Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2548
อาร์.เอส.ฯยุบไอเอ็มซีคนอีจีวียกพลร่วมงาน             
 


   
www resources

โฮมเพจ อาร์.เอส. โปรโมชั่น

   
search resources

อาร์เอส, บมจ.
Entertainment and Leisure




โครงสร้างอาร์.เอส.ฯ ยังไม่ลงตัว ปรับแล้วปรับอีก ล่าสุดยุบฝ่ายไอเอ็มซี พร้อมกับเปิดทางรับผู้บริหารกลุ่มใหม่ อดีตคนอีจีวียกพลเข้าร่วมงานเพียบ หลังต้องออกจากอีจีวีเมื่อควบรวมกับเมเจอร์ฯ

ยังคงมีความเคลื่อนไหวในการปรับผังองค์กร ไม่หยุดหย่อนสำหรับบริษัท อาร์.เอส.ฯโปรโมชั่น จำกัด ยักษ์ใหญ่ทางด้านบันเทิงอีกรายของไทย แม้ว่าในช่วงปี 2547 ที่ผ่านมา มีการปรับผังองค์กรขนานใหญ่กันไปแล้วก็ตาม เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกธุรกิจบันเทิงปี 2548 นี้ ด้วยข่าวที่ติดตามหลังมาในแง่ลบ ซึ่งที่หนักที่สุดก็คือข่าวที่ว่า อาร์.เอส.ฯ ปลดพนักงานกว่า 300 ชีวิต เพื่อให้องค์กรอยู่รอด จนสุดท้ายผู้บริหารของอาร์.เอส.ฯอดรนทนไม่ไหวต้องเปิดแถลงข่าวโต้กระแสลบ โดยปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งตัวเลขที่ถูกต้องนั้น มีการออกเพียง 30 กว่าคนเท่านั้นเอง

การปรับโครงสร้างองค์กรเมื่อช่วงต้นปีของอาร์.เอส.ฯ เป้าหมายของ นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ อาร์.เอส.ฯ ย้ำว่า ทุกหน่วยธุรกิจต้องมีกลยุทธ์ของตัวเองเพื่อสร้างรายได้และกำไรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจภาพยนตร์ ที่ต้องหาพันธมิตรที่อยู่ในธุรกิจสินค้า เพื่อง่ายต่อการทำตลาดกับผู้บริโภค ธุรกิจสื่อต้องมีแผนเพิ่มรายได้ เป็นต้น

ทว่าล่าสุด อาร์.เอส.ฯก็มีข่าวให้แคะคุ้ยกันอีกเมื่อโครงสร้างใหม่เริ่มศักราชปี 2548 มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

สิ่งที่น่าสังเกตคือ ฝ่ายไอเอ็มซี หรือชื่อเต็มว่า อินติเกรตเต็ด มาร์เกตติ้ง คอมมูนิเคชั่น ซึ่งอาร์.เอส.ฯเพิ่งเปิดตัวฝ่ายนี้เมื่อช่วงปลายปีไม่นานนี้เอง โดยมีนายธาตรี ใต้ฟ้าพูล เข้ามานั่งบริหารในตำแหน่งหัวเรือของฝ่ายนี้ เพื่อหวังที่จะใช้เป็นหัวหอกในการรุกทำกิจกรรมหรือสร้างสัมพันธ์กับผู้บริโภค ตลอดจนสื่อต่างๆ ให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

ถือเป็นการยกระดับฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์กรให้ขึ้นมามีบทบาทมากกว่าการเป็นแค่ประชาสัมพันธ์ธรรมดา ซึ่งก่อนหน้านี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอาร์.เอส.ฯ ดูเหมือนว่าจะมีการเข้าออกกันบ่อยเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม ก่อนพ้นข้ามปี 2547 ก้าวเข้าสู่ 2548 ก็เกิดกระแสข่าวที่ว่าอาร์.เอส.ฯจะยุบฝ่ายนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนในเวลานี้ก็คือ ทีมงานส่วนหนึ่งรวมทั้งนายธาตรี นางสาวเบญจา แซ่เซีย ได้ลาออกจาก อาร์.เอส.ฯไปแล้ว โดยมีผลตั้งแต่เมื่อปลายปี 2547

โดยที่ฝ่ายการตลาดทั้งหมดจะขึ้นตรงต่อนายยรรยง อัครจินดานนท์ ที่เพิ่งเข้ามาร่วมงานกับทางอาร์.เอส.ฯเพียงปีเศษ หลังจากที่ออกมาจากทราฟฟิกคอร์เนอร์

