เด้ง"ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"พ้น สพช. ไปนั่งตบยุงที่สำนักนายกรัฐมนตรี
"พงศ์เทพ เทพกาญจนา"สั่งเอง ข้ามหัว"พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ " แม้จะปฏิเสธเสียงแข็งไม่
เกี่ยวเรื่องโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก
แต่วงในระบุจุดแตกหักเพราะรัฐบาลไม่พอใจผลงานแก้ ปัญหาโรงไฟฟ้าและฉุนที่เลขาธิการสพช.ชงข้อมูลไม่ตรงตามข้อเท็จจริงให้พิจารณาเผย
เคย ถูกเสนอให้ย้ายมาตั้งแต่ยุค"จาตุรนต์ ฉายแสง"
หลังเจอแฉเดินนโยบายพลังงานผิดพลาด การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้
(9 เม.ย.) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้โอน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(สพช.) ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แทนตำแหน่งของ นายภิรมย์ศักดิ์
ลาภาโรจน์กิจ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโอนย้ายไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) ตามที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล
สพช. น.พ.กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลบีโอไอ
และนายสมศักดิ์
เทพสุทิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกันเสนอ
นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า
ที่ประชุมไม่ได้หารือกันถึงเหตุผลของการ โยกย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ
10 ทั้งสองตำแหน่งนี้ เพียงให้เหตุผลว่า เป็นเพราะนายสมพงษ์ วนาภา รองเลขาธิการคณะกรรมการ
บีโอไอ
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ
บีโอไอ จึงเป็นเหตุให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการบีโอไอว่างลง ดังนั้น
เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2535 ของทั้งในส่วนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะกรรมการบีโอไอ
ทั้งสองฝ่ายจึงยอมที่จะโอนข้าราชการข้ามหน่วยงานระหว่างกัน ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ส่วนตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ สพช.นั้น ให้นายเมตตา บันเทิงสุข
รองเลขาธิการ
สพช.รักษาการแทน รายงานข่าวแจ้งว่า ในการโยกย้ายข้าราชการ ครั้งนี้ นายพิทักษ์
อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแล สพช.ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการโอนย้ายนายปิยสวัสดิ์
มานั่งที่สำนักนายกัฐมนตรี โดยบอกเพียงว่าส่วนตัวรู้สึกพอใจกับการทำงานของนายปิยสวัสดิ์
มาโดย ตลอด ส่วนเหตุผลของการโยกย้ายต้องสอบ ถามจากนายพงศ์เทพ อย่างไรก็ตาม
ในสมัยรัฐบาลนายชวน
หลีกภัย 2 นายปิยสวัสดิ์ เคยถูกย้ายจากตำแหน่ง เลขาธิการ สพช.ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ขณะที่นายภิรมย์ศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ไปนั่งตำแหน่งเลขาธิการ
สพช.แทน ก่อนที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะย้ายนายปิยสวัสดิ์ กลับมานั่งเก้าอี้เลขาธิการ
สพช.และ ย้ายนายภิรมย์ศักดิ์ มานั่งตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐบาลชุดนี้ต้องมาตัดสินใจในเรื่อง
ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ หินกรูด-บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนายปิยสวัสดิ์
เป็น คณะกรรมการพิจารณาความต้องการใช้ไฟฟ้าใน อนาคต
เสนอคณะกรรมการพิจารณความเหมาะสมในการก่อสร้างโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นเผือกร้อนของรัฐบาลนี้
จึงมีความเป็นไปได้สูงยิ่ง ที่นายปิยสวัสดิ์
ถูกย้ายไปนั่งตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อลดกระแสของกลุ่มคัดค้านโครงการฯ
เบื้องหลัง"พงศ์เทพ"ฉุนชงข้อมูลไม่ตรง แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลกล่าวว่าก่อนหน้าที่จะมีการย้ายนายปิยสวัสดิ์
