Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540
ชัย โสภณพนิช ยืนยัน "ฟูรูกาวาฯไทย จะเป็นฐานผลิตท่อทองแดงแทนญี่ปุ่น"             
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างทางการเงินของบริษัทฟูรูกาวาฯ

   
related stories

มาฆบูชากับ ชัย โสภณพนิช

   
search resources

ชัย โสภณพนิช
Metal and Steel
ฟูรูกาวาเม็ททัล (ไทยแลนด์), บมจ.




กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หลายๆ คนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะตลาดหุ้นไทยมาอย่างต่อเนื่อง คงอดแปลกใจไม่ได้ที่จู่ๆ บริษัทชื่อไม่คุ้นหูว่า บริษัท ฟูรูกาวาเม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ประกาศขายหุ้นเพิ่มทุน 14.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 45 บาท หรือระดมทุนทั้งสิ้น 652 ล้านบาท

ฟังชื่อก็พอเดาได้ว่าเป็นบริษัทร่วมทุนกับชาวญี่ปุ่น แต่ข้อมูลของบริษัทก็ไม่คุ้นเคยนัก เพราะเป็นบริษัทผลิตท่อทองแดง ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่มีบริษัทใดประกอบธุรกิจนี้เลย ขนาดบริษัทก็ไม่ใหญ่โต มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แต่ทำไมถึงได้กล้าระดมทุนท่ามกลางภาวะตลาดหุ้นที่ฟุบๆ ฟื้นๆ เช่นนี้

ชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการฟูรูกาวาฯ ให้คำตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า "ผู้ถือหุ้นญี่ปุ่นเขาต้องการขยายโรงงานจึงจะเพิ่มทุนเพื่อเอาเงินไปใช้ แต่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยไม่มีเงินแล้วเพราะต้องใช้เงินถึง 650 ล้านบาท เลยคิดว่าควรจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ และระดมทุนจากประชาชนทั่วไปดีกว่า"

นอกจากนี้ ชัยมองว่าการขายหุ้นในช่วงภาวะตลาดฯ ดีหรือซบเซาก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร "ถ้าภาวะดีเราอาจจะขายหุ้นได้เพิ่มอีกสัก 5 บาท เป็นหุ้นละ 50 บาทซึ่งจะได้เงินเพิ่มอีก 72 ล้านบาทหรือ 11% ซึ่งมันก็ไม่มากมายอะไร แต่การขายหุ้นช่วงนี้ แม้ได้เงินน้อยกว่าแต่นักลงทุนที่เข้ามาซื้อหุ้น ก็ต้องเป็นคนที่เข้าใจถึงการลงทุนอย่างดี และคงจะเป็นนักลงทุนระยะยาวซึ่งจะเป็นประโยชน์กับบริษัท"

ยิ่งกว่านั้น โครงสร้างทางการเงินของฟูรูกาวาฯ ก็ไม่เอื้อให้บริษัทกู้ยืมเงินได้มากนัก เพราะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงถึง 3.89 เท่าและ 2.81 เท่า เมื่อสิ้นปี 2537 และ 2538 ตามลำดับ

ว่าไปแล้วการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแผนงานที่ผู้ถือหุ้นเดิมเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 มาแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นจากการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทตัมพะ 51% และบริษัทฟูรูกาวาฯ ญี่ปุ่น 49% มาเป็นการยกเลิกบริษัทตัมพะไปในปลายปี 2538 โดยเปลี่ยนมาเป็นผู้ถือหุ้นรายบุคคลและบริษัทอื่นแทน ซึ่งได้แก่นักธุรกิจไทย 3 ตระกูลหลักๆ คือ สีสหะปัญญา อัษฎาธรและโสภณพนิช หรือผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตัมพะนั่นเอง

