Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529
“ตำนานเซ็นทรัลยุคแรกคือชีวิตและผลงาน นี่เตียง แซ่เจ็ง”             
 

   
related stories

“ความแตกต่างที่ลงตัวของ “จิราธิวัฒน์” ระหว่าง กลุ่มตัดสินใจกับกลุ่มปฏิบัติการ?”
“LIABILITY MANAGEMENT" วิทยายุทธ “พลิกแพลง” ตามสถานการณ์”
“จิราธิวัฒน์” 39 ชีวิตคือเส้นโลหิตห้างเซ็นทรัล”

   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

เซ็นทรัลกรุ๊ป
เตียง จิราธิวัฒน์ - นี่เตียง แซ่เจ็ง
Shopping Centers and Department store




เขาเกิดบนเกาะไหหลำเมื่อปี 2443 บิดาของเขาคือเจ็งอั้นเต็ง หรือแต้อั้นเต็งในภาษาแต้จิ๋ว

เขามีนามว่าเจ็งนี่เตียง เพียงอายุ 16 ปีก็แต่งงาน ตามประสาคนจีนไหหลำซึ่งต้องการมีครอบครัวใหญ่

ปี 2406 เกาะไหหลำคุด้วยไฟแห่งความยุ่งเหยิง เหตุการณ์ไม่สงบปะทุขึ้น เขาต้องอำลาบ้านเกิดข้ามทะเล หนีร้อนมาพึ่งเย็น ที่ประเทศไทยในครั้งแรก นี่เตียงอยู่เมืองไทยเพียงปีเดียว เหตุการณ์ทางโน้นก็สงบลง เขาตัดสินใจกลับเมืองจีนอีกครั้ง ว่ากันว่าการกลับบ้านเกิดเมืองนอนครั้งนี้ นี่เตียงได้ขวนขวายศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่คนจีนในไทยกาลต่อมาว่านี่เตียงคือปัญญาชนคนจีนคนหนึ่ง

เมื่ออายุ 21 ปี นี่เตียง แซ่เจ็ง ได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยอีกวาระหนึ่ง ครั้งนี้สำคัญที่สุด เพราะว่าเขาได้ตัดสินใจปักหลักชีวิตและครอบครัวที่นี่อย่างแท้จริง เริ่มทำงานครั้งแรกที่ร้านขายข้าวสารและของเบ็ดเตล็ด ชื่อ พงอั้นเหลา ของพ่อตา ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าช้างวังหน้า ทำงานอยู่ได้ 2 ปี พ่อตาให้เงินก้อนหนึ่ง 300 บาทเพื่อให้เขาและภรรยา เป็นทุนรอนในการทำมาค้าขาย นี่เตียงกับภรรยา (คนแรก) จึงแยกตัวออกมาเปิดร้านค้าของตนเอง - ร้านเข่งเซ้งหลี ขายของเบ็ดเตล็ดและเครื่องดื่มอยู่ที่บางขุนเทียน

นอกจากนี้เขาได้ซื้อเรือลำเล็กลำหนึ่งบรรทุกของล่องเร่ขายตามน้ำย่านฝั่งธน

"มีวันหนึ่งขณะพายเรือเร่ขายสินค้า เขาปวดหัวอย่างรุนแรงเพราะพิษไข้ เขาจึงพายเรือกลับบ้าน โดยจอดเรือทิ้งไว้ที่ท่าน้ำ ต่อมาไม่นานเกิดพายุฝน เขานึกถึงเรือที่บรรทุกสินค้าซึ่งหมายถึงทุนรอน นี่เตียงต้องกรำฝนทั้งๆ ที่เป็นไข้ขนสินค้าขึ้นจากเรือ" คนไหหลำในไทยรุ่นเก่ายกตัวอย่างความอุตสาหะวิริยะของนี่เตียงให้ฟัง

นี่เตียงทำงานสะสมทุนอยู่ที่บางขุนเทียนจนสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ปี 2478 เขาก็ย้ายไปอยู่ที่สี่พระยา เปิดร้านขายหนังสือภาษาอังกฤษโดยนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น

วันชัย จิราธิวัฒน์ ลูกชายคนที่สองของนี่เตียงบอก "ผู้จัดการ" ว่าร้านที่สี่พระยาเป็นเพียง GROCERY เล็กๆ

และที่สี่พระยานี่เองนี่เตียงได้เริ่มต้นเข้าไปสัมผัสกับธนาคาร และกู้เงินธนาคารใช้เป็นครั้งแรก นับเป็นการ "แหวกประเพณี" ของคนจีนในระยะไต่เต้าธุรกิจทั่วไป เขากู้เงินธนาคารตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้จนกลายเป็น "ความสามารถ" อย่างหนึ่งอันเป็นลักษณะพิเศษของกลุ่มเซ็นทรัลในปัจจุบัน

