Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 เมษายน 2545
ปรส. ขอยุบตัวเองกลางปีนี้ คุยทำได้ดีไม่หวั่นศปร.3             
 


   
search resources

องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - ปรส.




ยุบ ปรส.เดือนมิถุนายนนี้ หลังจัดการสินทรัพย์ 56 ไฟแนนซ์เสร็จสิ้น ได้ เงินคืนเจ้าหนี้ 35.3% ด้านเลขาธิการปรส. ให้คะแนนหน่วยงานตัวเองเต็มร้อย ลั่นไม่เคยทำ ผิดกฎหมาย ไม่เคยทุจริต

แนะหากจะให้ทำงานดีกว่านี้ควรออกกฎหมายห้ามเจ้าหนี้ฟ้อง ปรส. คนวงการชี้ที่ปรส.กล้าก็เพราะมีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่คุ้มครอง นายกมล จันทิมา ประธานกรรมการ

องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) กล่าวว่า ภารกิจการชำระบัญชี 56 สถาบันการเงินที่ถูกระงับกิจการของ

ปรส.ได้สิ้นสุดลงแล้วภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทเงินเอกธนกิจเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ต่อไป เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การปิด ปรส.ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นเดือนพฤษภาคม

จากนั้น คณะกรรมการ ปรส. จะทำหนังสือเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ค.ร.ม.มีมติยุบเลิก ปรส. ประมาณเดือนมิถุนายน 2545 นี้ ที่ผ่านมา ปรส. ได้ดำเนินงาน

ตามพระราชกำหนดองค์การเพื่อการปฏิรูป ปรส. ครบถ้วน โดยมีการแก้ไขฟื้นฟูฐานะบริษัทที่ถูกระงับกิจการ ซึ่งมีเพียง 2 แห่ง ที่ฟื้นฟูได้คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน

และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางกอกอินเวสเมนท์ ส่วนอีก 56 แห่งต้องระงับกิจการถาวรและต้องมีการชำระบัญชี ส่วน การช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่ สุจริตของ 42 สถาบันการเงินรวมเงินต้น 201,900

ล้านบาท"ในด้านการชำระบัญชีนั้น ที่ผ่านมา ปรส.ได้นำสินทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินซึ่งมียอดคงค้าง 851,000 ล้านบาท ออกมาจำหน่ายให้กับทั้งผู้ลงทุนในประเทศ และต่างประเทศได้รับเงินจำนวน

264,068.78 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.3 ของยอดเงินต้นสินทรัพย์ทั้งหมด และได้จัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ ไปแล้วจำนวน 218,886.38 ล้านบาท

ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ต้องจัดการทรัพย์สินที่เหลือจัดสรรคืนเจ้าหนี้ และจะมีการตั้งผู้ชำระบัญชีขึ้น ทำหน้าที่ดำเนินการต่อไป หลังจากที่ได้มีคำสั่ง

ส่วนการจัดสรรเงินคืนให้แก่เจ้าหนี้สามัญของสถาบันการเงินที่ถูกระงับกิจการทั้ง 56 แห่ง ปรากฏว่าบริษัทเงินทุนพรีเมียร์ได้จัดสรรเงินให้เจ้าหนี้ สูงถึง 50.33% เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ เป็นประเภทเช่าซื้อ

ซึ่งถือเป็นสินทรัพยที่ดี ขณะที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่จัดสรรเงิน คืนเจ้าหนี้ในสัดส่วนที่ต่ำน้อย ได้แก่ บงล. เมือง ทองทรัสต์ ซึ่งคืนได้เพียง 7.43% และบงล. รอยัลอินเตอร์เนชั่นแนลไฟแนนซ์คืนได้เพียง

1.47% เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เสียก่อน ที่ปรส.จะเข้ามาดำเนินการ โดยบริษัทปล่อยกู้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก สำหรับมูลค่าการขายสินทรัพย์ของไฟแนนซ์แต่ละแห่ง

มีมาตรฐานการลงบัญชีแตก ต่างกัน ดังนั้นการขายสินทรัพย์และคืนเงินให้เจ้าหนี้จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ของแต่ละแห่ง ประธานปรส. กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการ

ปรส.เห็นว่าการดำเนินการของปรส.ที่ผ่านมาจะสามารถผ่อนคลายหรือบรรเทาผลของวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ได้มากน้อยเพียงใดนั้น เป็นประเด็นที่ผู้รู้ นักคิดหรือนักวิจัยน่าจะศึกษาวิเคราะห์ต่อไป

นอกจากนี้สิ่งที่ปรส.เห็นว่ามีความสำคัญยิ่ง กว่าการตามแก้ไขปัญหาคือ การศึกษาให้ลึกซึ้งถึง ต้นเหตุแห่งวิกฤติ เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม

หากเปรียบเทียบการประมูลขายสินทรัพย์ของปรส.กับประเทศอื่นที่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับไทย ได้แก่ เกาหลี อินโดนีเซีย และญี่ปุ่นพบว่า

การแก้ปัญหาและการจัดการสินทรัพย์ของปรส.มีข้อจำกัดน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ในสายตาของผู้เชี่ยวชาญ เช่น นิตยสาร Internationnal Financial Review (IFR) หรือจากการรายงานการตรวจสอบของ

Darents/KPMG ระบุว่าการทำงานปรส.อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ ไม่ผิดไม่กลัวศปร. 3 นายมนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิการ ปรส. เปิดเผยถึงความคืบหน้าที่รัฐบาลตั้งคณะ ศปร.3 เข้ามาตรวจสอบการทำงานของปรส.ว่า