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับสพช. ได้เรียกนายปิยสวัสดิ์เข้าหารือและแจ้งให้นายปิยสวัสดิ์ทราบก่อนล่วง
หน้าว่าจะย้ายมาเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลรู้สึกไม่ค่อยพอใจกับการแก้ไขปัญหาโรงไฟ้าหินกรูดและบ่อ
นอกของนายปิยสวัสดิ์มากนัก โดยเฉพาะการให้ข้อมูลกับรัฐบาลในเรื่องกำลังไฟฟ้าสำรอง
ทาง
สพช.ได้ให้ข้อมูลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้การตัดสินว่าจะสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งล่าช้าจากเดิมที่นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะตัดสินใจก่อนสงกรานต์
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสาเหตุในการ โยกย้าย ว่า เนื่องจากนายปิยสวัสดิ์
มีความอาวุโส สูงสุดในจำนวนข้าราชการระดับ 10 และได้ทำงาน ในสพช.มานาน
ในขณะที่ตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งว่างอยู่และมีความสำคัญ จึงได้รับการแต่งตั้งเข้ามา
นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลว่า ตามระบบบริหาร ปัจจุบัน และตามระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(ก.พ.) ให้มีการหมุนเวียนงาน อยู่แล้ว และเพื่อให้มีความก้าวหน้าแก่นายปิย-สวัสดิ์
ด้วย ทั้งนี้ ตำแหน่งรองปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งที่มีงานให้ทำอีกมาก
ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดองไว้
ใครๆก็อยากจะเป็น และการย้ายไม่ใช่เพราะความขัดแย้งในเรื่อง สร้างโรงไฟฟ้าอย่างแน่นอน
ส่วนงานปลัดสำนักนายกจะมอบหมายให้นายปิยสวัสดิ์ต่อไป ซึ่งหลายงานตรงกับความสามารถของนายปิยสวัสดิ์
สำหรับตำแหน่งเลขาธิการ สพช. ในช่วงแรกนี้ ยังคงให้นายปิยสวัสดิ์ อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวไป
ก่อน จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงมา หากมองย้อนกลับไปไม่นามานมานี้
กระแส
ข่าวเรื่องการโยกย้ายนายปิยสวัสดิ์ เกิดขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนบัดนี้
หลังจากนายวีระ สมความคิด ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น (คปต.)
เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการปปช.ให้ตรวจสอบนายปิยสวัสดิ์ ด้วยเหตุผลที่ว่าดำเนินนโยบายด้านพลังงานผิดพลาดก่อความเสียหายแก่ประเทศชาติ
บวกกระแสเรียกร้องจากกลุ่มชาวบ้าน
และเอ็นจีโอที่คัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด ซึ่งกดดันรัฐบาลให้ตัดสินใจโยกย้ายเลขาธิการสพช.ออกจากตำแหน่งมาโดยตลอด
ด้วยเหตุผลที่ว่า โครงการ
ดังกล่าวเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของนายปิยสวัสดิ์ ในนามของการเปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้า
และสพช.คือ ผู้เร่งรัดให้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟจากโรงไฟฟ้า บ่อนอก หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี
2540 ทั้งๆ
ที่ควรจะหยุดและทบทวนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนใหม่ แหล่งข่าวแจ้งว่า
อันที่จริงแล้ว เลขาธิการสพช. จะถูกปลดออกจากตำแหน่งตั้งแต่เดือนธันวาคม
ปีที่ผ่านมาที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเป็นผู้ดูแลนโยบายด้านพลังงานก่อนที่จะถูกโยกไปดูแลกระทรวงยุติธรรม
ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า เลขาธิการสพช. ไม่สนองนโยบายของฝ่ายการ เมือง ถึงขนาดพูดกันว่า
เลขาฯ
แข็งข้อ ถือดี เรียก ให้มาชี้แจงก็ไม่ค่อยอยากมา ส่งระดับรองๆ มาแทน ทำให้มีปัญหากับฝ่ายการเมือง
ขณะเดียว กันข้อมูลที่ทางฝ่ายการเมืองสั่งให้สพช.รายงานและแก้ต่างฝ่ายคัดค้านก็เป็นข้อมูลที่ถูกยัดใส้
และหลอก สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายการ เมืองมาโดยตลอด "พอเจอปัญหาหนักเข้าจาตุรนต์
ก็รายงานนายกรัฐมนตรี นายกฯ ก็เข้าใจ แต่ไม่อยากหักหน้าเลขาสพช.
