แบงก์หนุนการผ่อนเกณฑ์รายได้บัตรเครดิตเงินเดือนขั้นต่ำ1หมื่นบาทช่วยกระตุ้นตลาดและภาพรวมของเศรษฐกิจ
ได้ใจธปท.ควรยกเลิกเพดานปล่อยกู้ไม่เกิน 2 เท่า เชื่อระบบบริหารความเสี่ยงของแบงก์ควบคุมได้
แต่ธปท.ควรทำหน้าที่ตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อถูกต้องตามกลไกหรือไม่ ด้านอิออนไม่หวั่นหากต้องถูกควบคุมโดยธปท.ตามพรบ.บัตรเครดิตใหม่
มั่นใจศักยภาพของบริษัท มีความโปร่งใส
แหล่งข่าวจากบริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่าการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)จะนำอิออนเข้าไปควบคุมดูแล นั้นไม่ถือว่ากระทบต่อบริษัทเนื่อง จากเป็นการปรับมาตรฐานการทำบัตรเครดิตมากกว่า
และถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะปัจจุบันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)บัตรเครดิต ยังไม่มีผลบังคับใช้
บริษัทไม่ได้วิตกหรือ ตื่นเต้นใน เรื่องดังกล่าว เพราะปัจจุบันบริษัทก็อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)และ
ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งต้องมีการเปิดเผยข้อมูลทุก 3 เดือนอยู่แล้ว
และการดำเนินงานของบริษัทที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันก็โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
แต่ก่อนที่บริษัทจะเข้ามาเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์บริษัทก็อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์
อยู่แล้วดังนั้นไม่ว่าบริษัทจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยงานใดบริษัทก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไร"แหล่งข่าวกล่าว
ในส่วนของการบริหารงานบริษัทใช้นโยบายการ บริหารงานอย่างระมัดระวังมากหากลูกค้าหยุดชำระเป็นเวลา
3 เดือนบริษัทก็ตั้งสำรอง 100% ทันที หาก หยุดชำระ 6 เดือนก็ตัดเป็นหนี้สูญส
ณ สิ้นพ.ย. 2544 บริษัทมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอลไม่ถึง
2% จากพอร์ตที่ได้ปล่อยไปแล้วประมาณ 7,000ล้านบาท
ส่วนตัวเลขล่าสุดยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จเหตุ ผลที่เอ็นพีแอลน้อย เพราะสินเชื่อที่บริษัทไปนั้นเป็นลูกค้ารายย่อยจริงๆ
คือส่วนใหญ่จะกู้ในวงเงิน 10,000-50,000 ทำให้กระจายความเสี่ยงได้ดี แบงก์สิงคโปร์หนุนแนวคิดธปท.
กระตุ้นเศรษฐกิจ-เพิ่มลูกค้า
นายธนชัย ธนชัยอารีย์ ผู้ช่วยกรรมการจัดการ ธนาคารยูโอบีรัตนสิน จำกัด (มหาชน)
UOBRเปิดเผยว่าหากธปท.ผ่อนปรนเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำของผู้ที่ทำบัตรเครดิต จาก15,000
บาท ต่อเดือน เหลือ 10,000 บาท ต่อเดือนจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวดีขึ้นและจะทำให้ขยายฐานลูกค้าที่จะทำบัตรเครดิตได้มากขึ้น
และเป็นสิ่งดีต่อผู้บริโภคเพราะสามารถเพิ่มทางเลือกในการกู้เงินจาก ระบบธนาคารพาณิชย์ได้แทนที่จะไปกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก
แม้ว่าแนวโน้มธปท.จะผ่อนเกณฑ์ดังกล่าวจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แบงก์จะลงมาแข่งกับอิออน
หรือจีอี เพราะแต่หน่วยงานก็มีฐานลูกค้าที่ต่างกันแต่ ถือว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ามากกว่า
นายธนชัยกล่าว
แต่สิ่งที่ต้องการในขณะนี้คือการยกเลิกเพดาน วงเงินปล่อยกู้สูงสุดของบัตรเครดิตที่2
เท่า เพราะหาก ยกเลิกจะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อ ได้มากขึ้นนอกจากนี้เรื่องรายได้ขั้นต่ำก็ไม่ควรกำหนด
เนื่องจากในขณะนี้สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีระบบบริหารความเสี่ยง และมีการวัดผลติดตามอยู่แล้ว
นอกจากนี้ธนาคารแต่ละแห่งยังต้องปฏิบัติตาม กรอบธปท.เกี่ยวกับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส)
อยู่แล้ว
"ทั้งนี้หากธปท.มีความสงสัยในการปล่อยสินเชื่อก็สามารถเข้ามาตรวจสอบได้อยู่แล้วอย่างไรก็ตาม
หากธปท.ไม่มีการกำหนดกรอบบัตรเครดิตก็จะทำ ให้ ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น"
นายธนชัยกล่าวให้เห็นปัญหา
ยกเลิกเพดานบัตรเครดิต แบงก์บริหารความเสี่ยงเอง
นายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด ในเครือธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) KTB กล่าวว่าหากเกณฑ์ใหม่ของธปท.ประกาศใช้จริงจะทำให้สามารถขยายฐานบัตรเครดิตมากกว่า1
