Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 เมษายน 2545
ตลาดน้ำผลไม้แข่งเดือด "โค้ก-เป๊ปซี่"เปิดศึกรบ             
 


   
search resources

โคคา โคลา (ประเทศไทย), บจก.
เสริมสุข, บมจ.
ทิปโก้ฟูดส์, บมจ.-TIPCO
วิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล
Food and Beverage




ตลาดน้ำผลไม้ส่อแววแข่งเดือด หลังพบอัตราการขยายตัวสูง ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติ-กรรมจากดื่มน้ำอัดลม ผู้ประกอบการ รายใหม่เล็งเข้าตลาดเพิ่ม 3 ราย รวมทั้งยักษ์ใหญ่ "โค้ก"

ที่เตรียมลงตลาดระดับล่างเจาะกลุ่มเด็กและวัย รุ่น ส่วน "เป๊ปซ" รอเวลาส่ง "ทรอปิคาน่า" ลงตลาด "ทิปโก้" มั่นใจยัง เป็นผู้นำตลาดพรีเมี่ยม และตลาดระดับกลาง หลังเปิดตัว"ทิปโก้ คูล" ขึ้นแชมป์แทน "มาลี"

วอนรัฐฯ หามาตรการช่วยเหลือด้านภาษีนำเข้าวัตถุดิบ พร้อมรณรงค์ประชาชน ดื่มน้ำผลไม้ นายวิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มธุรกิจอาหารทิปโก้ เปิดเผยว่าในช่วง 1-2

ปีที่ผ่านมาเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม น้ำแร่ น้ำชา นมถั่วเหลือง และน้ำผลไม้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมากทุกกลุ่ม

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบในแง่ของปริมาณแล้วน้ำดื่มจะมีอัตราการขยายตัวที่สูงสุด สำหรับตลาดเครื่อง ดื่มที่มีอัตราการขยายตัวลดลง จากการรายงานข้อมูลของเอ.ซี นีลเส็น คือน้ำอัดลมที่มีการขยายตัวอยู่ในอัตราติดลบ

สำหรับตลาดรวมน้ำผลไม้ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการประชาชนมีการบริโภคมากขึ้น

และมีผู้ประกอบการในตลาดได้ขยายไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดน้ำผลไม้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน มาก มีทั้งผู้ประกอบการรายเดิมที่ขยายไลน์สินค้าประเภทใหม่ และการออกสินค้าไฟท์ติ้งแบรนด์อย่าง ใหม่ คือ "ชบา"

ของมาลี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจน้ำผลไม้เพิ่มขึ้น 3 ราย 2 รายเป็นผู้ประกอบการในประเทศที่ขยายไลน์ธุรกิจเข้าสู่ตลาดน้ำผลไม้ ส่วนอีกรายเป็นบริษัทมัลติ

อินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์รายใหญ่ของโลก คือ โคคา-โคล่า ที่เตรียมจะเปิดตัวน้ำผลไม้เข้าสู่ตลาดประเทศไทยอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้การเข้ามาทำตลาดน้ำผลไม้ของโค้ก

น่าจะเข้ามาในตลาดอีโคโนมี คือน้ำผลไม้ผสม 10% เน้นจับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แม้ว่าตลาดน้ำผลไม้กลุ่มอีโคโนมี จะมีผู้ประกอบ การอยู่ในตลาดหลายราย แต่เป็นตลาดที่ไม่มีผู้นำเด่นชัด

และผู้ประกอบการทั้งหมดก็เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นทั้งสิ้น ทั้งนี้ จากการแถลงผลประกอบการและนโยบายการทำตลาดปี 2545 ของบริษัทเสริมสุขในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล

จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ได้มอบนโยบายให้แก่บริษัทผู้บรรจุขวดของเป๊ปซี่ทั่วโลกว่า ต้องการจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจร

คาดว่าเป๊ปซี่เองกำลังอยู่ระหว่างวางแผนงานที่จะนำเครื่องดื่มน้ำผลไม้แบรนด์ "ทรอปิคาน่า" เข้าไปทำตลาดในหลายประเทศ ซึ่งก็น่าจะรวมถึงประเทศไทยได้เช่นกัน นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่า จากการเข้ามารุกตลาด

น้ำผลไม้ของผู้ประกอบการรายเก่า และรายใหม่ จะส่งผลให้ตลาดดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็อยู่ในภาวะการแข่งขันรุนแรงเช่นกัน สำหรับทิปโก้ปัจจุบันถือเป็นผู้นำตลาดน้ำผลไม้พรี

เมี่ยม 100% ครองส่วนแบ่งการตลาด 35% ส่วนตลาด น้ำผลไม้ผสม 25-40% ทิปโก้ คูล ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ผสม 40% ของบริษัทที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมาขณะนี้มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 30% อย่างไรก็ตาม

