|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศาลล้มละลายกลางเลื่อนชี้ขาด TPIPL ข้อเสนอใช้โรงงานแอลดีพีอีแลกหุ้นTPIPLที่ทีพีไอถืออยู่ 249 ล้านหุ้น เหตุคณะกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าหนี้TPIPLจับมือยื่นคำร้องคัดค้าน โดยศาลฯสั่งนัดพร้อม 15 ก.พ. นี้ เพื่อรอฟังการตัดสินใจเจ้าหนี้ว่าจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ จับตาวันนี้ ศาลฯนัดพิจารณาคำร้อง "ประชัย" ยื่นขอสิทธิซื้อหุ้นทีพีไอคืนก่อน
นายกมล ธีรเวชพลกุล รองอธิบดี ศาลล้มละลายกลาง ได้พิจารณาคำร้องของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน)(TPIPL) ในฐานะผู้บริหารแผนฯ ที่ขอให้บุคคลที่บริษัทฯ กำหนดเป็นผู้ซื้อหุ้น TPIPL ในส่วนที่บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ)ถืออยู่จำนวน 249 ล้านหุ้น เพื่อแลกกับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแอลดีพีอีที่ TPIPL เป็นเจ้าของนั้น ตัวแทนคณะผู้บริหารแผนฯทีพีไอ ชี้แจงว่า แนวทางการขายหุ้น TPIPL เป็นไปตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ ซึ่งแผนฯ ไม่ได้จำกัดว่าจะขายให้ใคร หากมีคุณสมบัติชัดเจนก็สามารถเจรจาขอซื้อหุ้นกับกระทรวงการคลังได้
ส่วนการเจรจาขอแลกโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแอลดีพีอีกับหุ้น TPIPL ทางคณะกรรมการเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ TPIPL บางรายได้ยื่นคำร้องคัดค้านลงวันที่ 24 มกราคม 2548 ซึ่งทนายความฝ่ายลูกหนี้เสนอขอให้เข้าสู่กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยตัวแทนเจ้าหนี้ และคณะกรรมการเจ้าหนี้ TPIPL และตัวแทนผู้บริหารแผนฯทีพีไอ จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือว่าเจ้าหนี้จะยินยอมให้มีการมีการไกล่เกลี่ยหรือไม่ ดังนั้น ศาลฯจึงเลื่อนการพิจารณาคดี และกำหนดนัดพร้อมในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ศกนี้ เพื่อรอการตัดสินใจจากเจ้าหนี้และคณะกรรมการเจ้าหนี้TPIPL ว่าจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่
ทั้งนี้ การเวทีศาลล้มละลายในการไกล่เกลี่ยนั้น เคยประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา TPIPL ในช่วงที่มีความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการเจ้าหนี้กับผู้บริหารแผนฯ TPIPL อย่างรุนแรง จนสุดท้าย TPIPL สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนสำเร็จและนำเงินมาใช้ซื้อลดหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูฯได้
นอกจากนี้ ศาลล้มละลายกลาง ได้นัดสืบพยานคดีที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารลูกหนี้ ได้ยื่นคำร้องให้ตัวแทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯทีพีไอ คืนเงินลูกหนี้ที่ผู้บริหารแผนฯได้มีการจ่ายเกินกว่าที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯ โดยทนายฝ่ายลูกหนี้ได้ซักถามพยานปากแรก ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายบัญชีและการเงินของทีพีไอ เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของผู้บริหารแผนฯ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2546-31 ธันวาคม 2547 คิดเป็นเงิน 651 ล้านบาท โดยมีการจ่ายเงินให้บริษัท ซินเนอจีโซลูชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่คณะบริหารแผนฯว่าจ้างมาทำหน้าที่บริหารงานในทีพีไอเฉลี่ยเดือนละ 20 ล้านบาท
และในวันนี้ (26 ม.ค.) ศาลฯได้นัดสืบพยานที่เหลืออีก 2 ปาก คือ ตัวแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และตัวแทนกรมสรรพากร พร้อมทั้ง จะมีการพิจารณาคดีที่นายประชัย ผู้บริหารลูกหนี้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้บริหารลูกหนี้หรือนิติบุคคลที่ผู้บริหารลูกหนี้จัดหามาเป็นผู้มีสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในส่วนทุนใหม่และส่วนทุนเดิมของทีพีไอทั้งหมดก่อนผู้ร่วมทุนรายอื่น
เจ้าหนี้ค้านนำรง.แลกหุ้น TPIPL
