Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
เบื้องหลัง "เลื่อน" หนุน "พละ" คุมธุรกิจน้ำมันของ ปตท.             
 

   
related stories

กรมศุลฯ-ปตท. ความสับสนที่ส่อพิรุธเด่นชัด

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
สมศักดิ์ ประสงค์ผล
พละ สุขเวช
Oil and gas




ฉากการปรับโครงสร้างใหม่ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เริ่มเป็นจริงแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2534 ..!

วันนี้ บอร์ด ปตท.ได้อนุมัติการจัดสรรตำแหน่งระดับฝ่ายตามที่ เลื่อน กฤษณกรี ผู้ว่า ปตท.เสนอขึ้นตามโครงสร้างการบริหารใหม่

จากเดิมที่แยกเป็น 7 ด้าน คือ ด้านจัดหาและกลั่นน้ำมัน ด้านปฏิบัติการก๊าซธรรมชาติ ด้านบัญชี-การเงิน ด้านกิจกรรมพิเศษ ด้านวิชาการ-วางแผน ด้านการตลาดและด้านบริหาร โดยมีรองผู้ว่าเป็นคนดูแลแต่ละด้าน ซึ่งเป็นการบริหารตามลักษณะงานนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นการบริหารตามประเภทของธุรกิจ

นั่นก็คือ แบ่งเป็น 4 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจบริการกลาง ซึ่งได้จัดสรรระดับรองผู้ว่าตามโครงสร้างเดิมมาเป็นผู้บริหารของแต่ละธุรกิจ เรียกว่า ผู้จัดการใหญ่ มีฐานะเทียบเท่ารองผู้ว่าที่ประจำ ปตท.สำนักงานใหญ่

สำหรับธุรกิจที่ ปตท.ถือว่าจะต้องแข่งขันกันอย่างหนัก ก็คือ ธุรกิจน้ำมัน ซึ่งได้รวมงานด้านจัดหา-กลั่นน้ำมันและการตลาดเข้ามาอยู่ด้วยกัน

ธุรกิจน้ำมันของ ปตท.จึงกลายเป็นหัวใจของโครงสร้างใหม่ที่ทุกคนต่างก็จดจ่อว่าใครจะขึ้นมาดูแล ในภาวะตลาดที่นับจะถึงพริกถึงขิงขึ้นทุกขณะ จากเดิมที่สมศักดิ์ ประสงค์ผลเป็นรองผู้ว่าด้านการตลาด

แล้วเมื่อเปิดโผตัวจริงว่า พละ สุขเวช จากรองผู้ว่าด้านจัดหา มาเป็นผู้จัดการใหญ่ธุรกิจน้ำมัน หลายคนอาจจะแปลกใจ เพราะคิดกันไว้ว่าสมศักดิ์ซึ่งคุมด้านการตลาดน่าจะดูแลงานด้านนี้ต่อเนื่องไป

คำถามว่าทำไมต้องเป็นพละ..?

ว่ากันว่าเป็นเพราะปัญหาคอขวด..!

แม้ว่าสมศักดิ์จะเป็นผู้ช่วยและเรื่อยมาจนเป็นรองผู้ว่าด้านการตลาด ซึ่งทำให้คาดเดากันว่าสมศักดิ์น่าจะขึ้นมาเป็นผู้จัดการใหญ่ของธุรกิจน้ำมัน แต่ก็ดูเหมือนว่าสมศักดิ์เองจะรู้ตัวอยู่ก่อนแล้วว่าคนเดิมอาจจะไม่ได้คุมงานเดิม และได้เตรียมใจไว้พร้อมที่จะอยู่ตรงไหนก็ได้เช่นกัน ดุจหนึ่งจะเดาใจเลื่อนซึ่งจะเป็นคนพิจารณาและเสนอชื่อเข้าบอร์ดมาล่วงหน้าแล้ว..!

ขณะที่สันนิษฐานได้ว่า พละก็คงรู้ตัวก่อนเช่นกันว่าตนจะต้องมารับผิดชอบธุรกิจน้ำมันก่อนเสนอเข้าบอร์ด ขณะที่รองผู้ว่าคนอื่น ส่วนใหญ่จะยังไม่รู้ว่าตนถูกจัดสรรไปอยู่ตำแหน่งไหน

ยกเว้นสมควร วัฒกีกุล รองผู้ว่าด้านบริหาร-บุคคล และ เจียม อุยยามะพันธุ์ รองผู้ว่าด้านการเงินที่ยังดูแลสายงานเดิมประจำ ปตท.สำนักงานใหญ่และให้ประทิน พัฒนาภรณ์เป็นรองผู้ว่าด้านนโยบายและแผน

เหตุผลสำคัญคือพละมีความคล่องตัวด้านซัพพลายหรืองานจัดหา-กลั่นน้ำมัน ประกอบกับพื้นความรู้ที่พละจบวิศวะมา ทำให้เลื่อนมองว่าจะเข้าใจประเด็นปัญหาและพัฒนาคุณภาพน้ำมันได้ละเอียดกว่า เรียกว่าพอพูดปุ๊บก็เห็นภาพทันทีว่าเป็นอย่างไร

