Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มกราคม 2548
"วรรณ"คาดสินทรัพย์เพิ่ม5พันล้าน คลอดกองทุนอสังหาฯภายในม.ค.นี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. วรรณ

   
search resources

วรรณ, บลจ.
Funds




บลจ.วรรณ เผยปี 2548 ขยายสินทรัพย์เพิ่มอีก 5-6 พันล้านบาท พร้อมออกกองทุนใหม่ดันธุรกิจโต ประเดิมกองทุนอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ มูลค่าโครงการ 1.9 พันล้านบาท คาดปีแรกให้ผลตอบแทน 4.5-5% พร้อมเสนอขาย 14-24 ม.ค.นี้ ตามด้วยกองทุนรวมโกลบอลเทคโนโลยี เสนอขายเฉพาะนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับ ICT

นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เปิดเผยว่า ในปี 2548 ธุรกิจจัดการกองทุนภาพรวมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12-15% โดยซึ่งในส่วนของบลจ.วรรณ น่าจะขยายตัวได้มากกว่านั้น โดยคาดว่าจะมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร เพิ่มขึ้นประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2547 บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 5.6 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการกองทุนสิ้นปี 2547 มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 6.8 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากปี 2546 ประมาณ 5% ที่มีสินทรัพย์รวม 7.2 แสนล้านบาท

นางวิวรรณ กล่าวว่า สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการออกกองทุนใหม่ซึ่งในปีนี้มีนโยบายออกกองทุนหลายประเภท ได้แก่ กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารแห่งทุนซึ่งในส่วนของตราสารแห่งทุน บลจ. วรรณ มีแผนที่จะออกกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) อีกตัวประมาณกลางปี กองทุนผสม กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมพิเศษ นอกจากนี้ เม็ดเงินอีกส่วนก็มาจากกองทุนเดิมที่เคยออกไปแล้ว

ผลการดำเนินงานในปี 2547 ของกองทุนรวม ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2547 ในส่วนของกองทุนหุ้นผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย 1.79% ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1.04% และย้อนหลัง 6 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 6.67% ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 3.17%

กองทุนผสมแบบยืดหยุ่นย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย ให้ผลตอบแทน 1.09% และย้อนหลัง 6 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 3.18% ซึ่งสูงกว่าอัตราผลตอบแทนอ้างอิง กองทุนตราสารหนี้ ย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย ให้ผลตอบแทน 0.46% และย้อนหลัง 6 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 0.83% ซึ่งสูงกว่าอัตราผลตอบแทนอ้างอิง

กองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย ให้ผลตอบแทน 4.87% และย้อนหลัง 6 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 6.48% สูงกว่าอัตราผลตอบแทนอ้างอิง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งบลจ. วรรณมีอยู่ 2 กองทุน ย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้ายให้ผลตอบแทน 1.44% และย้อนหลัง 6 เดือนสุดท้ายอยู่ที่ 2.71%

เล็งอสังหาฯกองทุนแรกของปี 48

นางวิวรรณ กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ มูลค่าโครงการ 1,900 ล้านบาท โดยกองทุนดังกล่าวจะลงทุนในอาคารสำนักงานให้เช่า เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันตลาดอาคารสำนักงานยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อัตราว่างเฉลี่ยลดลง ซึ่งจะเปิดจองซื้อในราคาหน่วยลงทุนละ 10 บาท ระหว่างวันที่ 14-24 มกราคม 2548 นี้ ด้วยเงินจองซื้อขั้นต่ำเพียงแค่ 10,000 บาท และเพิ่มเป็นทวีคูณของ 1,000 บาท

เบื้องต้นนั้นจะลงทุนในอาคารสำนักงานมาลีนนท์ ทาวเวอร์สูง 36 ชั้น และอาคาร Production House สูง 12 ชั้น ปัจจุบันอาคารดังกล่าวนี้ถือเป็นอาคารสำนักงานชั้น 1 เนื่องจากเป็นอาคารที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ประกอบกับผู้เช่าในอาคารดังกล่าวเป็นผู้เช่าที่มีศักยภาพ อาทิ สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น ทั้งนี้อาคารมาลีนนท์ ปัจจุบันมีผู้เช่าพื้นที่แล้วประมาณ 60% ในขณะที่อาคาร Production House ยังไม่มีผู้เช่าพื้นที่ โดยราคาขายทั้ง 2 อาคารรวมกันประมาณ 1.8 พันล้านบาท ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่บนอาคารหรือเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว

นางวิวรรณ กล่าวว่า สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นปีแรกคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 4.5-5% ซึ่งการที่จะทำให้ผลตอบแทนได้ระดับนี้คาดว่าจะต้องมีผู้เช่าพื้นที่ 80% ทั้งนี้หากกองทุนดังกล่าวมีกำไรสุทธิหรือกำไรสะสม บลจ.จะพิจารณาจ่ายปันผลให้แก่นักลงทุนในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ หรือในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิหักด้วยกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน บลจ. วรรณ จะดำเนินการยื่นคำขอต่อตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อขอพิจารณารับหน่วยลงทุนกองทุนรวมเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทุนรวม โดยจะจดในหมวดอสังหาฯ สำหรับก่อนหน้านี้บลจ.วรรณ ได้ออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์มาแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2546 เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์บางกอก (BKKCP) ซึ่งได้มีการจ่ายเงินปันผลไปแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง รวมเป็นเงินปันผลจ่ายแล้วทั้งสิ้น 0.413 บาท ต่อหน่วย สำหรับรอบระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2546-30 กันยายน 2547

จัดตั้งกองทุนรวมโกลบอลเทคโนโลยี

นอกจากนี้ บลจ.มีแผนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโกลบอลเทคโนโลยี (Global Technology Fund-GTECH) ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งกองทุนดังกล่าวจัดตั้งขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ที่ผ่าน อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนดังกล่าว และรัฐบาลจะสนับสนุนโดยการลงทุนผ่านบริษัท เอทีซี โมบาย จำกัด ในวงเงิน 880 ล้านบาท โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนปิดมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท อายุโครงการ 8 ปี และสามารถขยายออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ปี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนก่อน

ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศ ตลอดจนสานต่อนโยบายเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ ICT ของประเทศไทย ทั้งในด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างแบรนด์ประเทศไทยในอุตสาหกรรมซอฟต์ แวร์ที่สามารถไปจำหน่ายในตลาดโลก

นางวิวรรณกล่าวว่า กองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่ร่วมลงทุนกับรัฐบาลฟินแลนด์ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีความร่วมมือในลักษณะนี้ โดยเฉพาะประเทศฟินแลนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งการเข้ามาร่วมมือครั้งนี้จะทำให้สินค้าแบรนด์ประเทศไทยขายได้ง่ายขึ้นด้วย

สำหรับกองทุนดังกล่าวจะลงทุนร่วมกับตัวแทนภาครัฐของฟินแลนด์ในนิติบุคคลร่วมทุนต่างประเทศ ภายใต้ชื่อ Finn-Thai Technology Fund L.P.ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งนี้กองทุนดังกล่าวจะเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนให้แก่ นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับ ICT เท่านั้น ในจำนวนเงินจองซื้อขั้นต่ำ 200,000 บาท

โดยประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว เช่น การช่วยให้เกิดกี่ถ่ายทอดเทคโนโลยี จากประเทศฟินแลนด์ ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาต่อยอดและทำตลาดในเงินพาณิชย์ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการ ICTของประเทศไทยนำเทคโนโลยีที่พัฒนาเองออกสู่ตลาดโลก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us