Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532
"ถ้าการบินไทยเข้าตลาดหุ้นไม่เห็นเสียหายอะไร"             
 

   
related stories

คืนการบินไทยให้ประชาชน
ข้อมูลบุคคลณรงค์ ศรีสอ้าน
กนก อภิรดี มืออาชีพคนแรกในการบินไทย

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ณรงค์ ศรีสอ้าน
Aviation
Stock Exchange




ในฐานะเป็นแบงเกอร์หากการบินไทยจะริเวอร์เรทเงินเข้ามาเพื่อมาขยายหรือซื้อเครื่องบิน เหตุผลที่เขาบอกว่าไม่สมควรต้องเข้าตลาดหุ้น เพราะมีความสามารถในการก่อหนี้ได้เองนั้น ประเด็นนี้ ผมว่ามองกันคนละจุด การจะก่อหนี้หรืออะไรก็ตาม ในเมื่อบริษัทนี้เป็นบริษัทจำกัด สัดส่วนของเงินทุนกับหนี้ต้องได้อัตราส่วนกันไม่ใช่ว่าเราไปใช้เงินกู้ๆๆ โดยที่ว่ากองทุนเล็ก ไม่ได้เพราะรัฐบาลต้องมีหน้าที่เพิ่มทุนเข้าไปเรื่อยๆ และการที่รัฐบาลเพิ่มทุนกับการที่จะมาให้สาธารณชนในตลาดเพิ่มทุน มันไม่เหมือนกับรัฐบาลเพิ่มทุน ต้องเอาเงินงบประมาณออกมา ส่วนเอกชนเพิ่มทุนคุณต้องเอาเงินจากกระเป๋า เมื่อเจ้าของเงินเขามา เขาก็จะต้องไปดู ก็อาจจะต้องไปช่วยกันใช้บริการด้วยซ้ำไปแล้วทำให้บริการมันดีขึ้น

ในอังกฤษชัดเลยตรงที่รัฐบาลกรรมกรเอาเป็นของรัฐหมดมันเสื่อมลงๆ แย่ลงๆ มันขาดทุน เขาชี้ให้เห็นเลยว่าผลผลิตมันก็ต่ำลงแข่งกับใครก็ไม่ได้เงินเฟ้อก็แยะ กรรมการก็เรียกร้องไปๆ ในที่สุดเงินที่ได้ไปก็ไม่คุ้มกับเงินที่มันเฟ้อ ก็ผลผลิตมันต่ำ คล้ายๆ กับคนกินเงินเดือนแล้วคุณอยู่ในภาครัฐ ป่านนี้คุณไม่มาทำงานแล้ว คุณกลับไปบ้านแล้ว แต่ว่าพอผลผลิตเป็นของคุณแล้วคุณมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือคุณทำงานแบบเอกชน คนๆ เดียวกันเนี่ยมันทำงานต่างกัน นี่เขาชี้ให้เห็นเลยเพราะเขาก็ให้คุณเป็นเจ้าของกิจการ จะซื้อหุ้นก็ได้ จะทำไอ้โน่นไอ้นี่ก็ได้ แล้วกิจการมันขยายออกไป ปัญหาเรื่องแรงงานมันก็จบ กิจการมันหดตัวลงไปยิ่งทำให้ยิ่งขาดทุนรัฐบาลเอาไปช่วยเท่าไหร่ ก็ที่เล็กลง จนลง ภาษีก็เพิ่มขึ้นไปๆ จนกระทั่งเขาบอกว่าบางทีมันขึ้นไปจนกระทั่งลดลงมาเหลือนิดเดียวเค้าก็อยู่ได้ อยู่ได้ดีด้วย เขาก็ทำให้ดูเลยว่าเขาเองลดยังไง เขาทำให้ดูแต่ละด้านเลย ภาษีอากรเขาเป็นยังไงความเป็นอยู่ของคนดีขึ้นไม๊ เขาทำให้ดู

ในกรณีของการบินไทยก็เช่นกัน ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังกับคมนาคมในประเด็นนี้ ผมว่าสิ่งแรกผู้บริหารในการบินไทยเองต้องเข้าใจก่อนประชาชน บ้านเราไม่มีการทำความเข้าใจในสิ่งนี้ก่อนผมเสียดาย เพราะถ้าเราจะพูดกันปั๊บมันก็มีความเห็นไม่เหมือนกัน เพราะบางคนไม่รู้เรื่องการเงินดีพอ คิดกันไปว่า เมื่อผมหามาได้ ผมก็ต้องกู้มาได้ ซึ่งความจริงมันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในแง่การเงิน ถ้าเป็นบริษัทจำกัดคุณจะกู้เงินได้ก็ต่อเมื่อคุณมีฐานทุนเท่าไหร่ คุณต้องเป็นกี่เท่า ทีนี้คุณจะกู้ มี 1 คุณจะกู้ได้ 3 ไม่ใช่คุณมี 1 คุณจะกู้เป็น 10 เท่า ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นแต่ละฝ่ายจะต้องมีความเข้าใจ เพราะบริษัทจะต้องมีความเจริญเติบโตและต้องโตทุกด้าน โตด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ หัวโต ท้องโต ขาโต ไม่ได้ มันต้องโตทั้งตัว