พละจบวิศวะสาขาไฟฟ้าจากจุฬาฯ จบ CERT.IN SYSTEM ANALYSIS U.S. ARMY OF ENGINEERS และวิศวะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตทจากสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์เกี่ยวกับการวางแผน ตั้งแต่ตำแหน่ง ผอ.ฝ่ายนโยบายและแผน จนเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ว่าด้านวิชาการและวางแผน เคยเป็นรองผู้ว่าด้านก๊าซธรรมชาติ ด้านจัดหา-กลั่นน้ำมัน ด้านวิชาการฯ ซึ่งตอนหลังได้โยกมาอยู่ด้านจัดหาฯ อีกครั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2534

ขณะที่สมศักดิ์จบรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นผู้ช่วยผู้ว่าด้านบริหาร ผู้ช่วยและรองผู้ว่าด้านกิจกรรมพิเศษ ผู้ช่วยด้านการตลาดก่อนจะมาเป็นรองผู้ว่า

จากพื้นฐานและประสบการณ์ที่ต่างกัน ทำให้พละเป็นต่อสมศักดิ์ในด้านภูมิความรู้..!

สมศักดิ์จึงได้รับการจัดสรรไปเป็นผู้จัดการใหญ่ธุรกิจบริการกลาง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับงานบริการทั้งงานฝึกอบรมเทคโนโลยี-สื่อสาร ตลอดจนอำนวยความสะดวกทุกด้านแก่ธุรกิจทั้ง 3 ของ ปตท.งานที่สมศักดิ์เคยคลุกคลีมาไม่น้อย สมศักดิ์จึงกลับสู่งานเดิมที่ตนเองถนัดและทำได้ดี

อีกเหตุผลที่หนุนเนื่องพละก็คือด้วยสไตล์นุ่ม พูดน้อยตามแบบฉบับนักวิชาการส่วนใหญ่ ถึงคราวจะพูดก็จะไม่พูดให้กระทบใคร ทำให้ปรับตัวเข้ากับผู้ใหญ่ในกระทรวงทบวงกรมได้มาก ขณะที่สมศักดิ์คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ชนิดตรงไปตรงมา ซึ่งบางครั้งก็กระเทือนผู้ได้ยิน แม้ว่าจะไม่มีเจตนาร้ายอะไรแอบแฝงก็ตาม ทำให้ดูเป็นคนใจร้อน และอาจจะไม่สบอารมณ์ผู้ใหญ่ในสังคมแบบไทยๆ

ความต่างตรงนี้ นับเป็นความจำเป็นอีกด้านหนึ่งที่ ปตท.จะต้องปรับตัวเข้าหาและใกล้ชิดกับผู้บริหารที่เหนือกว่าให้มากยิ่งขึ้น เพื่อว่าเมื่อผลักดันเรื่องอะไรก็จะได้ง่ายเข้า

พละนั้นเป็นที่ยอมรับของบอร์ดและผู้ใหญ่คนอื่นอยู่มาก จะเห็นได้ว่าในช่วงต่อที่ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์หมดวาระจากผู้ว่า ปตท.เมื่อปี 2530 นั้น พละเป็นตัวเต็งที่มาแรงขับเคี่ยวกับเลื่อนซึ่งอาวุโสกว่าทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์ แต่ก็ไม่มีใครเป็นที่ยอมรับของบอร์ดสูงพอ นายกเปรมในตอนนั้นจึงแต่งตั้งอาณัติ อาภาภิรมมาเป็นแทนก่อนที่จะมาถึงยุคของเลื่อนในขณะนี้

บอร์ดหลายคนเห็นตรงกันว่าพละเป็นคนที่โดดเด่นในบรรดารองผู้ว่าทั้งหมด ยิ่งเป็นคนรับผิดชอบการสร้างโรงโอเลฟินส์แห่งที่ 2 ได้ถูกกว่าราคากลางร่วม 3,000 ล้านบาท ก็ยิ่งทำให้พละมีเครดิตมากขึ้น

แต่ที่ผ่านมา พละจะคุมงานที่มีผู้ร่วมงานไม่กี่สิบคน การให้พละมาคุมธุรกิจน้ำมันซึ่งมีพนักงาน 2,000 คน ครึ่งหนึ่งของคน ปตท.ทั้งหมดนั้น จะช่วยทำให้พละเคยชินกับการบริหารคนหมู่มาก

ความหมายโดยนัยก็คือ เป็นการเตรียมผู้ว่าคนใหม่สำหรับ ปตท.หลังเลื่อนเกษียณในกลางปี 2538 เพื่อว่าลูกหม้อจะได้ก้าวขึ้นไปอย่างสมศักดิ์ศรี ดีกว่าที่จะเอาคนแปลกหน้าที่ไหนมาบริหารเฉกเช่นอดีต

แต่นั่นแหละ..! วันเวลาจะพิสูจน์ว่าพละจะผ่านสนามทดสอบฝีมือครั้งนี้ได้ดีแค่ไหน..?!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us