วันชัยเล่าว่า ธนาคารแรกที่พ่อของเขาใช้บริการคือธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อยซึ่งอยู่ใกล้ร้านของเขาที่สี่พระยา โดยผ่านคอมประโดร์ของธนาคาร - - นายห้างร้านเทียนกัวเทียน

"ไทยพาณิชย์เป็นแบงก์ที่ดีคอยดูแลลูกค้า ไม่ให้พ่อค้าทำอะไรเกินตัว คือเขามีฝ่ายวิจัยให้คำปรึกษาด้วย ถึงแม้สมัยก่อนเปิดแอล/ซีต้องเอาเงินทุนไปวางมาร์จิน 20-30% แล้วแต่สินค้า แต่ก็ไม่วายว่าเอ๊ะสั่งเข้ามาเยอะจะขายได้ไหม คอยตรวจสอบอยู่เรื่อยไม่เหมือนเดี๋ยวนี้แบงก์ไม่ค่อยมายุ่ง" วันชัยฟื้นความหลังความสัมพันธ์ ระหว่างกิจการค้าของพ่อกับธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อ 30 ปีก่อน

ปลายสงครามเกาหลี ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยตกต่ำอย่างมาก รัฐบาลในสมัยนั้นดำเนินนโยบายสกัดกั้นสินค้าขาเข้า และมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ "สินค้าที่นี่เตียงนำเข้ามาขายก่อนจำนวนมาก ขายได้กำไรหลายเท่า" คนจีนไหหลำคนเดิมชี้จุดก้าวกระโดดการสะสมทุนของนี่เตียง

"ผู้จัดการ" ถือว่าเป็นทฤษฎีนี้เชื่อถือได้มากที่สุด มากกว่าทฤษฎีการพบทองคำฝังไว้ใต้ดิน ซึ่งนี่เตียงขุดพบหรือทฤษฎีอื่นใด!

เพียง 4 ปีที่สี่พระยา นี่เตียงสามารถหาเงินก้อนซื้อที่ที่หน้าโรงเรียนอัสสัมชัญฯ ที่เรียกว่าตรอกโรงภาษีเก่า หลังจากนั้นก็เลิกกิจการที่สี่พระยา อันเป็นห้างเช่าบนที่ดินของราชนิกูลคนหนึ่งซึ่งคนจีนได้สร้างเป็นตึกแถวสี่ชั้น มาสู่ที่ดินของตนเอง

"เดิมเป็นของพระนางเจ้ารำไพพรรณี คนจีนเช่ามาทำเป็นห้องแถวต่อมาก็ทรงตัดขาย ใครเช่าอยู่ก็ขายคนนั้น เราก็เลยซื้อไว้ ทีแรกคิดจะเก็บไว้เป็นที่ระลึก มันเก่ามากกลัวซ่อมแซมไม่ได้ เพราะไม่มีโครงเหล็กเลยรื้อสร้างใหม่ ตอนหลังทรัสต์มาเช่าแล้วเจ๊งยังทิ้งอยู่จนทุกวันนี้" วันชัย เล่าที่มาของสมบัติชิ้นสำคัญชิ้นแรกของจิราธิวัฒน์

ร้านที่ตรอกโรงภาษีเก่ามีสินค้าเพิ่มมากขึ้น ถุงเท้า เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ ซึ่งส่วนใหญ่ขายส่ง

ในช่วง 10 ปีแรกจากสี่พระยาจนสิ้นสุดที่ตรอกโรงภาษีเก่า นี่เตียงมีผู้ช่วย 3 คน สัมฤทธิ์ วันชัย และสิทธิพร ลูกชาย 3 คนแรกจากภรรยาแรกซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการติดต่อกับต่างประเทศ เพราะเขาทั้งสามพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้เนื่องจากเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญฯ ในขณะที่นี่เตียงพูดและเขียนภาษาอังกฤษไม่ได้เลย

ห้างเซ็นทรัลเริ่มต้นอย่างแท้จริงราวๆ กึ่งพุทธกาล ที่วังบูรพา และเป็นห้วงเวลา 10 ปีสุดท้ายของชีวิตนี่เตียง แซ่เจ็ง หรือเตียง จิราธิวัฒน์

ประมาณปี 2499 ย่านวังบูรพาเป็นย่านการค้าแห่งใหม่ที่กำลังเติบโต ร้านรวงผุดขึ้นอย่างดอกเห็ดเต็มพรึด ณ ใจกลางนั้นบังเอิญเหลือเกิน ปรากฏที่ว่างแห่งหนึ่งมีพื้นที่พอสมควร ซึ่งเป็นของโอสถ โกสิน นักพัฒนาที่ดินในยุคนั้นเก็บเอาไว้ให้ธนาคารนครหลวงไทย ว่ากันว่าเป็นการตอบแทนผลประโยชน์กัน