จึงขอเวลาว่าจะตัดสินใจในช่วงเดือนเมษายนแทน ตอนแรกๆ ก็นึกว่าจาตุรนต์ ไม่มีน้ำยาแล้ว
เพราะถูกโยกไม่ให้ดูแลเรื่องพลังงานก่อนที่ปิยสวัสดิ์ จะถูกปลดเสียอีก"
แหล่งข่าวที่ติดตามสถานการณ์ด้านพลังงานมาโดย เล่าให้ฟัง ด้านนายวีระ สมความคิด
ผู้ประสานงานคปต. ที่ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ นายปิยสวัสดิ์
ให้ความเห็นว่า
การโยกย้ายเลขาธิการสพช.คราวนี้ เหตุผลส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการยื่นเรื่องของคปต.
เพราะหลักฐานข้อมูล มีน้ำหนักเพียงพอที่รัฐบาลจะรับฟังและใช้ เป็นฐานสำหรับนำไปหาข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติม
"ผมคิดว่านี่เป็นการปลดชนวนเพื่อการตัดสินใจเพื่อคนส่วนใหญ่
ถ้าครม.มีมติดังนั้นก็แสดงว่าการตัดสินใจของรัฐบาลในโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูดจะเป็นไปในแนวทางที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบ"
นายวีระ กล่าว วงในแฉเปิดทางใช้ก๊าซ
แหล่งข่าวจากวงการพลังงานกล่าวว่า การโอนย้ายนายปิยสวัสดิ์ครั้งนี้เป็นที่ทราบดีว่าเป็นเพราะนายปิยสวัสดิ์ไปขัดขวางนโยบายการใช้ก๊าซ
ธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าของนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันทน์
โดยได้เถียงกันอย่างรุนแรงใน ช่วงที่ผ่านมาโดยปิยสวัสดิ์ให้เหตุผลว่าการใช้ก๊าซ
เวลานี้มีถึง 70% แล้วหากไทยไม่ต้องการความเสี่ยงจะต้องหาเชื้อเพลิงอื่นมาถ่วงดุล
นอกจากนี้นายปิยสวัสดิ์ยังขวางนโยบายการใช้เงินกองทุนอนุรักษ์พลังงานที่มีอยู่ถึง
10,000
ล้านบาทมาใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับนายพิทักษ์เองมากกว่าการอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง
และล่าสุดนายพิทักษ์ยังเตรียมที่จะดึงงบโฆษณาของสพช. ให้กับพวกพร้องอีก 80
ล้านบาท
ปิยสวัสดิ์ยันไม่มีปัญหารับตำแหน่งใหม่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวถึงกรณีย้ายนายปิยสวัสดิ์ว่า
จะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาต่อ
ไปแต่นายปิยสวัสดิ์จะยังคงรักษาการเลขาฯ สพช.ระหว่างนี้ไปก่อนจนกว่าจะหาผู้เหมาะสมได้และเรื่องนี้คงเป็นหน้าที่ของนายพงษ์เทพที่จะเข้าไปดูแล
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สพช.) กล่าวว่า การโยกย้ายตำแหน่งไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าพร้อมที่จะทำงานตามที่รัฐบาลมอบหมาย
และไม่ว่าจะทำงานอยู่ในตำแหน่งใดก็สามารถรับใช้ประเทศชาติได้ โดยการทำงานที่ผ่านมากว่า
15 ปี ในเรื่องนโยบายพลังงาน ก็ได้พยายามทำงานอย่างดีที่สุด โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่าย
ทั้งประเทศชาติโดยรวม ประชาชนทั่วไป นักลงทุน ทั้งนี้ ยอมรับว่าการผลักดันนโยบายบางอย่างอาจจะมีบางกลุ่มเสียผลประโยชน์ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่ทำให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ได้
นโยบายพลังงานที่ผ่านมาต้องคำนึงถึงการจัดหาพลังงานให้พอเพียง และมีความมั่นคง
