Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2548
จัดสรรรับมือสินเชื่อฝืดเข้มปล่อยกู้หวั่นหนี้เสีย             
 


   
search resources

Real Estate




ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ชี้ปี 48 สินเชื่อโครงการฝืด เหตุแบงก์เข้มปล่อยกู้ ผู้ประกอบการต้องพัฒนาโครงการมีศักยภาพเท่านั้นจึงปล่อยให้ ด้านศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เปิดตัวเลขยอดสินเชื่อ ผู้ประกอบการปล่อยใหม่ทั่วประเทศ รอบ 9 เดือนกว่า 16,201 ล้านบาท ระบุอัตราปล่อยกู้ลดความร้อนแรงสะท้อนความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของแบงก์ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยขยายตัวต่อเนื่อง

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยถึงแนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2548 ว่า ในการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าไม่มีปัญหาเนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการรายใหญ่ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งกลุ่มนี้จะมีแหล่งเงินจากการออกตราสาร จึงไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของแหล่งเงินจากธนาคาร

ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาคือสินเชื่อสำหรับพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในส่วนของผู้ประกอบการนอกตลาด ทั้งรายกลาง-รายย่อยจะมีโครงการที่มีศักยภาพมากพอที่จะขายได้หรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ของฟองสบู่ในอดีตของภาคอสังหาฯ ทำให้ธนาคาร ต่างระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันธนาคารจะเข้าไปตรวจสอบศักยภาพของโครงการและยอดขายอย่างใกล้ชิดและเข้มงวด จากที่ก่อนหน้านี้จะพิจารณาจากหลักทรัพย์ ค้ำประกันเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบหลายประการที่ทำให้สินเชื่อสำหรับการพัฒนาโครงการชะลอตัวลงไปบ้าง ซึ่งได้แก่ 1. การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอลง ซึ่งจะทำให้รายได้ของผู้ซื้อบ้านลดลง นอกจากนี้ การคาดการณ์รายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้ผู้ซื้อเกิดความไม่มั่นใจในการซื้อบ้าน 2. ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนเพิ่ม ผู้ประกอบการจะผลักภาระ โดยเพิ่มราคาบ้านซึ่งจะส่งผลให้ยอด ขายชะลอตัวลง และ 3. สถาบันการเงินจะนำบ้านมือสอง หรือบ้านหลุดจำนองออกมาทำโปรโมชันขายมากขึ้น ทำให้ไปแย่งแชร์ตลาดบ้านมือ 1 มาบางส่วน

"อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสินเชื่อรายย่อยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เชื่อว่าจะมีการขยายตัวตามปกติ เนื่องจากความต้องการยังคงมีอยู่ หากผู้ซื้อไม่ซื้อบ้านมือ 1 ก็จะหันไปซื้อบ้านมือสองหรือไปซื้อในบ้านระดับราคาอื่นๆ ที่ผู้ซื้อมีความสามารถในการซื้อ ส่วนสินค้าที่เชื่อว่าจะขายดีในปีนี้จะเป็นสินค้าที่มีระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม แต่บ้านระดับราคาดังกล่าวจะอยู่ระยะไกลออกไปจากย่านธุรกิจ" นายกิตติกล่าว

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงรายงานการขยายตัวด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยว่า ศูนย์ข้อมูลฯได้รวบรวมข้อมูลการใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยรายใหม่ จากธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สำหรับไตรมาส 3 ณ เดือนกันยายน 2547 พบว่า ในส่วนของสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาโครงการ มียอดการใช้บริการสินเชื่อกว่า 6,942 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการประเภท การจัดสรรที่ดินและที่อยู่อาศัย จำนวน 4,476 ล้านบาท, สินเชื่อเพื่อการจัดหาและจัดสร้างอาคารชุดและแฟลต จำนวน 1,786 ล้านบาท และเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาและจัดสร้างอาคารพาณิชย์และตึกแถว จำนวน 681 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาจากยอดสินเชื่อผู้ประกอบการปล่อยใหม่ทั่วประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2546 เทียบกับปี 2547 จะเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ ในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปี 2546 มีผู้ประกอบการาใช้บริการสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่ารวม 15,984 ล้านบาท ส่วนในไตรมาสแรกปี 2547 มีมูลค่า 12,243 ล้านบาท และไตรมาส 2 จำนวน 16,201 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 3 สินเชื่อผู้ประกอบการปล่อยใหม่มีมูลค่าเพียง 6,942 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้ยอดโดยรวมของสินเชื่อผู้ประกอบการปล่อยใหม่ทั่วประเทศ 9 เดือนแรก มีมูลค่ารวมกว่า 35,386 ล้านบาท

สำหรับมูลค่าสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยคงค้างทั่วประเทศไตรมาส 4 ปี 2546-ไตรมาส 2 ปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเช่นเดียวกันโดยสินเชื่อผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยคงค้างในพื้นที่กรุงเทพฯขยายตัวเพิ่มจาก 126,990 ล้านบาท เป็น 143,298 ล้านบาทในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 จากนั้นเพิ่มเป็น 152,296 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2547 และเพิ่มเป็น 161,347 ล้านบาท ในไตรมาส 3

ในขณะที่มีการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย แก่บุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีจำนวน 114,313 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่ดิน บ้าน หรือที่ดินพร้อมบ้านอยู่อาศัย จำนวน 91,171 ล้านบาท เป็นสินเชื่อซื้อห้องชุดและแฟลต จำนวน 7,376 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อซื้อตึกแถว จำนวน 15,766 ล้านบาท

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการภาคเอกชน มีอัตราการขยายตัวที่ไม่ร้อนแรงเกินไป ในขณะที่ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าสินเชื่อบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศ โดยมีการขยายตัวเพิ่มจาก 30,323 ล้านบาทในไตรมาสแรก เป็น 38,598 ล้านบาทในไตรมาส 2 และเพิ่มเป็น 45,393 ล้านบาท ในไตรมาส 3

ทั้งนี้ จำนวนการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินเชื่อบุคคล ทั่วไปปล่อยใหม่ สะท้อนให้เห็นภาพความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และคาดว่าภาพจะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นใน ช่วงไตรมาสสุดท้ายว่าในปี 2547 อัตราการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัยจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 10-15% ตามที่ประมาณการกันไว้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us