Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 เมษายน 2545
อีพีแอล ขอจัดประชุมเจ้าหนี้ทีพีไอ ลงมติยืดเวลาขายสินทรัพย์รอง1ปี             
 


   
search resources

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)




เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อขอมติขยายเวลาการขายสิน ทรัพย์รองออกไปอีก 1 ปี

หลังจากไม่สามารถเดินตามแผนฟื้นฟูกิจการด้วยการนำสินทรัพย์มูลค่า 200 ล้านเหรียญออกมาขายได้ภายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นายเดวิด มอนด์ รองผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด

หรืออีพีแอล ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ กล่าวว่า วานนี้ (10 เม.ย.) บริษัทได้ ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.)

แห่งสำนักฟื้นฟูกิจการ เพื่อขอให้จัดประชุมเจ้าหนี้ ตามกฎหมายเพื่อลงมติแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัททีพีไอใน 2 ประเด็น ประเด็นแรก คือการแก้ไขข้อ

กำหนดในแผนเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนสาระสำคัญในแผนเพื่อให้ตรงกับแนวทางในพระราชบัญญัติล้มละลาย โดยที่ยังคงสิทธิของคณะกรรมการเจ้าหนี้ในการจัดประชุมเจ้าหนี้

ที่เข้าร่วมแผนปรับโครงสร้างหนี้ทางการเงินในการประเมินเสียงสนับสนุน สำหรับข้อเสนอการแก้ไขแผนใดๆ ก่อนที่จะมีการลงมติในการประชุมตามกฎ-หมายที่จัดโดยสำนักฟื้นฟูกิจการ ประเด็นที่สอง

การแก้ไขกำหนดเวลาการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (สินทรัพย์รอง) เป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546 หรือวันอื่นที่อาจมีการขยายออกไปตาม ที่เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเจ้าหนี้ที่

เข้าร่วมแผนปรับโครงสร้างหนี้ทาง การเงินเห็นชอบ โดยคำร้องขอแก้ไขแผนได้ระบุว่า การแก้ไขแผนใน 2 ประเด็น เป็นสิ่งจำเป็นในการฟื้นฟูกิจการ การจัดประชุมตามกฎหมาย

โดยสำนักฟื้นฟูกิจการเพื่อลงมติจะมีขึ้น ในราวกลางเดือนพฤษภาคม 2545 แต่ก่อนที่จะมีการลงมติในเรื่องดังกล่าวนั้น อีพีแอลยังคงเป็นผู้บริหาร แผน

และดำเนินงานตามขั้นตอนของแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอต่อไป ด้านนายปีเตอร์ กอทธาร์ด ผู้บริหารอาวุโสอีพีแอล กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้ขอให้ศาลล้มละลายกลางมีการแก้ไขหลักเกณฑ์

การลงคะแนนเสียงของเจ้าหนี้ทีพีไอ และการเลื่อนระยะเวลาการจำหน่ายทรัพย์สินรองเป็นวันที่ 31 มีนาคม 2546 ซึ่งเจ้าหนี้ของทีพีไอจะต้องเข้าประชุม

เพื่อลงคะแนนเสียงสนับสนุนตามกฎหมายที่กำหนดไว้คาดว่าการประชุมเพื่อลง คะแนนเสียงดังกล่าวจะมีขึ้นราวหนึ่งเดือนข้างหน้า ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การลงคะแนนเสียงที่ระบุไว้ในแผนเดิม

ที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้รายหนึ่งให้สามารถทำให้มติใดๆ ตกไปด้วยเสียงของตนเพียงรายเดียว ทำให้การแก้ไขเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มี เจ้าหนี้จำนวนมากถึง 130 ราย

การลงคะแนนเสียงของเจ้าหนี้ทีพีไอทุกครั้ง อีพีแอลจะได้รับเสียงสนับสนุนไม่ต่ำกว่า 89% ซึ่งการขอแก้ไขหลักเกณฑ์การลงคะแนนเสียงในแผนเพื่อให้เป็นแนว

ทางเดียวกับที่กำหนดในกฎหมายล้มละลายมาตรา 90/46 ขณะเดียว กันคณะกรรมการเจ้าหนี้ ยังสามารถประเมินเสียงสนับสนุนต่อ ข้อเสนอการแก้ไขแผนใดๆ

ก่อนที่จะมีการลงมติในการประชุมตามกฎหมายที่จัดโดยสำนักฟื้นฟูกิจการŽ สำหรับการจัดประชุมครั้งใหม่ นี้ สืบเนื่องจากอีพีแอล ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ไม่สามารถ

ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการที่กำหนดไว้ คือ ต้องขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ที่ผ่านมา

ดังนั้นอีพีแอล จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการประชุมเพื่อขอมติให้มีการเลื่อนกำหนดการขายสิน ทรัพย์รองออกไป โดยในการประชุมครั้งแรกนั้นได้มีเจ้าหนี้บางรายคัดค้านการขยายเวลาออกไป

ทำให้มติดังกล่าวเป็นอันตกไป และจะต้องมีการจัดประชุมเพื่อขอมติใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์แล้วในการประชุมดังกล่าว จะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 75% ของมูลหนี้ทั้งหมด

และเจ้าหนี้ทุกรายจะต้องเห็นด้วยกับการขยายระยะเวลาออกไป คือหากมีเจ้าหนี้เพียง 1 รายคัดค้าน ก็เท่ากับว่าแผนไม่ผ่าน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us