Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 เมษายน 2545
ITD ฐานะการเงินแกร่ง หลังศาลรับแผนฟื้นฟู ทุนพลิกบวก 9.6             
 


   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.




อิตาเลียนไทย ฐานะการเงินแข็งแกร่ง หลังศาลล้มละลายกลางสั่งรับแผน ฟื้นฟู เหตุมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้มูลค่าเกือบ 7 พันล้านบาท โดยจะรับรู้ภายในไตรมาส 2 ปีนี้

ขณะที่ภาระหนี้สินลดลงเหลือเพียง 3 พันล้านบาท จากเดิมสูงกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท และส่วนของผู้ถือพลิกกลับเป็นบวก 9.6 พันล้านบาท พร้อมตั้งเป้ารุกประมูลโครงการ ในต่างประเทศเพิ่มสัดส่วนถึง 75%

และคาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ 200-300 ล้านบาท จากกรณีที่ศาลล้มละลายกลาง ได้มีคำสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการ ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป เม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ที่จัดทำโดยบริษัท ไอทีดี

แพลนเนอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 ที่ผ่านมา หลังจากที่ผ่านการพิจารณาจากเจ้าหนี้ด้วยคะแนนเสียง 80.45% หรือคิดเป็นมูลหนี้รวม 15,146 ล้านบาท จากจำนวนหนี้ที่เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 18,828

ล้านบาท ทั้งนี้ ก่อนที่ศาลจะอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการฉบับดังกล่าว ได้มีเจ้าหนี้ หลายรายยื่นคำร้องคัดค้าน โดยระบุว่า แผนฟื้นฟูกิจการของ ITD ไม่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าหนี้หุ้นกู้

แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทในเครือของ ITD เอง แต่หลังจากที่ศาลพิจารณาคำร้องของกลุ่มเจ้าหนี้ แล้วศาลเห็นว่า การดำเนินการขอผู้ทำแผนเป็นไปตาม ขั้นตอนของกฎหมาย

และตามแผนฟื้นฟูเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้ครบตามที่ระบุในแผน ดังนั้น จึงมีมติอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้ทำ การวิเคราะห์ฐานะการดำเนินงานของบริษัท อิตาเลียนไทย

ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ว่า หลังจากศาลอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ ITD จะทำให้บริษัทมีฐานะการดำเนินงานที่แข็งแกร่งมากขึ้น เพราะบริษัทจะเร่ง ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถกลับ เข้ามาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ และเอื้อ ประโยชน์ต่อการเข้าประมูลงานในอนาคต "อิตาเลียนไทยฯ จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนและการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการทันที

และคาดว่า จะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ภายใน 2 เดือน และคาดว่าจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ภายใน 6 เดือน" นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย

ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD กล่าวหลังจากศาลล้มละลายกลางเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการ ITD โดยขั้นตอนการดำเนินการตาม แผนฟื้นฟูกิจการนั้น ภายในสัปดาห์นี้ ITD

จะยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขออนุญาตเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 173 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อแบ่งจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิม

และการแปลง หนี้เป็นทุนให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ ประกอบกับ การที่ศาลเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการ จะส่งผลให้บริษัทมีความมั่นคงและความสามารถในการประมูลงานทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น

เพราะขณะนี้บริษัทประมูลงานได้หลายโครงการโดยเฉพาะงานที่ต่างประเทศ ซึ่งเจ้าของโครงการกำลังรอคำสั่งจากศาลล้มละลายกลางว่าจะให้บริษัทฟื้นฟูกิจการหรือไม่ หลังจากนี้ก็ดำเนินการได้ทันที

รวมถึงโครงการสุวรรณภูมิด้วย สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2545 นี้ บริษัทคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างรวมทั้งประมาณ 10,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ประมาณ 7,000 ล้านบาท

ขณะที่โครงการที่มีการเซ็นสัญญาไปแล้วรวมกว่า 54,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้รวมเข้ามาในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 200-300 ล้านบาท

