Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 เมษายน 2545
ทีเอมุดดินวางเคเบิลใยแก้วใช้ช่องว่างสัญญาหาประโยชน์             
 


   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.




สุดยอดชั้นเชิงทีเอ อาศัยสิทธิ ทศท.เจาะท่อร้อยเคเบิลใต้ดินไม่ต้องมอบทรัพย์สิน หวังใช้เป็นยุทธศาสตร์กระหน่ำ หลังเปิดเสรีด้วยการรู้เห็นเป็นใจของคนทศท. เอง จับตา 2 โครงการ ส่งกลิ่นขยาย เน็ตเวิร์ก 1900

กับไอพีเน็ตเวิร์กที่ หญิงเหล็กไฮเทคจับมือกรรมการบอร์ดเตรียมล็อก สเปกอ้างจ่ายเงิน แล้ว 20 ล้านและพร้อมจ่ายอีกหลักร้อยล้านบาท แหล่งข่าวในองค์การโทร-ศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.)

กล่าวว่าในช่วงช่องว่างรอยต่อระหว่างยังไม่มีคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกทช. และการที่ทศท.ยังมีอำนาจและหน้า ที่ในฐานะผู้ให้บริการ มี 1 เรื่องกับ 2

โครงการที่ส่อให้เห็นความพยายามช่วงชิงผลประโยชน์ของกลุ่มทุนสื่อสารและบริษัทเอกชน เริ่มจากบริษัท เทเลคอมเอ-เซีย คอร์ปอเรชั่นหรือทีเอ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย ในกรุงเทพฯ

ภายหลังการส่งมอบทรัพย์สินให้ทศท.ตั้งแต่ปลายปี 2539 ตามสัญญาทีเอไม่มีสิทธิก่อสร้างโครงข่ายที่จะทำให้เลขหมายเพิ่มมากขึ้นได้ แต่ปรากฏว่าทีเอ ได้ดำเนินการเจาะท่อใต้ดินเพื่อ

วางเคเบิลในหลายๆพื้นที่ในกรุงเทพฯ โดยอาศัยสิทธิของทศท. เนื่องจากบริษัทเอกชนไม่มีสิทธิเจาะท่อใต้ดินเพื่อวางสายเคเบิล แต่ วิธีที่ทีเอทำคือให้แต่ละเขตของทศท.อนุมัติให้ทีเอวางท่อใต้ดินได้

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือทรัพย์สินหรือสายเคเบิลใต้ดิน ไม่ได้ถูกมอบให้เป็นทรัพย์สินของทศท.ในขณะที่ทีเออาศัยสิทธิของทศท.ในการวางท่อใต้ดิน

ในเชิงธุรกิจท่อร้อยสายที่วางใต้ดินถึงแม้ราคาของเคเบิลใต้ดินจะแพงกว่าการพาดสายประมาณ 50% แต่ในระยะยาวจะประหยัดและคุ้มค่ากว่ามาก เนื่องจากการบำรุงรักษาต่ำมาก

รวมทั้งแนวท่อใต้ดินที่อาศัยการเจาะตามแนวบาทวิถี เท่ากับทีเอยึดเส้นทางหลักในการนำเคเบิลลงดินไว้แล้ว หากทศท.จะต้องเจาะใต้ดินบ้างจะทำได้ลำบากมากขึ้น

รวมทั้งในอนาคตตามแผนงานของกทม.จะต้องเอาสายเคเบิลที่พาดรกรุงรังลงใต้ดินให้หมด "งานนี้ทีเอได้ 2 เด้งใช้สิทธิทศท.เจาะใต้ดินและไม่ต้องโอนทรัพย์สินให้ทศท.รวมทั้งยึดแนวที่ดีไว้ก่อน

เมื่อเปิดเสรีทีเอจะได้ประโยชน์จากตรงนี้มากในแง่การบำรุงรักษาและประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล ในขณะที่ทศท.เท่ากับติดอาวุธให้คู่แข่งในอนาคต" แหล่งข่าวกล่าว

นอกจากเรื่องทีเอฉกฉวยโอกาสเอาเคเบิลลงดินแล้ว ตอนนี้มี 2 โครงการที่เกิดอาการพ่อค้าทะเลาะกันคือโครงการขยายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในระบบ 1900 เมกะเฮิรตซ์ที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2

หมื่นล้านบาทเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 2 ล้านเลขหมาย และโครงการไอพีเน็ตเวิร์กประมาณ 2 พันล้านบาท เพื่อนำมาทดแทน ฮาตาริ ภายหลังโดนแบล็กลิสต์จากประธานบอร์ดทศท. โครงการมือถือ 1900

เมกะเฮิรตซ์ อยู่ระหว่างการขยายเครือข่ายเพิ่มจากเดิมที่มีแค่ 500 สถานีฐาน แต่ติดตั้งเสร็จไปแค่ 30 กว่าแห่งเท่านั้น เป้าหมายใหญ่ของพ่อค้าคือส่วนขยายทั้งโครงการที่จะเพิ่มสถานีฐานอีก 1,800 แห่งรวมเป็น

2,300 แห่งทั่วประเทศ กระบวนการวิ่งเต้น แอบอ้าง จึงเริ่มขึ้นอย่างเข้มข้น นาย Sonny Souvannavong CTO/COO บริษัท Symbol Network Telecom บริษัทจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งอี-

เมลต่อว่าต่อขาน อัลคาเทล ประเทศไทยอย่างหนัก กรณีไม่สนใจเข้าร่วมประชุมเจรจากับบริษัทดังกล่าว เพื่อขายระบบเครือข่ายมือถือ 1900 เมกะเฮิรตซ์ให้ทศท. ประเด็นที่น่าสนใจในอี-เมลฉบับนั้นอ้างกับ