ธุรกิจการบิน จริงอยู่ในบางส่วน มันเป็นเรื่องเทคนิคที่รู้กันเฉพาะกลุ่ม เช่น พวกนักบิน ช่างเครื่อง แต่เรื่องการเข้าหรือไม่เข้าตลาดหุ้น มันเป็นประเด็นด้านการบริหาร ที่ผมว่า กรรมการทุกคนในการบินไทย หรือผู้ใหญ่ในกระทรวงคมนาคม ย่อมเข้าใจได้

ธุรกิจการบินเวลานี้ อยู่ในเวทีการแข่งขันกันสูงมาก เราจะแข่งขันสู้คนอื่นได้แค่ไหน มองจากสายตานักบริหาร ย่อมเข้าใจได้ว่า ต้องดูปัจจัยอะไรบ้าง ตรงนี้แหละต้องมาดูที่กระเป๋าเราว่ามีแค่ไหน? ในการแข่งขันต่อสู้กับคู่แข่ง เส้นวัดของเรามันอยู่ที่ผลประโยชน์ในการหามาได้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราเป็นผู้บริหารต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองผู้ลงทุนได้ดี ถ้าตอบสนองดีแล้ว ผู้ลงทุนเขาก็จะเอาเงินมาลงทุนกับบริษัทเพิ่มขึ้น โครงการต่างๆ ก็ขยับขยายได้ใหญ่ขึ้น

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เราจะขยายงานจากกำไรอย่างเดียว หรือจะขยายงานจากเงินกู้อย่างเดียวไม่ได้ มันจะโตไม่ทัน มันต้องขยายไปพร้อมกันหมด

ถ้าการบินไทยเข้าตลาดหุ้น ข้อดีอันหนึ่ง มันจะอุดช่องโหว่ตรงที่ว่านี้ได้ ฐานทุนของบริษัทจะแข็งแรงขึ้น ยิ่งถ้าหากการบินไทยบริหารงานได้ดี ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนคุ้ม ราคาหุ้นการบินไทยในตลาด มันจะเป็นตัวสะท้อนถึงผลการดำเนินงานได้ดีตัวหนึ่งทีเดียว เวลาบริษัทต้องการเสริมทุนอีก ราคาในตลาดมันจะเป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายนี้ ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดจากหุ้นกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ผู้บริหารเก่ง ราคาหุ้นปูนจึงดี มันเป็นเหตุและผลที่ยอมรับและเข้าใจกันได้

ทำไมแบงก์หนึ่งเครดิตดีกว่าอีกแบงก์หนึ่ง ราคาหุ้นมันไม่เหมือนกัน ทำไมแบงก์หนึ่งมันไม่ใหญ่โต แต่อีกแบงก์หนึ่งระดมเงินทุนมาได้เยอะแยะ แล้วบางคนแบงก์เล็กไม่ใช่ไม่ดี บางคนทำได้ดีกว่าเขาก็ขยายได้เร็ว คุณภาพก็ดีกว่า หลักมันไม่ผิดกันเท่าไหร่แต่มันมีตัวเร่งให้คนทำ มันเป็นเรื่องสำคัญ ก็ได้บอกรัฐวิสาหกิจไปหลายแห่ง ผมเคยเชิญเขาไปบรรยายก็บอกว่า สิ่งสำคัญในบ้านเราคือการทำความเข้าใจและหาตัวเร่งให้คนอยากจะทำ เมื่อทำแล้วก็ให้ผลตอบแทนคุ้ม ทำไมนักบริหารไทยทุกวันนี้มีผลตอบแทนสูง เพราะนักบริหารเมืองไทยสามารถบริหารได้เท่ากับนักบริหารที่อื่น ยิ่งเอกชนมันต้องมาจากผลกำไร ถ้ากิจการแย่ก็ถูกเล่นงานตาย การเข้าตลาดหุ้นมันจึงมีผลดีมากๆ ตรงนี้แหละ ในความเห็นผม!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us