ในปีนี้บริษัทได้ตั้งเป้าอัตราการ เติบโตเพิ่มขึ้น 35% โดยได้เพิ่มรสชาติของน้ำผลไม้ใหม่อีก 3 รสชาติ จากเดิมที่มี 5 รสชาติ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ ทิปโก้

คูลขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดน้ำผลไม้ระดับกลางได้ในปีนี้ด้วยส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 40% ซึ่งเป็นการแซงหน้าผู้นำตลาดอย่างมาลีขึ้นมา ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้จากกลุ่มน้ำผลไม้ ประมาณ 650 ล้านบาท

ส่วนในปีนี้ได้ตั้งเป้าอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 35% หรือคิดเป็นรายได้ 870 ล้านบาท ส่วนภาพรวมของน้ำผลไม้ในปีที่ผ่านมามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 20% มีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท

ส่วนในปีนี้คาดว่าตลาดรวมจะเติบโตประมาณ 25-30% คิดเป็นมูลค่า 3,000 ล้านบาท นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่าสำหรับตลาดน้ำผลไม้ใน ตลาดอีโคโนมี หรือตลาดล่าง ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้ในสัดส่วนต่ำกว่า 25%

ถือเป็นตลาดที่มีมาตรฐานและคุณภาพในการผลิตต่ำ ซึ่งผู้บริโภคอาจจะได้รับความโทษหากบริโภคน้ำผลไม้ประเภทดังกล่าวเข้าไป

ในส่วนนี้บริษัทต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยกำหนดมาตรฐานการผลิตในแต่ละผู้ประกอบ การให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ 1. การขออนุญาตผลิตน้ำผลไม้จากคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.)

ที่ปัจจุบันการขออนุญาตผลิตในแต่ละเขตตามที่ตั้งของโรงงานยังมีมาตรฐานแตกต่างกัน ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ประกอบการ ขึ้น เพราะในผู้ประกอบการบางรายจะใช้ส่วนผสมเข้มข้น

(Concentrate) มาผสมในน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ต่ำกว่าการใช้ผลไม้ผสมสดเป็นส่วนผสม และถือว่ามีต้นทุนต่ำกว่า

ในส่วนดังกล่าวหากผู้ประกอบการใช้ส่วนผสมเข้มข้นเป็นส่วนผสมก็ควรจะให้มีการระบุไว้ที่ฉลากของกล่อง 2.ภาครัฐควรมีความเข้มงวดในการกำหนดมาตรฐานการผลิตสินค้าของบริโภค

โดยเฉพาะเรื่องของส่วนผสมที่ควรระบุไว้ที่ฉลากของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบและมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

3.รัฐควรทบทวนภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลไม้สดที่จะมาใช้เป็นส่วนผสมของการผลิตน้ำไม้ใหม่ เพราะปัจจุบันเสียภาษีในอัตรา 30% ในขณะที่วัตุดิบประเภทกาแฟจะเสียภาษีเพียง 10% เท่านั้น

ทั้งที่น้ำผลไม้ถือเป็นเครื่องดื่มที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า หากรัฐยังเก็บภาษีในอัตราดังกล่าวอยู่ก็เชื่อว่าหลังเกิด WTO

แล้วผู้ประกอบการในประเทศไทยน่าจะเสียเปรียบสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า 4.

รัฐควรมีการรณรงค์ให้ให้ประชาชนในประเทศไทยหันมาดื่มน้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มหลักอีกประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับการรณรงค์ให้ประชาชนดื่มนม

หากรัฐบาลสามารถออกมาตรการเพื่อมาสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ได้ ก็เชื่อว่าทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน คือในส่วนของเกษตรกร ที่ปลูกผลไม้ก็สามารถขายพืชผลทางการเกษตรได้มากขึ้น

ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตต่ำลง หากสามารถใช้วัตถุดิบในประเทศได้มากขึ้น และวัตถุดิบนำเข้าที่มีอัตราภาษีต่ำลง ก็จะทำให้ราคาขายปลีกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้บริโภคก็จะได้ดื่มน้ำผลไม้ที่มีราคาถูกลง

เมื่อเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ปัจจุบันน้ำผลไม้จะจำหน่ายในราคาเฉลี่ยลิตรละ 65 บาท แต่หากรัฐออกมาตรการต่างๆเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมนี้ราคาจำหน่ายน่าจะลดลงมาได้เหลือลิตรละ 50 บาท

นายวิวัฒน์กล่าวต่อว่าปัจจุบันต้นทุนการผลิตน้ำผลไม้จะอยู่ที่วัตถุดิบผลไม้ 40% บรรจุภัณฑ์ 30%ที่เหลือจะมาจาก เครื่องจักร ค่าจ้างแรงงาน และค่าการตลาด

โดยค่าการตลาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่านำสินค้าเข้าไปวางในช่องทางการขายต่างๆ (Entrance Fee) จากเดิมที่มีสัดส่วน 20% ของต้นทุนค่าการตลาด ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 35-40%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us