดรายได้
เช่นกัน หากยังไม่มีมาตรการอะไรที่ชัดเจนออกมาก็น่าเชื่ออีกว่าในงวดวันที่ 31 มกราคม นักธุรกิจอีกหลายราย ที่ยังคงรอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่ ก็คงยังไม่ได้นำเงินไปจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับธนาคารพาณิชย์ถือเป็นการนับ 2
และหากยังปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยไป โดยที่ยังไม่มีใครทำอะไร เมื่อถึงงวดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ก็ถือเป็นการนับ 3
สิ่งที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป คือธนาคารพาณิชย์หลายแห่งคงต้องจัดทำบัญชีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่จากเหล่านักธุรกิจที่กำลังรอคอยอยู่ว่ารัฐบาลจะสามารถช่วยเหลืออะไรกับเขาได้บ้าง จากกรณีธรณีพิบัติภัยครั้งนี้
ไม่รู้ว่าแต่ละคนได้เตรียมตัวกันไว้หรือยัง!!!
|
|
|
|
|