Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 มกราคม 2548
วิบากกรรม"เสี่ยตั้ว"เพิ่งเริ่ม             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
Banking




20 ม.ค. 48 เป็นวันที่ต้องบันทึกคดีประวัติศาสตร์ในแวดวงสถาบันการเงินไทย เมื่อ "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ (บีบีซี) ผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์บีบีซี ถูกศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก 30 ปี และปรับ 3,270 ล้านบาท เป็นโทษเฉพาะ 3 คดี ใน 4 คดี ที่ศาลพิพากษา ส่วนอีก 1 คดี ศาลฯยกฟ้องเนื่องจากขาดอายุความ

ย้อนหลังกลับไปปี 2529 เกริกเกียรติ ซึ่งเป็นลูกหม้อแบงก์ชาติ เข้าไปรับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี แบงก์ที่มารดาของเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ใน 2 ปีต่อมา และราเกซ สักเสนา ซึ่งสนิทสนมกับนายเกริกเกียรติ (โดยการแนะนำของ "เอกชัย อธิคมนันทะ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 ในผู้ต้องหาคดียักยอกทรัพย์บีบีซี) ก็เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในปี 2534 ด้วยความเป็นคนหนุ่มและคนรุ่นใหม่ของนายเกริกเกียรติ ที่ว่ากันว่าเชี่ยวชาญธุรกรรมทางการเงินสมัยใหม่ในยุคนั้น จับคู่กับพ่อมดทางการเงินอย่างนายราเกซ ทำให้การบริหารงานของทั้งคู่ยากที่คนภายนอกจะตามทัน ยกเว้นผู้บริหารแบงก์ชาติ

ปี 2538 ตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปูดออกมาอย่างน่าตกใจคือเพิ่มจาก 1.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2536 เป็น 7.8 หมื่นล้านบาทในปี 2538 แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่สร้างปัญหาให้บีบีซี เพราะเชื้อไฟสำคัญที่มิอาจมองข้ามคือ "การเมือง"

อดีตพนักงานของบีบีซีซึ่งใกล้ชิดกับเกริกเกียรติ บอกว่าบีบีซีจะไม่ล่มสลายหากเกริกเกียรติไม่ดึงนักการเมืองเข้ามาลึกเกิน เขาเชื่อว่านักการเมืองดึงบีบีซีเข้าไปเพื่อแย่งชิงอำนาจกันโดยคาดไม่ถึงว่าจะเป็นต้นเหตุนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจในปี 2540

"ตอนนั้นฐานะของบีบีซีดีกว่าหลายแบงก์ที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน แต่คุณตั้ว (ชื่อเล่นเกริกเกียรติ) ใจร้อน รีบคบนักการเมืองที่บางคนยังเป็นใหญ่เป็นโตในตอนนี้ หรือกลุ่ม 16 เป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงแล้วทุกพรรคเข้ามารุมทึ้ง ยิ่งพอคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ) นำปัญหาไปอภิปรายในสภา ยิ่งทำให้ปัญหาบานปลาย คนแห่ถอนเงินเพราะไม่เชื่อมั่น ในที่สุดแบงก์ชาติต้องเข้ามาแก้ปัญหาแต่กลับหลงทางทำให้บีบีซีต้องปิดตัวลงเป็นแบงก์แรกของประเทศ"

ขณะที่ตามรายงานของแบงก์ชาติพบว่ามีการปล่อยกู้อย่างลับๆ ให้ผู้บริหาร 2 รายใหญ่ของบีบีซีเองคือนายเกริกเกียรติประมาณ 3.6 หมื่นล้าน และนายราเกซ 1.8 หมื่นล้าน เป็นการตั้งบริษัทผีเป็นหลายสิบแห่งเพื่อขอสินเชื่อ ทำให้เอ็นพีแอลของธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติต้องสั่งเพิ่มทุนพร้อมให้กองทุนฟื้นฟูร่วมเพิ่มทุน 4 ครั้ง เป็นจำนวนเงินรวม 3.9 หมื่นล้าน โดยไม่มีการลดทุนก่อน แต่ในที่สุดมิอาจหยุดยั้งปัญหาที่ยากเกินเยียวยานำไป สู่การเข้ายึดและล่มสลายในปี 2539 และกระทบเป็นลูกโซ่ต่อความเชื่อมั่นระบบสถาบันการเงิน จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540

ที่น่าสนใจคือผลการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาและเสนอมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการระบบการเงินของประเทศเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ (ศปร.3) พบว่าการเข้าไปช่วยเหลือบีบีซี ทั้งเพิ่มทุนช่วยเสริมสภาพคล่องและรับซื้อหนี้เสียของกองทุนฟื้ฟูได้ทำให้กองทุนฟื้นฟูเสียหายถึง 1.18 แสนล้าน

ด้านความคืบหน้าด้านคดีความหลังแบงก์ชาติเข้ายึดบีบีซี ก็ได้ทำการฟ้องร้องนายเกริกเกียรติและพวกมาตั้งแต่ปลายปี 2539 เป็นต้นมารวมแล้ว 27 คดี เมื่อวานนี้ (20 ม.ค.) ศาลตัดสิน 4 คดี ยกฟ้อง 1 คดี อีก 3 คดี ศาลพิพากษาจำคุกเกริกเกียรติรวม 30 ปี และปรับเป็นเงิน 3.2 พันล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศาลวานนี้ว่า เกริกเกียรติซึ่งผอมซูบซีดเนื่องจากเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมลิ้นหัวใจ เข้ารับฟังการพิพากษาอย่างกระสับกระส่ายตั้งแต่เช้า ก่อนจะเดินทางกลับหลังจากการประกันตัวออกไปในตอนเย็นวันเดียวกัน

ผลที่ศาลตัดสินออกมาบ่งบอกว่าวิบากกรรมครั้งนี้เพิ่งเริ่มต้น การยื้อกระบวนการยุติธรรมมานานเกือบ 8 ปี คงไม่จบลงง่ายๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us