ชัยให้เหตุผลที่ยุบเลิกบริษัทตัมพะซึ่งเป็น HOLDING COMPANY ว่า "เดิมเราเป็นบริษัทจำกัด การที่ฝ่ายไทยถือหุ้นร่วมกันในนามบริษัท ก็เพื่อคุมเสียงข้างมากในการเจรจาต่อรองกับฝ่ายญี่ปุ่นได้ง่าย แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชนแล้ว ก็มีผู้ถือหุ้นรายย่อยมาถือหุ้นด้วยประมาณ 30% ทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและไทย ก็ไม่มีใครคุมเสียงข้างมากได้เด็ดขาด เราก็ไม่จำเป็นต้องถือหุ้นในนามบริษัทอีกต่อไป"

อย่างไรก็ดี แม้ผู้ถือหุ้นเดิมจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงไปหลังจากการเพิ่มหุ้นในครั้งนี้ แต่การบริหารก็ยังเป็นเช่นเดิม นั่นคือทีมบริหารงานเป็นคนไทยและญี่ปุ่นอย่างละครึ่ง โดยมีโทมิโอะ มินามิ กุมบังเหียนในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

นอกจากนี้แล้ว ทิศทางการขยายตัวของฟูรูกาวาฯ ไทยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือมุ่งเน้นการเป็นฐานการผลิตท่อทองแดงในเอเชียให้กับฟูรูกาวาฯ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตท่อทองแดงอันดับที่ 4 ในจำนวน 5 รายของประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้เพราะฟูรูกาวาฯ ญี่ปุ่นไม่มีแผนขยายกำลังการผลิตอีกแล้ว ดังนั้นฟูรูกาวาฯ ไทยจึงต้องมีการขยายกำลังการผลิตในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากทำตามแผนงานแล้วก็ยังเป็นไปเพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการมีกำลังการผลิตที่ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (ECONOMY OF SCALE) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 15,000-25,000 ตันต่อปี

หลังจากขยายกำลังการผลิตครั้งนี้ จาก 10,560 ตันต่อปีไปเป็น 18,000 ตันต่อปี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2540 แล้วฟูรูกาวาฯ ไทยจะขยายกำลังการผลิตอีก 2 ครั้ง นั่นคือในปี 2543 และ 2546

กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะรองรับแผนขยายตลาด ซึ่งมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน ในขั้นแรกคือการเป็นผู้นำในตลาดประเทศไทยซึ่งทำสำเร็จแล้ว ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดท่อทองแดงในประเทศเป็นอันดับหนึ่งในสัดส่วน 43% ขณะที่คู่แข่งในประเทศมีเพียงรายเดียวคือบริษัทบางกอกโลหะอุตสาหการ มีส่วนแบ่งตลาด 25% ที่เหลือเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

ขั้นที่สอง คือส่งไปขายต่างประเทศ ขณะนี้ก็มีอยู่ในช่วงดำเนินงาน โดยมีการส่งท่อทองแดงไปขายที่ประเทศมาเลเซียประมาณ 10-15% ของมูลค่าขาย หลังขยายกำลังการผลิตปี 2540 ก็จะทำให้บริษัทสามารถส่งออกไปขายได้เพิ่มเป็น 25-30%

ส่วนขั้นสุดท้ายก็คือจะส่งกลับไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น ขั้นนี้จะทำได้หลังจากที่มีการเพิ่มกำลังการผลิตในครั้งต่อไป

แม้มีการขยายตลาดดังว่า แต่ชัยกล่าวว่าไม่ได้หวังจะเป็นผู้นำตลาดท่อทองแดงในเอเชียแต่อย่างใด เพราะคู่แข่งรายใหญ่จากญี่ปุ่นอีก 4 ราย ซึ่งกระจายการลงทุนอยู่ในมาเลเซีย ก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวด้านการเพิ่มกำลังการผลิต และขยายตลาดมากพอที่จะประเมินสถานการณ์ได้

