Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 มกราคม 2548
"หัวเหว่ย"คว้าซีดีเอ็มเอ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
CDMA
หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย)
หัวเหว่ย เทค อินเวสเมนท์




หัวเหว่ยคว้าซีดีเอ็มเอตามคาดด้วยราคาสุดต่ำ 7.199 พันล้านบาท หรือต่ำกว่างบประมาณ 46.4% สมใจนายกฯ ที่เตรียมนำวิธี e-Auction มาใช้กับโครงการขนาดใหญ่อย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ด้านกลุ่มสามารถถอนฟ้องศาลปกครองหลังเห็นราคาหัวเหว่ย

เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.) บริษัท กสท โทรคมนาคม ได้มีการประมูลโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอ ภูมิภาค 51 จังหวัด งบประมาณ 1.34 หมื่นล้านบาท ด้วยระบบประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) โดยมีบริษัทเข้าร่วมประมูล 3 ราย คือ 1. บริษัท โมโตโรล่า (ประเทศไทย) 2. คอนซอร์เตี้ยมบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) บริษัท อีริคสัน ไทยเน็ทเวอร์ค และบริษัท อีริคสัน ผลิตกรรม (ประเทศไทย) และ 3. คอนซอร์เตี้ยมหัวเหว่ย ประกอบด้วย บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) และบริษัท หัวเหว่ย เทค อินเวสเมนท์

การประมูลครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์เป็นจำนวนมากโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี พล.ท.อนุสรณ์ เทพธาดา ประธานบอร์ด กสท นายวิทิต สัจจพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ตัวแทนจากบริษัทเอกชนจำนวนมาก

ในช่วงแรกที่เริ่มการประมูลโมโตโรล่าเป็นผู้เสนอราคาก่อนที่ 1.33 หมื่นล้านบาท ก่อนที่จะเสนอราคาอยู่หลายครั้งเพื่อพยายามตามคู่แข่งให้ทัน จนได้ราคาต่ำสุดที่ 9.788 พันล้านบาท ส่วนบริษัท อีริคสัน เสนอราคาแรก 1.27 หมื่นล้านบาท และเสนอต่ออีก 2 ครั้ง จนได้ราคาสุดท้ายที่ 7.89 พันล้านบาท และบริษัท หัวเหว่ย ได้เสนอราคาแรกที่ 1.15 หมื่นล้านบาท และปรับลดลงในช่วงประมาณ 10 วินาทีสุดท้าย ที่ 7.19 พันล้านบาท ซึ่งต่ำกว่างบกลาง ประมาณ 46.4% จึงเป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดและชนะการประมูลในครั้งนี้ไป โดยรวมการประมูลครั้งนี้มีการเสนอราคาเพื่อแข่งขันกันทั้งหมดมากกว่า 30 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมง

พล.ท.อนุสรณ์ เทพธาดา ประธานคณะกรรมการ กสท กล่าวว่า บริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดคือหัวเหว่ยที่ 7,199,998,000 บาท ซึ่งเป็นราคา ที่ต่ำกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 1.34 หมื่นล้านบาท ถึง 6,203,002,000 บาท คิดเป็น 46.4% จากเดิมที่ตั้งเป้า ประหยัดงบประมาณรัฐ 20% ผู้เสนอราคาลำดับที่ 2 คืออีริคสัน เสนอราคาสุดท้ายที่ 7,898,989,898 บาท และลำดับที่ 3 คือบริษัทโมโตโรล่า (ประเทศไทย) เสนอราคาสุดท้ายที่ 9,788,899,800 บาทตามลำดับซึ่งจะมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ม.ค.

