บริษัทผู้ให้บริการ มือถือได้ทีโขกซ้ำประชาชน ดีเดย์ตั้งแต่ 1 พ.ค.นี้เป็นต้นไป
หากส่งใบแจ้งหนี้ไปแล้วไม่ชำระเงินหลังจากครบกำหนดแล้ว 15 วัน มี สิทธิถูกตัดสัญญาณทันที
หลังจาก สคบ.ไฟเขียว
ด้านปัญหาดีแทค ยังไม่จบง่ายๆ "วันนอร์" ไฟเขียวทศท.เรียกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ
พร้อมดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาท พร้อมขู่ถ้าไม่จ่ายก็ต้องถูกตัดสัญญาณ ดีแทคยันผลการเจรจา
3
ฝ่ายใกล้ได้ข้อยุติและยืนยันจะไม่มี การตัดสัญญาณแน่นอน ปัญหากรณีองค์การโทรศัพท์
แห่งประเทศไทย (ทศท.) จะตัดหรือไม่ตัดสัญญาณค่าเชื่อมโยงโครงข่ายของบริษัท
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด
(มหาชน) หรือแทค ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้และยังไม่มีวี่แววว่าจะยุติลงได้ในเร็ววัน
จนทำให้ประชาชนผู้ใช้มือถือ ต่างรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ไปตามๆ กันว่าหวยจะออกมายังไง
ยังไม่ทัน จะจบ บริษัทมือถือต่าง
ๆ ก็มีมาตรการใหม่ออกมาทำให้ผู้ใช้มือถือต้องรู้สึกสะเทือนใจอีกครั้ง รายงานข่าวจากบริษัท
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอสได้ส่งจดหมายแจ้งให้ลูกค้า
ทราบพร้อมในใบแจ้งหนี้ว่าเอไอเอส ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาบอกเลิก
สัญญา กรณีผู้ใช้บริการผิดนัดชำระ ค่าใช้บริการจากเดิมที่กำหนดต้องเกิน 60
วัน เป็นเกิน 30 วัน
นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระตามที่ระบุไว้ในในแจ้งหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ใช้
ผิดนัดชำระเงินรอบใดรอบหนึ่งเกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันครบกำหนดชำระ เอไอเอสมีสิทธิระงับใช้บริการ
ทันที โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1
พฤษ-ภาคม 2545 เป็นต้นไป โดยเอไอเอสปฏิบัติตามกฎหมายของสำนัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(สคบ.) รวมทั้งดีพีซีด้วย รายงานข่าวจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น
จำกัด (มหา ชน)
หรือแทค แจ้งว่า แทคได้ทยอย แจ้งลูกค้าแล้วเช่นกันว่าจะระงับการให้บริการทันที
หากลูกค้าผิดนัดชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ไปแล้ว 15 ตัว แต่หากลูกค้าโทรแจ้งให้แทคทราบภายใน
15 วันดังกล่าวว่าขอเลื่อน
แทคจะขยายเวลาให้อีก 3 วัน เท่ากับเป็น 18 วัน ขณะที่บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์
จำกัด น้องใหม่ ในวงการมือถือ ก็แจ้งในลักษณะเดียวกันว่า ทีเอ ออเร้นจ์ ได้กำหนดรอบการชำระเงินค่าใช้บริการ
โดยให้เวลา 20 วัน
หลังจากที่ครบกำหนดตามใบแจ้งหนี้แล้ว จึงจะระงับการให้บริการ แต่จะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
นายอนุวัฒน์ ธรมธัช เลขาธิการ สคบ. กล่าวว่า สคบ.ได้ออกประกาศสคบ.เรื่องโทรศัพท์
เคลื่อนที่ ฉบับที่ 2
ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
(โอปอเรเตอร์) ทุกระบบสามารถตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
หลังจากที่ครบกำหนดวันชำระเงินในใบแจ้งหนี้ของลูกค้าไปแล้ว 15 วัน โดยไม่ต้องแจ้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
จากเดิมที่สามารถผิดนัดค้างชำระได้ถึง 35 วัน และบริษัทต้องแจ้งล่วงหน้าอีก
10 วัน
ซึ่งเกิดปัญหาไม่เป็นธรรม คือ มีลูกค้าส่วนหนึ่งที่ผิดนัดชำระหนี้ และนำเครื่องไปขายต่อ
หรือใช้โทร.อย่างมากแล้วเบี้ยวหนี้ไปเลยในช่วง 35 วันนับจากครบกำหนดแจ้งหนี้ไปแล้ว