อัลคาเทลว่าไลเซ็นต์มือถือ 1900 ถูกมอบหมายให้กลุ่มเอไอเอสซึ่งได้มอบหมายให้ Symbol เป็นซับคอนแทรกเตอร์ในการขยายงานในส่วนที่เหลือของ

ประเทศและยืนยันการเจรจาได้บรรลุข้อยุติแล้วตามข้อความดังนี้ "this GSM 1900 license was awarded to AIS groupand in turn they have offered a subcontract to symbol to build out the remaining parts of

Thailand. This Strategic agreement has been sealed and now we are proceeding with vendor selection" ในอี-เมลดังกล่าวยังอ้างมูลค่าของการจัดซื้อประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 12 ปี

พร้อมทั้งอ้างถึงความสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงของทศท. และกระทรวงคมนาคม ส่วนบริษัท Symbol นั้นอ้างว่ามีประสบการณ์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั้งโทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทรศัพท์เคลื่อนที่

การสร้างไอทีเน็ตเวิร์กต่างๆ "มีเสียงลือในวงการซัปพลายเออร์ว่าบริษัท Symbol

เป็นร่างทรงของบริษัทจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทยที่ต้องการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและมีความสัมพันธ์ เข้มข้นชนิดสายโลหิตกับภาครัฐ" โครงการไอพีเน็ตเวิร์ก มูลค่า 2

พันล้านบาท เป็นอีกโครงการที่พ่อค้าจ้องตาเป็นมัน แต่นาทีนี้เป็น คราวของแม่ค้าหญิงเหล็กในวงการโทรคมนาคม บ้าง ภายหลังนายศุภชัย พิศิษฐวานิช ประธานบอร์ดทศท.ขึ้นแบล็กลิสต์ฮาตาริที่ใช้อุปกรณ์ยี่ห้อ

ซิสโก้ในการวางไอพีเน็ตเวิร์กจำนวน 2 แสนพอร์ต แบ่งเป็นใช้งานเสียงวายเทล 1234 กับอินเทอร์เน็ต ทีโอที ออนไลน์ 1222 อย่างละครึ่ง

ปรากฏว่าหลังจากเข้าไปตรวจสอบวงจรเน็ตเวิร์กอย่างละเอียดทำเอาประธานบอร์ดทศท.ถึงกับอึ้ง เพราะมีทั้งการลักลอบเอาวงจรเถื่อนจากต่างประเทศเข้ามาผ่านโครงข่ายไอพีเน็ตเวิร์กของทศท. และประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์กต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ซึ่งแต่ละเรื่องสร้างความเสียหายให้ทศท. ทั้งสิ้น จนทำให้ประธานบอร์ดหมดความอดทน แต่จำต้องกล้ำกลืนเอาไว้ วางแผนที่จะประมูลไอพีเน็ตเวิร์กใหม่ ไม่เดินซ้ำรอยเดิมที่เอาคนขายพัดลม มาทำงานไฮเทค

แต่จะใช้คนที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถมาเขียนทีโออาร์ให้โปร่งใส แล้วให้ประมูลแข่งกันเพื่อประโยชน์สูงสุด ก่อนที่จะยกเลิกฮาตาริ เพราะสัญญาเปิดช่องไว้ว่าทศท.พร้อม ยกเลิกสัญญาได้ทุกเมื่อ

แค่นั้นก็ได้เรื่อง เมื่อเสือร้ายเริ่มโชยกลิ่นเลือด ก็กระโจนใส่ หญิงเหล็กในวงการโทรคมนาคมที่ชื่อเสียงไม่ค่อยดีในเรื่องงานประมูลในทำนองเป็นแค่นายหน้าพอประมูลได้

ก็ขายงานแม้กระทั่งในปปช.ก็มีเรื่องการเปลี่ยนยี่ห้อโทรศัพท์สาธารณะที่ต้องส่งมอบให้ทศท.คาราคาซังอยู่ ไม่นับงานประมูล โทรศัพท์สาธารณะที่ได้คนเดียว 4-5 หมื่นเครื่อง ก็ขายให้บริษัทจีนเรียบวุธ

แหล่งข่าวในทศท.กล่าวว่า พอได้กลิ่นโครงการไอพีเน็ตเวิร์ก หญิงเหล็กจากบริษัทไฮเทค ก็เริ่มเดินแผนที่ถนัดต่อท่อสานสัมพันธ์กับกรรมการ บอร์ดทศท.คนหนึ่งเพื่ออาศัยฤทธิ์ในการล็อก

สเปกกีดกันใส่ไฟพ่อค้าด้วยกันให้หลุดวงโคจร หรือทำแม้กระทั่งฟ้องเรื่องแย่งกันเป็นตัวแทนสินค้าจากสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่บริษัทดังกล่าวใครมาซื้อของก็ขายให้ทั้งนั้น

"มีการกล่าวอ้างว่าได้งานนี้ไปแล้วเพราะจ่ายเงินไปแล้ว 20 ล้านบาท แถมยังเอ่ยปากกับกรรมการบอร์ดคนนั้นว่าพร้อมจ่ายอีกหลักร้อยล้านบาท หากช่วยให้ได้โครงการไอพีเน็ตเวิร์ก ซึ่งทั้งการประมูลโครงข่าย

1900 กับ ไอพีเน็ตเวิร์ก สหภาพฯ ทศท.กำลังติดตามดูว่ามีการดำเนินการที่โปร่งใสหรือไม่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us