รวมทั้งมี ราคาเหมาะสมและเป็นธรรม เพราะหากพลังงานขาดแคลนจะมีผลกระทบต่อประเทศชาติ
และประชาชนทั่วไป
รวมทั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย และมองในอนาคตว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัว
และปัจจุบันก็เริ่ม มีสัญญาณที่ดีแล้ว
จากปริมาณการใช้น้ำมันและการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นดังนั้นความมั่นคงทางด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานจะต้องคำนึงถึง
สำหรับเรื่องโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูดนั้น
รัฐบาลได้รับทราบข้อมูลจากทุกฝ่ายอย่างรอบ ด้านแล้ว ทั้งนักวิชาการที่เป็นกลางจากสถาบันต่างๆ
ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ คิดว่ารัฐบาลคงจะหาทางออกที่เป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศอย่างสูงสุด
แหล่งข่าวจากข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) กล่าวว่า
รู้สึกตกใจและเสียใจที่นายปิยสวัสดิ์ จะถูกย้ายไปไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และคิดว่าการโยกย้ายครั้งนี้เป็นการย้ายด้วยเหตุผลทางการเมือง เพราะที่ผ่านมานายปิยสวัสดิ์
ก็เป็นคนที่ทำงานอย่างมุ่งมั่นและซื่อสัตย์สุจริต และไม่ใช่คนของนักการเมืองพรรคใดทั้งสิ้น
รัฐบาลยังไม่ตัดสินสร้างโรงไฟฟ้า สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาตัดสินโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด
ขณะนี้ ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีหรือกลุ่มนายพลแห่งบ้านพิษณุโลก
ได้ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขต บางมด ศึกษาเรื่องพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
เนื่องจากผลการศึกษาของแต่ละหน่วยงานที่รัฐบาลให้ศึกษามาก่อนหน้านี้ไม่ตรงกัน
และต่างอ้างอิงข้อมูลจากต่างประเทศเป็นหลัก การศึกษาครั้งนี้ ทีมที่ปรึกษากำหนดเวลาเสร็จสิ้นไม่เกินวันที่
15 เมษายนนี้
"เวลานี้ ฟังว่าฝ่ายคัดค้านโครงการเป็นห่วง เรื่องข้อมูลชิ้นสุดท้ายนี้เพราะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล
และอธิการฯ บางมดที่เข้ามาศึกษาเรื่องนี้
ที่ผ่านมามีความคิดไปในแนวทางเดียวกันกับคุณธัญญา ศีลธร วิศวกรอาวุโสของยูเนี่ยนฯ
หุ้นส่วนโรงไฟฟ้าหินกรูด" แหล่งข่าวจากทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก เล่าให้ฟัง
ขณะที่นายพงษ์เทพ กล่าวว่า
ในการพิจารณาก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก และหินกรูด ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจ
ยังไม่มีการชี้ขาดใดๆ ออกไป ส่วนการยกเลิกโครงการที่มีสัญญากับบริษัทเอกชน
จะต้องพิจารณารายละเอียดก่อนว่ารัฐบาลจะต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ หรือไม่ เพราะโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่ง
ผ่านขั้นตอนของการเซ็นสัญญาไปแล้ว ทั้งนี้ การตัดสินใจจะยกเลิกสัญญาหรือไม่
จะไม่พิจารณาจากเรื่องค่าเสียหาย เพียงเรื่องเดียว แต่ต้องพิจารณาจากเรื่องของสภาพแวดล้อม
และประเด็นต่างๆที่นำมากล่าว อ้างกันด้วย