ไม่ว่าการลาออกของนายธาตรี อาจจะทำให้ฝ่ายไอเอ็มซีต้องถูกยุบ หรือการที่อาร์.เอส.ฯจะยุบไอเอ็มซีจึงทำให้นายธาตรีต้องลาออกก็แล้วแต่ ไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญเท่ากับองค์ประกอบของการขับเคลื่อนของอาร์. เอส.ฯ จากนี้ไปจะมีความลงตัวแล้วหรือไม่กับกลยุทธ์และโครงสร้างที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2547 อย่างหนักหน่วง ขณะที่ธุรกิจบันเทิงยังคงห้ำหั่นและฟาดฟันกันไม่หยุดหย่อน

อาร์.เอส.ฯเองก็เหมือนกับองค์กรอื่นที่มีคนเข้าออกหมุนเวียนกันถี่องค์กรหนึ่งในแวดวงธุรกิจบันเทิง

ว่ากันว่าคราวนี้ ทีมงานใหม่มากันมากมาย ทั้งระดับหัว ระดับหาง ระดับบน ระดับล่าง ซึ่งเป็น กลุ่มที่เคยร่วมงานกับทางค่ายอีจีวี ซึ่งเป็นผู้ประกอบ การโรงภาพยนตร์รายใหญ่รายหนึ่งของไทย เรียกได้ว่ามากันยกโขยงก็ว่าได้ โดยมีผลเข้าทำงานในอาร์.เอส.ฯ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548

ทั้งนายประสงค์ รุ่งสมัยทอง นายโสภัช สิทธิสมวงศ์ นางณัชชา โกมลวัจนะ นางสาวโสภา เฟื่องปัญญา นางสาวรสวรรณ ดวงสร้อยทอง และคนอื่นๆ อีกมากที่ติดสอยห้อยตามกันมา

กลุ่มคนเหล่านี้เป็นอดีตคนอีจีวีที่หันหลังให้กับอีจีวี ก็ด้วยสาเหตุของการที่เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์เข้ามาควบรวมกิจการกับอีจีวีเอนเตอร์เทนเมนท์ เมื่อกลางปีที่แล้วซึ่งถือเป็นการรวมสองกิจการใหญ่ ที่ทำให้คนที่อยู่ต่างขั้วกันอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาองค์กรได้

หนึ่งในกลุ่มคนเหล่านี้คือนายประสงค์ ก็เคยร่วมงานกับทางแกรมมี่มาก่อนซึ่งถือเป็นคู่แข่งกับทางอาร์.เอส.ฯ ก่อนที่จะไปร่วมงานกับทางไอแมกซ์ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์และท้ายสุดที่อีจีวี ซึ่งถือเป็นธุรกิจบันเทิงเหมือนกัน จึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่อาร์.เอส.ฯเปิดทางให้มาร่วมงานด้วย

ก่อนหน้านี้นายยรรยง อัครจินดานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ อาร์.เอส.ฯ เคยกล่าวไว้ว่า บริษัทฯเตรียมที่จะรุกหนักธุรกิจกิจอาร์ตทิสแมเนจเมนท์ หลังจากที่ทำมาบ้างแล้วแต่ยังไม่เต็มที่นัก โดยในปี 2548 จะมีผู้บริหารคนใหม่เข้ามาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะและจะแยกออกมาเป็นอีกฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ

เป็นที่คาดว่า ผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาดูแลธุรกิจ ฝ่ายนี้ก็คือ คนจากอีจีวีนั่นเอง

ความจริงแล้ว หัวเรือใหญ่อย่างนายสุรชัย มีความมั่นใจหลังจากการปรับโครงสร้างเสร็จเมื่อช่วงปีที่แล้วว่า องค์กรจะมีการเติบโตต่อเนื่อง ทุกธุรกิจจะมีการขยายงาน โดยสัดส่วนรายได้เดิมของอาร์.เอส.ฯ 40-45% มาจากธุรกิจเพลง ธุรกิจสื่อตามมา เป็นอันดับที่สอง มีส่วนแบ่งที่ 30% ขณะที่อีก 25% มาจากรายได้ในธุรกิจอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ นิวมีเดีย ซึ่งภายหลังปรับโครงสร้างคาดว่าจะทำให้ทั้งกลุ่มบริษัทสามารถทำรายได้เติบโตได้อีกกว่า 15% ในปี 2548

ส่วนตลาดรวม คาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ โดยมีกลุ่มสื่อและนิวมีเดียที่จะมีบทบาทในการสร้างรายได้มากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us