นายลือศักดิ์ กังวาลสกุล ทนายความบริษัท คลิฟฟอร์ด ชานซ์ (ประเทศไทย ) จำกัด ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายของคณะกรรมการเจ้าหนี้ TPIPL กล่าวว่า เหตุผลที่คณะกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ TPIPL ยื่นคัดค้านการนำโรงงานแอลดีพีอีแลกกับหุ้น TPIPL ที่ทีพีไอถืออยู่ เนื่องจากโรงงานดังกล่าวเป็นทรัพย์สินจิดจำนองกับเจ้าหนี้ และจะต้องนำมาจดจำนองให้กับเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอีก ซึ่งการเสนอแลกหุ้นนี้จะมีผลกระทบส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าหนี้
นอกจากนี้ แผนฟื้นฟูกิจการฯ TPIPL ฉบับแก้ไข ระบุห้ามไม่ให้ TPIPL นำทรัพย์สินไปจำหน่าย จ่าย โอน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุนเกิน 66.66% ของมูลหนี้ ดังนั้นศาลฯจึงไม่ได้มีการตัดสินชี้ขาดแต่ให้ไปไกล่เกลี่ยแทน
" คณะกรรมการเจ้าหนี้TPIPL ยื่นคัดค้าน เนื่องจากผู้บริหารแผนฯแอบบยื่นขอสิทธิ์นำโรงงานแอลดีพีอีแลกกับหุ้นTPIPL โดยไม่ปรึกษาหารือเจ้าหนี้เลย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ คณะกรรมการเจ้านี้จะหารือกันว่าจะยอมเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ หากมีการยินยอม ก็จะต้องมีการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯอีกครั้ง" นายลือศักดิ์กล่าว
กมธ.คลอดสมุดปกขาวแผนฮุบทีพีไอ
วานนี้ (25 ม.ค.) นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการปกครองวุฒิสภา เปิดเผยกรณีตรวจสอบความโปร่งใสในการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ตั้งแต่ยุคที่บริษัท เอฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพี) เข้ามาบริหารแผน จนถึงปัจจุบันที่กระทรวงการคลังส่งตัวแทนเข้ามาบริหารแผนเอง ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า การบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอมีความผิดปกติหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องความไม่โปร่งใส และขัดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหากกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยพันธมิตร ที่ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ธนาคารออมสินและกองทุนวายุภักษ์ 1 เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ของทีพีไอจะเกิดความยุ่งยากในการดำเนินการกิจการแน่นอน เนื่องจากผู้บริหารแผนทั้งอีพีและคลังทำผิดกฎหมายหลายข้อ
ในกรณีของอีพี ที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารแผนฯ เนื่องจากเป็นนิติบุคคลต่างด้าว และมีทุนจดทะเบียนเพียง 2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของทีพีไอกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งอีพีบริหารผิดพลาด แต่ทีพีไอไม่สามารถเรียกร้องให้อีพีชำระค่าเสียหายได้ รวมถึงยังแปลงดอกเบี้ยค้างชำระของทีพีไอที่มีอยู่กับเจ้าหนี้เป็นหุ้นใหม่ในราคาที่ไม่ชอบธรรมให้กับเจ้าหนี้ร้อยละ 75 ในราคาต่ำถึง 5 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ราคาหุ้นตามมูลค่าบัญชีของทีพีไออยู่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น อีกทั้งยังลดกำลังการผลิตน้ำมันจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ในแผนฯจาก 125,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือเพียง 65,000 บาร์เรลต่อวัน
นายคำนวณ กล่าวต่อว่า ยังพบว่าในยุคที่กระทรวงการคลังส่งตัวแทนเข้ามาบริหารนั้นมีความไม่โปร่งใสและขาดหลักธรรมาภิบาลหลายอย่าง โดยเฉพาะกรณีที่ผู้บริหารแผนของกระทรวงการคลังได้สั่งจ่ายเงินย้อนหลังให้กับบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด ในวงเงินเดือนละ 20 ล้านบาท และที่สำคัญ บริษัท ซินเนอจีฯ มีผู้ถือหุ้นและกรรมการที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารแผนคนหนึ่งของคณะผู้บริหารแผนและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมาธิการฯจะประสานกับผู้ถือหุ้นเดิมของทีพีไอดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีต่อไป
ดังนั้น คณะกรรมาธิการฯจึงได้จัดทำสมุดปกขาวกว่า 5,000 เล่ม เพื่อรวบรวมความไม่ชอบมาพากลในแผนฟื้นฟูทีพีไอ และแจกจ่ายให้กับรัฐบาล หน่วยงานรัฐ ประชาชน และสื่อมวลชนให้ทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว
|
|
|
|
|