Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 เมษายน 2545
แบงก์หน้ามืดไม่กลัวNPL จี้ธปท.เลิกคุมบัตรเครดิต             
 


   
search resources

Credit Card




แบงก์พาณิชย์ไม่หวั่นหนี้ NPL หนุนธปท.เลิกคุมเพดานบัตรเครดิต หาช่องทางขยายสินเชื่อรายย่อย คาดเพิ่มฐานลูกค้าได้ อย่างต่ำ 2.7 ล้านบัตร เสนอควรขั้นต่ำควรกำหนดที่ 5-7 พันบาท ระบุลด

วงเงินไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะวินัยทางการเงินไม่ได้วัดที่รายได้ แต่ถือเป็นการช่วยผู้มีรายได้น้อยไม่ต้อง ไปกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารด้วย "โฆสิต" รับปีนี้แบงก์แข่งเดือด

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์กล่าวถึงการผ่อนเกณฑ์คุณสมบัติผู้สามารถทำบัตรเครดิตของสถาบันการ เงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดรายได้ขั้นต่ำเหลือ 1 หมื่นบาทจากเดิม

1.5 หมื่นบาทว่าทางที่ดี ธปท.ไม่ควรกำหนดเพดานรายได้ขั้นต่ำเลย เพราะนอกจาก จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบสามารถขยายฐานลูกค้าไม่ต่ำกว่า 2.7 ล้านบัตร

ทั้งนี้ยังช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บริการทางการเงินเช่นสินเชื่อส่วนบุคคลหรือบัตรเครดิตแทนการกู้ยืมเงิน นอกระบบที่คิดอัตราดอก เบี้ยสูงและยังมีความเสี่ยงต่อการประทุษร้ายหากผิดนัดชำระหนี้

รวมถึงจะทำให้ธปท.สามารถเข้าไปควบคุม ดูแลผู้ถือบัตรได้อย่างทั่วถึง เพราะไม่ต้องไปกู้เงินผ่านสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non bank) "การพิจารณาผ่อนเกณฑ์คุณ-สมบัติรายได้ผู้ขอทำบัตรเครดิตเหลือ 1

หมื่นบาทถือเป็นสิ่งที่ดีแต่หากต้อง การช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและเศรษฐกิจ โดยรวม ธปท.น่าจะยกเลิกเพดานรายได้และการกำหนดเพดานขั้นต่ำไปเลย

ซึ่งนอกจากจะช่วยให้แบงก์สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นยังช่วยผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องไปกู้เงินนอก ระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงและเสี่ยงต่อการโดนอุ้มหากผิดนัดชำระหนี้" อย่างไรก็ตาม การที่ลดคุณสมบัติ

ผู้มีรายได้เหลือต่ำกว่า 1 หมื่นบาทธนาคารไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เพราะวินัยทางการเงินไม่ได้วัดกันที่รายได้ เนื่องจากช่วงวิกฤติที่ผ่านมาการเป็นหนี้เสีย (NPL) มาจากผู้มีรายได้มากจำนวนมากกว่าผู้มีรายได้น้อย

และธนาคารก็มีระบบป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้ว เมื่อลดเกณฑ์รายได้การขอทำบัตรลงธนาคารก็จะลดวงเงินขั้นต่ำซึ่งเชื่อว่าแต่ละธนาคารจะกำหนดวงเงินขั้นต่ำไว้ประมาณ 5-7

พันบาทเพราะถือเป็นระดับที่เหมาะสม นายกฤป โรจนเสถียร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่าหาก ธปท.ยกเลิกการกำหนดวงเงินขั้นต่ำจะส่งผลดีโดยรวมต่อลูกค้าที่มีรายได้ไม่มาก

สามารถใช้บริการทางการเงินกับธนาคารและช่วย ขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น แต่ในด้านความเสี่ยงคงมีไม่มากนัก เพราะธนาคารจะเป็นผู้คัดเลือกลูกค้าที่มีคุณภาพและมีวินัยการเงินอยู่แล้ว

สำหรับฐานลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารปัจจัยมีเกือบ 4 แสนใบและลูกค้ามีการใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ย 7-8 หมื่นบาทต่อคนต่อปี โดยปัจจุบัน ธนาคารมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2

และธนาคารจะพยายามรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ นายธนชัย ธนชัยอารีย์ หัวหน้าสายงานสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารยูโอบี รัตนสิน (UOBR) กล่าวว่าการยกเลิก เพดานการกำหนดวงเงินขั้นต่ำผู้ขอทำบัตรถือเป็นสิ่งที่ดี

เพราะจะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ และธนาคารมองว่าเมื่อลดเกณฑ์รายได้จะไม่ทำให้เป็นหนี้เสีย เพราะผู้มีรายได้น้อยไม่ได้หมายถึงผู้ที่ไม่มีวินัยทางการเงิน

โดยธนาคารกำหนดมาตรฐานรายได้การขอมีบัตรไว้ประมาณ 7 พันบาทขึ้นไป โฆสิตรับแบงก์แข่งเดือดทำกำไร นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ (BBL) กล่าวว่า

กำไรสุทธิของธนาคารปีนี้คาดว่าจะใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิประมาณ 6.48 พันล้านบาท ภายใต้ข้อสมมุติฐานว่า ธนาคารจะมีการขยายสินเชื่อปีนี้ 2% และเศรษฐกิจของประเทศโต 2% นายโฆสิตกล่าวว่า

ธนาคารพาณิชย์ควรตั้งเป้า หมายการขยายสินเชื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งในแง่ธนาคารกรุงเทพได้ทำประมาณ การการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ว่าจะโต 2% อย่างไรก็ตาม นายโฆสิตกล่าวว่า

การแข่งขันในธุรกิจการธนาคารที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง จะเป็นแรงกดดันที่สำคัญ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารในปีนี้

"เรายังมองว่าการแข่งขันยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันในเรื่องการทำกำไร ส่วนในเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการเพิ่มของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล)

นั้นขณะนี้เรายังไม่เห็นสัญญาณที่เป็นนัยสำคัญว่าจะมีปัญหาจนเป็นภาระให้แบงก์มีกำไรต่ำกว่าปีก่อน"

นายโฆสิตกล่าวว่าในขณะนี้ธนาคารยังไม่มีแผนหรือโครงการที่จะลดขนาดจำนวนพนักงานเพื่อจะลดต้นทุน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ดำเนินการไปพอสมควรแล้ว

สำหรับกรณีที่มีการรวมกิจการธนาคารระหว่าง ธนาคารศรีนครและนครหลวงไทยจะเป็นแรงกดดันให้ธนาคารอื่น ต้องมีการรวมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรือไม่นั้นนายโฆสิตกล่าวว่า

ขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้ถือหุ้นใหญ่ของแต่ละธนาคาร ว่าขนาดของธนาคารมีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อธนาคารหรือไม่ แต่สำหรับตนเองนั้นไม่เชื่อว่าขนาดที่ใหญ่จะมีความสำคัญและประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งในแง่ของธนาคารกรุงเทพเองนั้นคงขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นหลัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us