Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มกราคม 2548
แบงก์กสิกรไทยปรับสายงานรายย่อยตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่ม15%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Banking




แบงก์กสิกรไทย ปรับสายงานธุรกิจรายย่อย ดึงลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างผลิตภัณฑ์และบริการ ใช้สาขาและพนักงานเป็นช่องทางขาย หวังจูงใจลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ต่อรายเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมกว่า 28% พร้อมเปิดเผยแผนธุรกิจรายย่อยใน ปี 2548 เน้นสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งเป้าโต 15% และสินเชื่อที่อยู่อาศัยเติบโต 19% ขณะที่ผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ไม่เกิน 720 ล้านบาท และเตรียมวงเงิน 3 พันล้าน ปล่อยสินเชื่อใหม่ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้ผู้ประสบภัย

วานนี้ (13 ม.ค.) ธนาคารกสิกรไทย แถลงข่าวการปรับโครงสร้างสายงานรายย่อยและแผนธุรกิจในปี 2548 นำโดยนายเดวิด เฮ็นเดร็ก รองกรรมการผู้จัดการ นายธงชัย เจริญสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และนายกฤษฎา ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

นายกฤษฎา กล่าวว่า ในปีนี้ ธนาคารมีนโยบายหลักที่จะยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer centric) โดยจะเน้นสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งธนาคารได้มีการจัดแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนเป็น sub-segment

เพื่อจัดชุดผลิตภัณฑ์และนำเสนอสินค้าและบริการตอบสนองลูกค้าตามระดับความสัมพันธ์ (product package & relationship pricing) และธนาคารจะชูภาพลักษณ์ "สะดวกทุกที่ ดีทุกบริการ" เป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มระดับความพอใจของลูกค้า โดยตั้งเป้าวัดระดับความพอใจที่มากกว่า 80%

ขณะเดียวกัน ธนาคารจะเน้นนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า เพื่อให้สัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ของธนาคารเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ผลิตภัณฑ์ต่อคน

ปัจจุบันลูกค้าของธนาคารได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของธนาคารเฉลี่ย 2 ผลิตภัณฑ์ต่อคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าระดับสูง (Platinum customer) มีการใช้บริการของธนาคารเฉลี่ย 6 รายการต่อราย กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ (B&P) ประมาณ 4 รายการต่อคน กลุ่มลูกค้ารายได้ปานกลาง(Middle Income) ใช้บริการเฉลี่ย 3 รายการต่อคน ซึ่งธนาคารตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวในปีนี้ รวมทั้งเตรียมจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกลุ่มเป็นชุดตามระดับความสัมพันธ์ ซึ่งจะใช้สายงานด้านปฏิบัติการและงานสนับสนุน ที่นายธงชัยรับผิดชอบอยู่เป็นช่องทางการขาย

นายธงชัย กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าการขยายสินเชื่อของ Retail Banking เพิ่มขึ้นประมาณ 17% จากปัจจุบันที่มีสินเชื่ออยู่ที่ประมาณ 270,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง และการชะลอตัวของการเติบโตของสินเชื่อผู้บริโภค

ส่วนสินเชื่อคงค้างในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 325,000 ล้านบาท ส่วนยอดเงินฝากในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 628,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่ม 4.2% จากปีที่ผ่านมาเงินฝากอยู่ที่ 603,000 ล้านบาท

จากการจัดกลุ่มธุรกิจรายย่อย และเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำให้ธนาคารมั่นใจว่ารายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยในปีนี้ประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 1,000 ล้านบาท

ธนาคารจะเน้นสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็มอี) โดยตั้งเป้าขยายสินเชื่อไว้ที่ประมาณ 15% เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีสินเชื่ออยู่ประมาณ 210,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อใหม่ประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในตลาด เช่น อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมโรงแรม และธุรกิจให้บริการต่างๆ และจะจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจุบันของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 52,300 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2548 อีก 18.5 % หรือคิดเป็น 62,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อใหม่ 21,040 ล้านบาท เนื่องจาก ในปีที่ผ่านมาตลาดได้ตอบสนองความต้องการไปมากแล้ว ทั้งที่อยู่อาศัยและรถยนต์ ประกอบกับในปีหน้าอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้น เป็นตัวแปรที่จะทำให้ปริมาณสินเชื่อ ลดลง

สำหรับบัตรเครดิตในปี 2548 จะเพิ่มจำนวนบัตรประมาณ 7 % เป็น 835,000 บัตร และขยายสินเชื่อเติบโตประมาณ 24 % จากเดิมอยู่ที่ 11,000 ล้านบาท

ส่วนผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์มหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิ นายธงชัย กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ลูกค้าของธนาคารทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายย่อย ลูกค้าในพื้นที่ประสบภัยที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,670 ล้านบาท แต่จากการสำรวจกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีวงเงินประมาณ 2,243 ล้านบาท ซึ่งหากธนาคารไม่มีมาตรการแก้ไขใดๆ จะทำให้มีโอกาสที่จะเป็นหนี้เสีย

อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือไว้หลายมาตรการ เช่น การเตรียมวงเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อใหม่ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนประมาณ 3,000 ล้านบาท การลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าเก่าของธนาคารลงร้อยละ 3 การยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 7 ปี และหากรายใดไม่เพียงพอก็สามารถที่จะขยายได้อีก 3 ปี

นายธงชัย คาดว่า หากจะเกิดความเสียหายจากผลกระทบคลื่นยักษ์ ธนาคารคาดว่าไม่น่าจะเกิน 720 ล้านบาท ส่วนผลกระทบต่อลูกค้าราย อื่นๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่อาจได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวอาจซบเซาลงนั้น

"ผมเชื่อว่าหากทุกฝ่ายสามารถฟื้นฟูทุกอย่างขึ้นมาได้ภายในเวลา 1 ปี การท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบมาก และทุกฝ่ายต้อง ช่วยกันประชาสัมพันธ์ตามข้อเท็จจริง ว่าแหล่งท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่ยังมีความสมบูรณ์ และเท่าที่เห็นตอนนี้ นักท่องเที่ยวยังคงมีการเข้าพักในโรงแรมที่ไม่ได้รับผลกระทบถึง 80-90%"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us