ส่วนโครงการใหม่ภายในปีนี้ ประกอบด้วยโครงการน้ำเทิน 2 ในประเทศลาว ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมกับพันธมิตรมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โครงการก่อสร้างส่วนต่อเนื่องสนามบินสุวรรณภูมิ

มูลค่าโครงการประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำลังจะเปิดให้มีการประมูล บริษัทคาดว่าจะสามารถประมูลงานได้ในบางส่วน รวมทั้งงานก่อสร้างของภาค ราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

ขณะนี้เดียวบริษัทได้ปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยภายใน 2 ปีนี้ ITD มีแผนที่จะขยายงานรับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศ ที่ขณะนี้กำลังดำเนิน การอยู่ประมาณ 7-8 ประเทศ เนื่องจากโครงการใหญ่ๆ

ในประเทศเริ่มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนโครงการก่อสร้าง ในต่างประเทศเป็น 75% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 25% ของมูลค่าโครงการทั้งหมด

สำหรับโครงการก่อสร้างในต่างประเทศหลักๆ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ในประเทศไต้หวัน มูลค่าโครงการ 20,000 ล้านบาท ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วประมาณ 30%

โครงการปรับปรุงเหมืองในประเทศอินโดนีเซีย มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท อายุโครงการ 8 ปี และคาดว่าจะสามารถประมูลเพิ่มในโครงการต่อเนื่องอีกมูลค่า 15,000 ล้านบาท อายุโครงการ 5

ปีและงานก่อสร้างในประเทศไต้หวันและฟิลิปปินส์ "บริษัทรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพราะใน ประเทศไม่มีโครงการใหม่ๆ ออกมา รวมทั้งโครงการ ในต่างประเทศมีอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า คือ

ต่างประเทศมีอัตรากำไรขั้นต้นประมาณ 10-30% ขณะที่ ในประเทศมีอัตรากำไรขั้นต้นเพียง 7-10% เท่านั้น" รวมทั้ง ITD คาดว่ายังมีโอกาสสูงที่จะได้รับงานในโครงการอื่นๆ

ของสนามบินหนองงูเห่าที่จะเปิดประมูลอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีต้นทุนที่ต่ำ และมีงานในสนามบินหนองงูเห่าอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว 3 โครงการ คือ โครงงานถมดิน งานบำบัดน้ำเสีย

และงานตอกเสาเข็มในสนาม บินหนองงูเห่า ซึ่งมีมูลค่ารวม 8,902.4 ล้านบาท ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่นักวิเคราะห์ ได้ให้ความสนใจคือ การปรับโครงสร้างหนี้ของ ITD

บริษัทจะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้รวมทั้งสิ้นประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท และทำให้ภาระหนี้สินลดลงจาก 13,295 ล้านบาท ในปี 2544 เหลือเพียง 3,000 ล้านบาท ในปีนี้

ขณะที่ภาระดอกเบี้ยจ่ายจะลดลงจากปีละ 1,225 ล้านบาท เหลือเพียง 160 ล้านบาท ทั้งนี้ผู้บริหารของ ITD เคยให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทจะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท

และคาดว่าจะสามารถบันทึกรับรู้รายได้ดังกล่าวภายในไตรมาส 2 ของปี 2545 นี้ ขณะเดียวกันส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ติดลบอยู่ประมาณ 856 ล้านบาท เป็น 9,615 ล้านบาท

จากการบันทึกกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 6,000 ล้านบาท และการส่วนเกินมูลค่าหุ้นจากการเพิ่มทุน 1,845 ล้านบาท รวมทั้งหลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ITD ยังมีแผนที่จะนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ 7,405

ล้านบาท มาล้างขาดทุนสะสมที่คาดว่าจะเหลือ 1,659 ล้านบาทให้หมดในปี 2545 ซึ่งจะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้นอีก โดยในปี 2544 ที่ผ่านมา บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 2,527.99 ล้านบาท

ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 10.11 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 3,966.78 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 15.87 บาท ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้น ITD หลังจากศาลมีคำสั่งรับแผนฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 4

