Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มกราคม 2548
MFC ถกลงขันสึนามิฟันด์             

 


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
Funds




บลจ.เอ็มเอฟซีนัดถกสมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุน สมาคมโบรกเกอร์ และสมาคมบลจ.ร่วมลงขันตั้ง"สึนามิฟันด์" มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท ซับน้ำตาอันดามัน เผยกรอบการร่วมทุนเบื้องต้นคาดว่าจะร่วมลงทุน-ปล่อยกู้ ให้กับผู้ประกอบการที่มีขนาดกลางที่มีสินทรัพย์ก่อนเจอคลื่นยักษ์ 200 ล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลาโครงการ 10 ปี MFC ใจปั้มไม่คิดค่าฟี ขณะที่ก.ล.ต.คลอดหลักเกณฑ์กว้างเปิดทางบลจ.อื่นที่สนใจสามารถจัดตั้งได้ทันที

นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (28 มกราคม) เวลาประมาณ 14.00 น.คณะทำงานจัดตั้ง"กองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ" มูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท จะจัดประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณากรอบการลงทุน และการร่วมลงขันกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในเบื้องต้นสมาคมธนาคารไทยจะร่วมลงขันประมาณ 2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1 พันล้านบาท เป็นเงินจากธนาคารออมสิน สภาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

"วันนี้น่าจะได้ข้อสรุปว่าแต่ละส่วนจะช่วยเหลือวงเงินเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เร่งผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน"นายศุภกรกล่าว

สำหรับแนวทางการลงทุนของกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ภายใต้การบริหารของบลจ.เอ็มเอฟซี จะเน้นการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการเป็นหลัก โดยเป็นกองทุนร่วมทุนเป็นเวลา 10 ปี นโยบายการลงทุนจะมีความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน การให้เงินกู้แบบมีเงื่อนไข และเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของการลงบันทึกบัญชี การพัฒนาบุคลากร และเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน

"บลจ.เอ็มเอฟซีจะไม่คิดค่าธรรมเนียมจากการบริหารงาน เนื่องจากกองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นสำคัญ"นายศุภกรกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับค่าจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ดิวดิลิเจนท์) หรือการว่าจ้างคณะกรรมการตรวจสอบ อาจต้องใช้เงินส่วนกลางเข้ามาเป็นค่าใช้จ่าย

สำหรับการเข้าไปช่วยเหลือหรือร่วมลงทุน บลจ.จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีขนาดสินทรัพย์ก่อนเกิดคลื่นยักษ์ถล่มมูลค่า 200 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีกองทุนที่เข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอีกอยู่แล้ว

ขณะที่รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศใหม่ 3 ฉบับ เพื่อรองรับการจัดตั้ง "กองทุนรวมสึนามิ" เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยมุ่งขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน โดยขณะนี้มี บลจ.เอ็มเอฟซี ประเดิมขอจัดตั้งแล้วเป็นรายแรก มูลค่ากองทุน 3 พันล้านบาท

รายงานข่าวจาก ก.ล.ต. แจ้งว่า ตามที่กระทรวงการคลังมีนโยบายจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อระดมเงินไปลงทุนในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยและคลื่นยักษ์สึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ในส่วนของ ก.ล.ต. ได้มีการพิจารณาผ่อนผันเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อรองรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยได้ออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่เกี่ยวข้องรวม 3 ฉบับ

โดยลักษณะสำคัญของกองทุนรวมสึนามิ ได้แก่ เป็นกองทุนรวมที่เสนอขายเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (non-retail) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากเหตุการณ์สึนามิ สามารถลงทุนโดยตรง (direct investment) ในกิจการกลุ่มเป้าหมายได้ เนื่องจากอาจมีหลายบริษัทไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

สามารถลงทุนในลักษณะสัญญาร่วมลงทุน (private equity) คือ การส่งผู้แทนของกองทุนรวมเข้าร่วมเป็นกรรมการในกิจการที่มีการลงทุน มีอัตราส่วนการลงทนแตกต่างจากกองทุนรวมโดยทั่วไป เช่น สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทได้ถึง 100% สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ถึง 100% ของ

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV) โดยมี company limit ของการลงทุนในแต่ละบริษัทไม่เกินร้อยละ 25 ของ NAV

สำหรับการยื่นจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว ต้องยื่นคำขอจัดตั้งภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ 26 มกราคม 2548 และต้องจดทะเบียนเป็นกองทุนรวมภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ ก.ล.ต. อนุมัติคำขอจัดตั้ง ต้องนำเงินทั้งหมดไปลงทุนภายใน 2 ปี นับจากวันจดทะเบียนเป็นกองทุนรวม โดยขณะนี้มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 1 แห่ง ที่ยื่นขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมประเภทนี้ และได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต. แล้ว ได้แก่ บลจ.เอ็มเอฟซี ขอจัดตั้ง "กองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ" โดยมีมูลค่ากองทุน 3 พันล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us