ซึ่งนานเกินกว่าที่บริษัทจะตามเก็บหนี้ทัน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
สคบ.จึงกำหนดให้โอปอเรเตอร์ตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทันที กรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ใหม่เป็น
15 วัน
นับจากที่ครบกำหนดในใบแจ้งหนี้แล้ว โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่ก็ได้กำหนดให้โอปอเรเตอร์ต้องต่อสัญญาณให้ลูกค้าทันที
และไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินค่าต่อ สัญญาณกับลูกค้า
กรณีที่ลูกค้าของระงับใช้บริการไม่เกิน 6 เดือน และขอกลับมาใช้บริการต่อ
จากเดิมที่โอปอเรเตอร์เรียกเก็บเงินดังกล่าวอยู่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าเช่นกัน
แต่ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลใช้ย้อนหลัง
ไฟเขียวเก็บค่าต่อสัญญาณ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองไม่รับฟ้องคดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถือ "ดีแทค"
ว่าการที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง
หมายความว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ไม่ต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีแทคร้องขอต่อศาลปกครอง
ซึ่งขั้นตอนต่อไปทศท.จะต้องเรียกดีแทคมาเจรจาเพื่อให้จ่ายค่าเชื่อมโยงโครง
ข่ายที่ค้างชำระไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 จนถึงเดือนมีนาคม 2545 รวมเป็นระยะเวลา
5 เดือน ซึ่งหากดีแทคไม่ยอมจ่ายก็ต้องปฏิบัติตาม มติคณะกรรมการทศท. คือต้องตัดการเชื่อมโยงโครงข่ายในวันที่
28
เมษายน 2545 นี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าดีแทคคงต้องจ่าย เพราะตอนแรกที่ไม่จ่าย
เนื่องจากคิดว่าจะใช้อำนาจศาลปกครองคุ้มครองไม่ให้ทศท.ตัดการเชื่อมโยงโครงข่าย
แต่เมื่อศาลปกครองไม่รับฟ้องแล้ว
มีทางเดียวก็คือต้องเจรจากันต่อไป ซึ่งทศท.ก็ยืนยันจุดยืนเรื่องการเจรจาตั้งแต่แรกแล้ว
ว่าดีแทคต้องจ่าย แต่ดีแทคยืนยันว่าจะไม่จ่ายจะให้ศาลเป็นคนตัดสินก่อน ดังนั้น
เมื่อศาลตัดสินออกมาแล้ว
ทศท.จำเป็นต้องเก็บเงินค่าเชื่อมโยงโครงข่าย พร้อมดอกเบี้ยทั้ง 5 เดือน
เป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ตามสัญญาที่ระบุไว้ทั้งหมด "กระทรวงคมนาคมพร้อมเจรจาต่อไป
เพราะไม่ถือว่าดีแทคเป็นฝ่ายตรงข้าม
แต่ถือว่าไม่ว่าเอกชนหรือประชาชน รัฐบาลต้องดูแล ในการเจรจากับดีแทคต้องดำเนินต่อไปจนถึงวันที่
28 เมษายน โดยอยู่บนพื้นฐานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนที่ทางดีแทคขอต่อรองเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมนั้น
เห็นว่าต้องอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของรัฐ ที่ต้องได้ไม่น้อยกว่าเดิม"นายวันนอร์กล่าว
ทั้งนี้
กระทรวงคมนาคมขอยืนยันว่าจำเป็น ต้องรักษาสัญญาเดิมเอาไว้ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่อง
การเมือง ถ้าดีแทคทำตามสัญญาก็จะไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น และขอให้ดีแทคมาเจรจาและทำตามสัญญา
เพราะได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว หากดีแทคไม่ยอมจ่ายค่าเชื่อมสัญญาณ
กระทรวงคมนาคมจะพยายามให้ดีแทคปฏิบัติตามสัญญาให้ได้ ดีแทคยันไม่มีตัดสัญญาณ
รายงานข่าวจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส
คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือแทค แจ้งว่า ดีแทคได้รับการตอบสนองอย่างดีจากภาครัฐ
