|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ค้าก๊าซหุงต้มรายย่อยหวั่นซ้ำรอยห้างค้าปลีกยักษ์ หลังผู้ค้ารายใหญ่ในประเทศควบรวมกิจการเหลือเพียง 3 ค่าย "ปตท.-ปิคนิคแก๊ส-สยามแก๊ส" เหตุรัฐเตรียมลอยตัวราคากลางปีนี้ เกรงถูกบีบค่าการตลาด และการค้าไม่เสรีแท้จริง วอนรัฐออกกฎคุมให้เกิดความเป็นธรรมทุกด้าน ขณะที่สนพ. แจงแม้จะเหลือเพียง 3 ราย แต่ใช้ปตท.เป็นกลไกดูแลราคาได้แน่
นายสุรชัย รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมก๊าชปิโตรเลียมเหลว เปิดเผยว่า จากกรณีที่ผู้ค้าก๊าซหุงต้มในประเทศรายใหญ่มีการรวมกิจการกัน จนทำให้เหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 3 รายประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด (สยามแก๊ส) และ บริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) และกรณีที่รัฐบาลกำลังพิจารณาจะลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม ในกลางปี 2548 นั้น ทางผู้ค้าปลีกก๊าซหุงต้มรายย่อยจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพราะแนวโน้มค่าการตลาดคาดว่าจะต่ำกว่าปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1.50 บาทต่อกิโลกรัม
"ผู้ค้าปลีกรายย่อยจะได้รับแรงกดดันมากขึ้นจากรายใหญ่เพราะต่อไปจะต้องจำหน่ายก๊าซหุงต้มภายใต้แบรนด์เดียวเท่านั้น และการรวมตัวของผู้ค้ารายย่อยก็อาจทำให้เกิดการฮั้วราคากันมากขึ้น เกิดการผูกขาดการจัดจำหน่าย ไม่ก่อให้เกิดการค้าแบบเสรีตามนโยบายของรัฐบาล ขณะเดียวกันก็จะเป็นการผูกมัดประชาชนให้มีทางเลือกในการใช้สินค้าในจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นกับห้างค้าปลีกรายใหญ่เช่น บิ๊กซี โลตัสมาแล้ว" นายสุรชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯอยู่ระหว่างการศึกษาถึงแนวทางการออกกฎหมายควบคุมการจำหน่ายก๊าชหุงต้มจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ก่อนที่จะมีการประกาศลอยตัวราคาก๊าชหุงต้มในช่วงกลางปี 2548 นี้ เนื่องจากตามกฎหมายใหม่ร้านค้าปลีกที่มีปริมาณก๊าชหุงต้มตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไปต้องแจ้งการจดทะเบียนต่อกรม ธุรกิจพลังงานนั้นจะทำให้ร้านขายอาหารทั่วไปต้องมีภาระในการไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดรัฐบาลจะต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรมทุกด้านทั้ง การจำหน่าย การกำหนดราคา โดยเฉพาะในช่วงการปรับราคาขึ้นลง ที่จะต้องมีมาตรการเข้าไปกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงจะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคทั่วไป
แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า กรณีที่ทางผู้ค้าก๊าซรายย่อยวิตกกับปัญหาที่อาจจะเกิดการถูกบีบในเรื่องของค่าการตลาดนั้นเป็นเรื่องที่ภาครัฐติดตามอยู่ และรัฐบาลเองก็มี ปตท.เป็นกลไกในการที่จะสามารถเข้าไปดูแลและควบคุมราคาไม่ให้เกิดการเอาเปรียบได้อยู่แล้ว ปัญหานี้น่าจะเบาใจได้ ส่วนการลอยตัวก๊าซหุงต้มนั้นจะดูจังหวะที่ราคาตลาดโลกต่ำจนทำให้การลอยตัวไม่มีการปรับราคาจำหน่ายขายปลีกเพิ่มแน่นอน
สำหรับสถานการณ์ราคาก๊าชหุงต้ม เดือนธันวาคม 47 อยู่ที่ระดับ 421 เหรียญสหรัฐต่อตันปรับตัวลดลง 46 เหรียญต่อตัน ราคาก๊าซหุงต้ม ณ โรงกลั่นอยู่ที่ 12.4115 บาทต่อกิโลกรัม อัตราเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ระดับ 2.3416 บาทต่อกก. คิดเป็นเงิน 439 ล้านบาทต่อเดือน โดยคาดว่าเดือนมกราคม 48 ราคาก๊าซหุงต้มตลาดโลกจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 400-420 เหรียญต่อตัน อัตราเงินชดเชยยังคงอยู่ในระดับเดิมคือเฉลี่ย 2.3416 บาทต่อกก.หรือ 439 ล้านบาทต่อเดือน ที่อัตราแลกเปลี่ยน 39.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ ล่าสุดกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชยราคาก๊าชหุงต้ม อยู่ที่ระดับ 2.27 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้กองทุนฯมีภาระการตรึงราคาก๊าชหุงต้มรวมแล้ว 4,681 ล้านบาท
|
|
|
|
|