นี่เตียงได้ซื้อที่ตรงนั้นสร้างเป็นตึกต่างหาก ดูเด่นท่ามกลางห้องแถวนับร้อยคูหา โดยมีโรงภาพยนตร์แกรนด์ ควีน คิงส์รายล้อม

"เนื้อที่ 100 ตารางวา ราคาประมาณ 1 ล้านบาท" วันชัยยังจำได้

รวมค่าก่อสร้างด้วย เตียงจิราธิวัฒน์ต้องกู้เงินธนาคาร เพื่อใช้ในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าค่อนข้างสมบูรณ์แบบ หรือต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยประมาณ 3 ล้านบาท

เคยมีชื่อว่าห้างเจ็งอันเต็งตามชื่อบิดาของเขา!

CONCEPT ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกนี้เกิดจากมันสมองของเตียง สัมฤทธิ์ และวันชัย อันเป็นผลมาจากการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งในช่วงนั้น!

ห้างสรรพสินค้าติดราคาสินค้าครั้งแรกในประเทศประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อ เพราะความสำเร็จจึงชักนำให้จิราธิวัฒน์ พยายามขยายอาณาจักรออกไป สู่เยาวราชและราชประสงค์ ซึ่งเป็นความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรกๆ วันชัยบอกว่าที่เยาวราชอยู่ได้ 2 ปีเท่านั้นก็ต้องถอยทัพ เนื่องจากไม่สามารถต่อกรกับการค้าแบบห้องแถวของคนจีนดั้งเดิมได้ ส่วนที่ราชประสงค์ทำเลไม่ดี จึงไม่สามารถสู้กับไดมารูห้างญี่ปุ่นที่มาปักหลักได้

ปี 2511 เซ็นทรัลสาขาสีลมก็เปิดขึ้น ใช้ชื่อเป็นทางการว่าห้างเซ็นทรัล เป็นครั้งแรก

แต่เดิมเตียง จิราธิวัฒน์ ซื้อที่อยู่ที่ฝั่งตรงข้ามของสาขาปัจจุบัน แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ใหญ่ไป ต้องใช้เงินจำนวนมากจึงตัดสินใจมาซื้อที่ดินฝั่งตรงข้ามในเนื้อที่ที่น้อยกว่า การลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท ตึก 9 ชั้นก็สำเร็จเป็นห้างสรรพสินค้าที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ

ช่วงชีวิตของเตียง เขาไม่เคยต้องใช้ทรัพย์สินอื่นใดค้ำประกันเงินกู้ธนาคารเลย ทั้งๆ ที่กู้ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีห้างต้นแบบสรรพสินค้า "เวลาไปหานายแบงก์กู้เงินแกจะหอบกระเป๋าไปใบหนึ่ง ในนั้นมีโฉนดที่ดินหลายใบไปให้ดู ทุกคนเชื่อ ซ้ำให้กู้โดยไม่ต้องค้ำประกัน คุณเตียงเป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์มาก" นายธนาคารรุ่นเก่าของธนาคารศรีนครเล่าให้ฟัง

บริษัทห้างเซ็นทรัล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด เกิดขึ้นเพื่อเป็นนิติบุคคล ดำเนินการห้างนี้นอกจากเตียงและลูกชาย 3 คนแรก สุทธิชัย และสุทธิเกียรติ คือลูกชายอีก 2 คนแรกที่จบการศึกษาจากอังกฤษ เดินทางกลับมาร่วมเป็น กรรมการ บริษัทนี้ด้วย

ที่ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงสายตาอันยาวไกลพอประมาณของเตียง จิราธิวัฒน์ ผู้รู้เล่าให้ฟังว่า การเปิดห้างสรรพสินค้าปรับอากาศแห่งแรกในบริเวณที่ใกล้ย่านการค้าและชุมชน (ในขณะนั้น) เมื่อเปรียบเทียบกับห้างไดมารูของญี่ปุ่นแล้ว เซ็นทรัลสีลมตกอยู่ในที่นั่งลำบากมาก

ไดมารูอยู่ในย่านการค้าราชประสงค์ที่เติบโตขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งหลังจากที่วังบูรพาอิ่มตัว

วันชัยเล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นเซ็นทรัลสีลมโดดเดี่ยวมาก ถนนมหาสักข์ก็ยังไม่ได้ตัด ดังนั้นตัวเลขการลงทุนจึงสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ…

เตียง จิราธิวัฒน์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบิดาห้างสรรพสินค้าในไทยก็ลาโลกในเวลาเดียวกัน เป็นการจากไปประเภทนอนตาไม่หลับ เขาได้ทิ้งแบบฉบับธุรกิจห้างสรรพสินค้าไว้ข้างหลังให้ลูกๆ แบกรับภาระอันหนักอึ้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us