ซึ่งได้แก่ ทศท. กสท.ตลอดจนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และองค์กรอื่นๆ เช่น คณะกรรมาธิการจากวุฒิสภา
และสภาผู้แทนราษฎร สคบ. รวมทั้งประชาชน ส่งผลให้การเจรจาร่วม 3 ฝ่าย มีความ
คืบหน้าเป็นลำดับ และคาดว่าทุกฝ่ายจะให้ความ ร่วมมือเพื่อให้การเจรจาบรรลุข้อตกลงโดยเร็ว
บนหลักการที่สำคัญที่สุดคือไม่มีการตัดสัญญาณ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือนร้อน
ทั้งนี้ ทศท. กสท.และดีแทคได้มีการเจรจา กันอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งคณะทำงานชุดย่อยหลายชุด
ทำงานร่วมกันทุกวัน
พิจารณาทุกประเด็นอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์หาข้อยุติที่เป็นธรรม และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย
และล่าสุด คณะผู้บริหารของทั้ง 3 ฝ่ายจะเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 5 เมษายน
2545 นี้
ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นายสันติ เมธาวิกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานขาย
ของดีแทค กล่าวว่า จากความคืบหน้าของการเจรจาดังกล่าว
ทำให้คาดได้ว่าจะบรรลุผลสำเร็จและนำไปสู่ข้อตกลงที่จะเป็นผลดีต่อประชาชนโดยรวม
และขอให้ประชาชนมั่นใจว่าจะไม่มีการตัดสัญญาณแน่นอน ส่วนการปลดล็อก IMEI
ที่ทำให้เครื่องลูกข่ายระบบ GSM
ทุกรุ่นที่ไม่ได้ล็อก SIM สามารถมาใช้บริการระบบดีแทคได้ ตั้งแต่วันที่
1 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันยอดขายของดีแทคกลับเข้าสู่ภาวะปกติและเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน
อัดยับต้นเหตุอยู่ที่ทศท.-กสท. นายโกศล
เพ็ชรสุวรรณ์ นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันของธุรกิจโทรศัพท์มือในปัจจุบันเป็นการดำเนินธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่นำไปสู่ปมขัดแย้ง
ซึ่งไม่มีคณะกรรมการกลางที่จะมาชี้ขาด ประเด็นปัญหาแต่ละเรื่อง และล่าสุดกรณีศาลปกครองไม่รับคำฟ้องของดีแทคนั้น
ข้อเท็จจริงเป็นปัญหาระหว่างทศท.กับกสท. เนื่องจากดีแทค
เป็นผู้ให้บริการภายใต้การกำกับของกสท. และการเชื่อมต่อโครงข่ายถือเป็นการดำเนินการเฉพาะระหว่างทศท.กับกสท.
จึงถือเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐทั้ง 2 หน่วยจะต้องมาเจรจากัน
ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะมีมาตรการอย่างไรให้คู่สัญญาของทุกหน่วยงานอยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน
ไม่ใช่มีการเลือกปฏิบัติการจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้
โดยหลักการของพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องให้ผู้ให้บริการทุกรายได้รับการปฏิบัติที่ทัดเทียมกัน
และถือเป็นหัวใจสำคัญ ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันจะต้องมองหาข้อสรุปในประเด็นนี้
และยอมรับว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเกิดความสับสน และลู่ทางการแก้ปัญหาเรื่องนี้
การรวมกิจการทศท.และกสท.เข้าด้วยกัน จึงเป็นทางออกที่ดี ก่อนที่ไทยจะเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี
2549 .หลักการตามกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการโทรคม-นาคมแห่งชาติขึ้นมา
แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป ดังนั้น ความขัดแย้งที่ดีแทคไปพึ่งศาลปกครองก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง
เพียงแต่ขอให้ทุกฝ่ายคำนึงว่าผลที่เกิดขึ้นต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน
เป็นหลัก" นายโกศลกล่าว