เมษายน 2545 ปรากฏว่า ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลง หลังจากที่ได้บวกขึ้นไปตั้งแต่วันก่อน คือปิดการซื้อขายที่ 20.80 บาท ลดลงจากวันก่อน 0.80 บาท และวันต่อมาได้ปรับตัวลงมาปิดที่ 20.50 บาท ลดลงอีก 0.30 บาท

มูลค่าการซื้อขายรวม 74.34 ล้านบาท โดยนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ณ ระดับราคาในปัจจุบัน ยังเป็นราคาที่น่าสนใจลงทุน โดยราคาที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ระดับประมาณหุ้นละ 24 บาท

ส่วนรายละเอียดของแผนฟื้นฟูกิจการ ITD ที่จัดทำขึ้นโดยไอทีดี แพลนเนอร์ จำกัด และผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้นั้น ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญๆ คือ ขั้นตอนแรก

การเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจำนวนรวม 50 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 10 บาท กำหนดเงื่อนไขว่า "ตระกูลกรรณสูต" จะต้องซื้อหุ้นอย่างต่ำ 20 ล้านหุ้น จะทำ

ให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมกลุ่มนี้มีสัดส่วนการถือหุ้นราว 40% ทำให้ ITD ได้รับเงินจากการขายหุ้นอย่างต่ำ 200 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไป รวมเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก

(Non Core) มูลค่า 1,700 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,900 ล้านบาท โดยเงินทั้งจำนวน 1,900 ล้านบาท ITD จะนำไปซื้อหนี้ในส่วนลด โดยมีเงื่อนไขเจ้าหนี้จะต้องลดหนี้ให้ไม่ต่ำกว่า 65% ซึ่งจะใช้วิธีการประมูล

คือเจ้าหนี้รายใดเสนอราคาส่วนลดให้สูงที่สุดจะได้รับเงินไปก่อน แต่ทั้งนี้จะต้องไม่น้อยกว่า 65% และจาก การซื้อคืนหนี้ส่วนลดหนี้จำนวน 1,900 ล้านบาท จะทำให้มูลหนี้ลดลงประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท

ขั้นตอนที่ 2 การแปลงหนี้เป็นทุน โดยบริษัทได้กำหนดให้มีการแปลงหนี้เป็นทุนรวมทั้งสิ้น 80 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นการแปลงหนี้เป็นทุนด้วยความสมัครใจ และจะใช้วิธีการประมูล คือ

เจ้าหนี้รายใดเสนอให้ราคาสูงสุดก็จะได้รับหุ้นไป ส่วนหนี้ที่เหลือมูลค่า 4,000 ล้านบาท จะโอนไปยังบริษัทเฉพาะกิจ (SPV) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และจะมีการโอนทรัพย์สินที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักมูลค่า 4,000 ล้านบาท

เพื่อบริหารทรัพย์สินและหนี้สินส่วนนี้ ด้วยการขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี โดยทรัพย์สินที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักที่จะโอนให้กับ SPV ส่วนใหญ่จะเป็นเงินลงทุนในบริษัท

ไทยเทเลโฟน แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TT&T และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBTSC รวมประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาท

เป็นสินทรัพย์ที่เป็นที่ดิน อาคาร และอื่นๆ ขั้นตอนที่ 3 มูลหนี้ 2,000 ล้านบาท คือ หนี้ที่บริษัทจะต้องทยอยชำระ โดยแบ่งจ่ายภายใน 6 ปี โดยใน 2 ปีแรกไม่ต้องชำระคืนเงินต้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ MLR-3%

และขั้นตอนสุดท้าย หากมีหนี้สินคงเหลือบริษัทจะมีการบังคับให้แปลงหนี้เป็นทุนในจำนวน 43 ล้านหุ้น ด้วยการนำมูลหนี้ที่เหลือมาเฉลี่ยเป็นราคาแปลงสภาพ แต่ทั้งนี้ราคาแปลงสภาพ จะต้องไม่ต่ำกว่า 10 บาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us