Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2532
ตัวอย่างเล็กๆสำหรับ "กัปตันโยธิน" ระบบการซื้อแบบครบ "วงศาคณาญาติ"             
 

   
related stories

การบินไทยของใครกันแน่?!
ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ บุรุษผู้ลืมไปว่า "การบินไทย" ไม่ใช่ของ "ตี๋ใหญ่" คนเดียว

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
โยธิน ภมรมนตรี
Aviation




ในลาดจอด มีอุปกรณ์อยู่อย่างหนึ่งเรียกชื่อเต็มๆ ว่า CONTAINER/PALLET LOADER อุปกรณ์นี้ใช้เป็นตัวยกและส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเครื่องสู่พื้น

เรื่องของมันอยู่ที่ว่าอุปกรณ์ LOADER นี้มีอยู่แล้ว 26 ตัวเมื่อต้นปี 2531 มีการสั่งซื้ออีก 12 ตัว เป็นรุ่น COMMANDER ซึ่ง 12 ตัวหลังนี่แหละที่มีปัญหา

ก็เพราะการสั่งซื้อแบบ SPECIAL REQUEST คือไปแก้แบบของเขาถอด REAR PLATFORM ออกโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดต้นทุน ซึ่งก็เป็นเจตนาที่ดี เพราะอ้างว่าลดต้นทุนไปได้ประมาณคันละ 1 ล้านบาท

แต่เจตนาดีอันนี้ทำให้มีเรื่องยุ่งเหยิงเอาการ เพราะการที่ไปถอด REAR PLATFORM ทำให้อุปกรณ์รุ่น COMMANDER นี้สามารถเข้าเทียบเครื่องบินเพื่อขนถ่ายสินค้าได้เพียงด้านหน้าด้านเดียว ขณะที่เครื่องรุ่นเก่าคือรุ่น JC/PL - 2 และ SHINKO เข้าได้ทั้งสามทาง คือ ด้านหน้า ด้านซ้าย และด้านขวา

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ COMMANDER ตัวนี้มีอาการยึกยัก เข้าๆ ออกๆ เครื่องกว่าจะตั้งลำขนถ่ายสินค้าได้ก็ช้ากว่าเครื่องรุ่นเก่าเป็นพัลวัน

สิ่งที่ตามมาคือ เจ้า COMMANDER มีอาการปวดท้องปวดหัวเป็นประจำ คือเสียบ่อยมากๆ แถมเมื่อตอนที่รับมอบมาใช้ได้ไม่ทันไร ฝรั่งจาก FMC CORPORATION ที่เป็นคนขายต้องรีบมา MODIFIED เครื่องแบบฉุกเฉิน แม้แต่ตอนี้ที่มีการรับรองว่ามีการซ่อมแซมแล้วเจ้า COMMANDER ก็ยังไม่มีอาการดีขึ้นสักเท่าไร รายการการซ่อมแซมยังยาวเหยียดเป็นประจำเหมือนเดิม

ที่ร้ายที่สุดคือ ชอบไปตายคาเครื่องขณะกำลังปฏิบัติงาน

ทุกวันนี้มีสองสายการบินที่ห้ามเจ้า COMMANDER เข้าไปขนถ่ายสินค้าจากเครื่องของตน เพราะการขนถ่ายมีปัญหาล่าช้ามาก พอล่าช้านั่นก็หมายถึงการดีเลย์ของเครื่องนั่นเอง สองสายการบินนั้นคือ แจแปนแอร์ไลน์ และแควนตัส

ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นอุตส่าห์หาเครื่องมือใหม่ๆ ตั้ง 12 ตัว ตัวละ 4 ล้านบาทมาใช้ แต่ปรากฏว่าใช้ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ความ แถมขายขี้หน้าแอร์ไลน์อื่นเสียอีก

แหล่งข่าวกล่าวว่า การจัดซื้ออุปกรณ์ของฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นก็เป็นแบบนี้แหละ ซื้อมาแล้วใช้ได้แบบกะพร่องกะแพร่ง เพราะระบบการจัดซื้อที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ คือคนกำหนดสเป็กเป็นน้องแฟน แฟนเป็นคนตั้งงบ คนมีอำนาจเห็นชอบก็เลยเป็นปลื้ม ส่วนเรื่องการตรวจสอบ ตรวจรับแบบนี้เป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะฝ่าย มันก็เป็นเรื่อง "ทางใครทางมัน" แถมในฝ่ายก็เต็มไปด้วยวงศาคณาญาติ เพราะความที่อยู่กันมานานมากๆ

กัปตันโยธิน ภมรมนตรีเพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้น แต่ดูเหมือนว่ากัปตันหนุ่มใหญ่ รูปหล่อ ร่างสมาร์ท ผมสีดอกเลา จะยังค่อนข้างหลงไหลได้ปลื้มไปกับเครื่องบินราคาเป็นพันล้าน เทสท์เซลล์ 500 ล้านเสียมากกว่า เรื่องอื่นๆ กัปตันโยธินก็เลยมองเป็น "เรื่องขี้หมา"

ไม่รู้ว่า "เรื่องขี้หมา" แบบนี้กัปตันโยธินจะสนใจไหมครับ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us