กรณี 2 บริษัทเอกชน คือกลุ่มคอนซอร์เตี้ยม ZSZ (ประกอบด้วย บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น บริษัท ZTE CORPORATION และบริษัท แซดทีอี ไทยแลนด์) และกลุ่มคอนซอร์เตี้ยมจัสมิน อคิวเมนท์ และอิตัลไทย ที่ฟ้องศาลปกครองนั้นเชื่อว่ากรรมการ ก็มีข้อมูลชี้แจงต่อศาลปกครองได้ และในขณะนี้ก็ทราบแล้วว่าทางกลุ่ม ZSZ ได้มีการถอนฟ้องแล้ว ซึ่งก็ส่งผลดีที่เกิดความเข้าใจและยังไม่ส่งผลต่อการขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์ในการร่วมการงานในครั้งต่อไป

ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ราคาที่ได้ในครั้งนี้เป็นราคาที่ต่ำมาก หากเปรียบเทียบกับงบกลางที่ตั้งไว้ 1.3 หมื่นล้านบาท เพราะได้ส่วนลดถึง 6 พันกว่าล้านบาท เฉลี่ยต้นทุนต่อเลขหมายประมาณ 3 พันบาท จากทั้งหมด 2.3 ล้านเลขหมาย ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี และเห็นว่าการประมูลในครั้งนี้ได้ราคาถูกกว่าการดำเนินการของรัฐบาลชุดก่อนที่ตั้งราคากลางไว้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แม้จะมีการประมูลแล้วก็ยังได้ราคาสูงมาก

รัฐบาลชุดก่อนที่เสนอราคาสูงนั้นอาจจะมี 2 ประเด็น คือ 1. เดิมราคาเทคโนโลยีสูง และ 2. มีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น โดยเห็นว่าการประมูลในครั้งนี้คงจะไม่มีการล้มแน่นอน แม้จะมีการฟ้องศาลปกครองถึงความไม่เป็นธรรมในการพิจารณาผู้เข้าร่วมประมูลก็ตาม เพราะบอร์ดกสทยืนยันว่าทุกอย่างได้พิจารณาอย่างถูกต้องทุกขั้นตอนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ก็เห็นว่าการประมูลในครั้งนี้โปร่งใส หน่วยงานภาครัฐจะต้องเอาไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินงานต่อไป หากจะมีการประมูลในโครงการต่างๆ อาจจะต้องพิจารณาใช้วิธีการประมูลแบบ e-Auction เพราะนอกจากจะได้ราคาถูกแล้ว ยังป้องกันการคอร์รัปชันได้ด้วย

"โครงการต่อไปที่จะให้นำวิธี e-Auction ไปใช้ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่มีมูลค่าโครงการกว่า 3 หมื่นล้านบาท"

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้ได้ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้อย่างจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการประมูลนั้นได้จบลงไปแล้ว ซึ่งโดยในส่วนตัวแล้วราคาที่ได้ถือว่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนกระบวนการ ต่อรองราคานั้น ขึ้นอยู่ทางคณะผู้บริหาร กสท จะดำเนินการ แต่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบสัญญาและสามารถให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ และสัญญาดังกล่าวจะต้องไม่ให้ฝ่ายรัฐเกิดข้อเสียเปรียบ หรือส่งผลตามมาในภายหลัง

นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มคอนซอร์เตี้ยม ZSZ ได้ถอนฟ้องเรื่องการฟ้องร้องดังกล่าวจากศาลปกครองแล้ว เพราะเห็นว่าราคาที่หัวเหว่ยเสนอเป็นราคาที่ต่ำมาก หากได้เข้าร่วมเสนอราคาก็คงไม่สามารถปรับลดราคาได้ต่ำกว่าอย่างแน่นอน ขณะเดียวกันก็เห็นว่าหากเรื่องดังกล่าว อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง ซึ่งอาจทำให้เกิดมีการล้มประมูลและต้องประมูลใหม่ ทำให้โครงการนี้ล่าช้าออกไปอีก ก็ไม่ส่งผลดีกับ กสท หรือภาพรวมของประเทศ

"ราคา 7.1 พันล้านบาทต่ำมากให้เราประมูลก็สู้ไม่ได้"

ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่มจัสมินกล่าวว่า ในวันนี้ (25 ม.ค.) กลุ่มคอนซอร์เตี้ยมจะไปถอนฟ้องจากศาลปกครองเช่นกัน เพราะเห็นว่าราคาที่หัวเหว่ยเสนอมาต่ำมากแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us