กระนั้น เรื่องการแข่งขันก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะตลาดมีการขยายตัวไม่ต่ำกว่าปีละ 30% ฟูรูกาวาฯ ไทย มียอดขายที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดใน 3 ปีที่ผ่านมา ยอดขายโตเฉลี่ยปีละ 67% หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว จาก 544 ล้านบาท ในปี 2536 มาเป็น 1,510 ล้านบาทในปี 2538 ส่วนกำไรสุทธิเพิ่มจาก 12 ล้านบาทในปี 2536 มาเป็น 132 ล้านบาทในปี 2538 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัว

ปี 2539 คาดว่ายอดขายจะโต 13% และกำไรสุทธิโตขึ้น 66% นั่นคือมียอดขาย 1,714 ล้านบาท และกำไร 219 ล้านบาท ซึ่งคงทำได้ตามประมาณการ เพราะครึ่งปีแรกของปี 2539 ทำยอดขายไปแล้ว 876 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 152 ล้านบาท

ส่วนปัญหาเรื่องวัตถุดิบซึ่งมีราคาผันผวนนั้น ชัยยืนยันว่าสามารถผลักภาระไปให้ลูกค้าได้ นั่นย่อมทำให้บริษัทยังรักษาระดับอัตรากำไรเบื้องต้นไว้ได้ โดยที่ผ่านมาอัตรากำไรเบื้องต้นก็มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2536 ทำได้ 21.73% ปี 2537 ทำได้ 17.84% ปี 2538 ทำได้ 21.66% และคาดว่าปี 2539 จะทำได้ถึง 26.21%

ยิ่งกว่านั้น ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบก็ไม่ใช่สิ่งที่ชัยกังวล เพราะทำสัญญาซื้อวัตถุดิบกับบริษัท ITOCHU CORPORATION ซึ่งจะมีวัตถุดิบป้อนให้ 9,600 ตันต่อปี แต่ในอนาคต เมื่อเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น เขากล่าวว่าฟูรูกาวาฯ ก็จะเริ่มซื้อวัตถุดิบเองบ้างแล้ว และซื้อจากรายอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงไปด้วย

ว่าไปแล้วปัญหาที่ชัยจะกังวลบ้าง ก็มีเพียงการย้ายฐานการผลิตตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น เพราะนั่นจะทำให้ลูกค้ากว่าครึ่งของบริษัทหายไปทีเดียว แต่เขามองทางหนีทีไล่ไว้ว่าหากเป็นเช่นนั้นคงต้องเน้นการส่งออกมากขึ้น

"เราคงไม่มีปัญหาเรื่องการแข่งขัน เพราะเมื่อเราขยายกำลังการผลิตครั้งต่อไป เราก็จะเป็นโรงงานที่ใหญ่อันดับสองของโลก ฉะนั้นต้นทุนเราจะต่ำ"

อย่างไรก็ดี จากการที่ฟูรูกาวาฯ ไทยพึ่งพิงทั้งในด้านตลาดและความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ทำให้ความเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทญี่ปุ่นมีความสำคัญต่ออนาคตของบริษัทเป็นอย่างมาก โอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะถอนตัวจากบริษัทฟูรูกาวาฯ ไทยย่อมเป็นความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นอื่นต้องแบกรับ

เรื่องนี้ชัยตอบแบบอย่างแบ่งรับแบ่งสู้ว่า "ในปัจจุบันเขายังสนับสนุนเราอยู่ และเขาก็ยืนยันว่าจะไม่ไปลงทุนที่ประเทศอื่น แต่ต่อไปอีก 3-4 ปีข้างหน้าเราก็ไม่รู้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร แต่คาดกันว่าเขาก็คงต้องยึดตลาดไทยอยู่ เพราะถือว่ามีความคุ้นเคยกันดีแล้ว"

ดูจะเป็นคำตอบที่ไม่แน่นักว่าจะทำให้ผู้ถือหุ้นอื่นๆ ถอนใจได้อย่างโล่งอก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us