ขณะนี้กรรมการของศปร. 3 ได้เข้ามาสอบถามข้อมูลกับปรส.แล้ว และในวันที่ 9 เมษายนนี้ จะให้คณะอนุกรรมการของศปร.3 มาขอข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง อย่างไรก็ตาม

หลังจากปรส.ปิดตัวลงแล้ว ข้อมูลและเอกสารทั้งหมดจะไปอยู่ที่กระทรวงการ คลัง ซึ่งคณะกรรมการ ศปร.3 สามารถดูข้อมูลได้ จากการพูดคุยกับนายยุวรัตน์ กมลเวชช กรรมการศปร.3

ได้บอกว่าขอศึกษาการทำงานของปรส.ไม่ได้มาจับผิดหรือตรวจสอบ ซึ่งผมเห็น ว่าการจะศึกษาการทำงานคงต้องให้ผู้รู้มาดำเนิน การศึกษา แต่ถ้าถามผมก็จะให้คะแนนปรส.100%

เพราะการทำงานที่ผ่านมาไม่เคยทำงานผิดกฎหมาย และให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้รวมทั้งไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น"การทำงานที่ผ่านมาอาจมีข้อจำกัด ที่ปรส. ไม่สามารถขายหนี้คืนให้กับลูกหนี้ของไฟแนนซ์ได้

ซึ่งหากให้ดีกว่านี้ทางการควรออกกฎหมายห้ามเจ้าหนี้ฟ้องปรส.จะทำให้การทำงานง่ายขึ้นและเร็วกว่าเดิม เห็นได้จากเจ้าหนี้รีไฟแนนซ์ฟ้องร้อง ปรส.จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินคืน เพราะติดอยู่

ในกระบวนการกฎหมาย หากไม่ฟ้องจะได้เงินคืนเหมือนเจ้าหนี้รายอื่น อย่างไรก็ตาม จากการทำงานของ ปรส. นั้นมีลูกหนี้ร้องเรียนเพียง 28 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ร้องเรียนเพราะไม่เข้าใจไม่ใช่เพราะ

ปรส.ทำงานผิดพลาดหรือทำผิดกฎหมาย ส่วนกรณีที่มีการวิจารณ์ว่า ปรส.เร่ขายสิน ทรัพย์ให้ต่างชาตินั้น ความจริงแล้วมีต่างชาติเข้า มาซื้อสินทรัพย์ของ ปรส.ประมาณร้อยละ 44 เท่านั้น การกล่าวหาว่า

ปรส.ขายหนี้ให้ฝรั่งอย่างเดียวจึงไม่เป็นธรรม นายมนตรีกล่าวว่า การที่เจ้าหนี้จะได้รับเงิน คืนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ของไฟแนนซ์แต่ละแห่งว่ามีคุณภาพดีหรือไม่

ถ้าหลักประกันดีสินทรัพย์ดีก็คืนเงินได้สูง แต่บริษัทบางแห่งมีการนำเงินไปจ่ายค่าเช่า อาคารเป็นจำนวนเงินที่สูงเมื่อถูกปิดกิจการเงินเหล่านั้นก็ต้องตีเป็นศูนย์ทันที ซึ่งบงล.จีเอฟเองก็

ปล่อยกู้ให้โครงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อเศรษฐกิจ ซบ อสังหาเจ๊งลูกหนี้ก็ไม่คืนเงินทำให้จัดสรรเงิน คืนเจ้าหนี้ได้เพียง 20% ขณะที่บง.เอกธนกิจจัดสรรได้ถึง 38% และอยู่ระหว่างฟ้องร้องอีก 7 ราย หากปรส.

ชนะคาดว่าจะคืนเงินให้เจ้าหนี้เอกธนกิจรวมได้ถึง 50% นายมนตรี กล่าวว่า สำหรับในส่วนของ ปรส.นั้น ในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการเลิกจ้าง พนักงานจำนวน 100 คน

ส่วนที่เหลือจะมีการเลิกจ้างในสิ้นเดือนมิถุนายนถือว่าภารกิจของ ปรส.ได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ มีกฎหมายคุ้มหัว แหล่งข่าวจากฝ่ายกฎหมายรายหนึ่งกล่าวว่า โอกาสที่จะเอาผิดหรือดำเนินการกับเจ้าหน้าที่หรือ

บุคคลากรของปรส. คงจะกระทำได้ยาก แม้ว่าใน พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองในเรื่องการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และพนักงานของปรส.

แต่พนักงานของปรส.ส่วนใหญ่ได้ยึดพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาเป็นเกราะปกป้องในการทำงาน เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว โดย เฉพาะมาตรา 5

ถือว่าจะถูกนำมาใช้หากมีการต่อ สู้กันในเรื่องคดี มาตราดังกล่าวระบุว่า หน่วยงาน ของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ใน

กรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด

ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด หรือมาตรา 8 ที่ผู้ฟ้องร้องอาจจะโยงความเสียหายที่เกิดขึ้นไปยังตัวบุคคคลที่ทำงานก็ทำได้

แต่จะต้องมีการพิสูจน์ให้ได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มาตรา 8 ระบุว่า

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่

ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใด ให้คำนึงถึงระดับความ ร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวน ของความเสียหายก็ได้

"เรื่องนี้ถือว่าโอกาสที่จะเอาผิดกับเจ้าหน้า ที่ของปรส.มีความเป็นไปได้น้อยมาก อย่างมากก็เป็นเพียงการประจานให้คนไทยทราบอีกครั้งเท่านั้น"แหล่งข่าวกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us