ล้านบัตร แต่สิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการในขณะนี้คือยกเลิกเพดานอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตที่ธปท.กำหนดไว้ไม่เกิน
2 เท่าของรายได้
ธปท.ควรยกเลิกเพดานกำหนดวงเงินสูงสุดและยกเลิกรายได้ขั้นต่ำโดยกรอบการทำธุรกิจ
ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งตัดสินใจ ว่าจะเจาะกลุ่มลูกค้าไหนทั้งนี้ในการทำธุรกิจ
ของธนาคารแต่ละแห่งจะมีขบวนการควบคุมติดตาม ดูแลรวมทั้งมีระบบบริหารความเสี่ยงความเสี่ยงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท.ก็ยังมีหน้าที่ในการกำกับก็ ควรทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินว่า
1.วิธีการอนุมัติสินเชื่อดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่มีกลไกบริหารความเสี่ยงที่ดีพอหรือไม่
2.มีฐานะการเงินเป็นอย่างไร มีความมั่นคงในการทำธุรกิจต่อไปหรือไม่หรือมีเงินเพียงพอต่อการตัดหนี้ที่เกิดขึ้นหรือไม่
เรื่องเหล่านี้ธปท.สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อยู่แล้วส่วนเรื่องของกรอบในการทำธุรกิจน่าจะปล่อย
ให้เอกชนเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกกลุ่มลูกค้ากันเอง
แบงก์ปรับเป้าบุกบัตรเครดิต กระตุ้นการใช้จ่าย
นางสาววรรวิมล กนกธนาพร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานผลิตภัณฑ์ผู้บริโภค ธนาคารเอเชีย
จำกัด (มหาชน) BOA เปิดเผยว่า หากธปท.ลดเกณฑ์ ดังกล่าวจริงก็จะทำให้ฐานลูกค้ามีมากขึ้นแต่การที่ฐาน
ลูกค้ามีมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าคนที่มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือนจะได้รับอนุมัติบัตรเครดิตทุกคน
การอนุมัตินั้นขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารมากกว่าหากลูกค้ามีความสามารถในการชำระ
มีวินัยทางการเงิน ธนาคารก็จะอนุมัติให้ แต่หากไม่มีวินัยไม่มีความสามารถในการชำระคืน
ธนาคารก็คงไม่อนุมัติให้
เชื่อว่าทุกธนาคารคงปรับเป้าอัตราการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตในปีนี้ เพราะเค้กใหญ่ขึ้น
สำหรับ แบงก์เอเชียเชื่อว่าจะทำให้ถึงเป้าหมายได้เร็ว ขึ้นและอาจทะลุเป้าที่ตั้งไว้ว่าในปีนี้จะมีบัตรใหม่เพิ่ม
60,000 บัตร โดยธนาคารยังเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และยังต้องการให้ลูกค้าใช้บัตรของธนาคาร
เป็นบัตรแรกที่ผ่านมามีการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยเฉลี่ย 8,000-10,000บาทต่อเดือน
ส่วนการพิจารณานั้นธนาคารเอเชียยังยึดหลักแบบรัดกุม เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลังมากหากมีปัญหาธนาคารก็มีการติดตามหนี้ที่ดีอยู่แล้ว
วิจัยกสิกรฯคาดการแข่งขันรุนแรง
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์ แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตปี 2545
ขยายฐานและเพิ่ม ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร"ว่าการที่ธปท.เตรียมพิจารณาเงื่อนเวลาในการผ่อนคลายเกณฑ์วงเงินราย
ได้ขั้นต่ำของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิต ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธนาคารมีช่องทางในการขยายบริการ
ไปยังฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น
คาดว่าหากมีการประกาศใช้เกณฑ์ใหม่เนิ่นๆจะมีโอกาสที่ฐานบัตรเครดิตในระบบธนาคารพาณิชย์
ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นได้ถึง 1 ล้านบัตรเป็น 3.5 ล้านบัตร ตามที่ชมรมบัตรเครดิตประมาณการไว้
เฉพาะอย่างยิ่งหากธนาคารยังคงจัดรายการส่งเสริมการตลาด ด้วยการให้ถือบัตรฟรีในปีแรกพร้อมของแถม"
อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมต่อจำนวนบัตรในปี 2544
กลับปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้า 6.8% จากที่เคยอยู่ในระดับ 60,300 บาทต่อบัตรต่อปี
ในปี 2543เหลือเพียง 56,200 บาทต่อบัตรต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนบัตรออกใหม่
ขยายตัวในอัตราเร่งมากกว่าปริมาณการใช้จ่าย
โดยสรุปแล้ว กลยุทธ์การตลาดเพื่อช่วงชิงลูกค้าบัตรเครดิตนั้น นอกจากจะต้องออกผลิต
ภัณฑ์ที่หลากหลายมากระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ยังต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะให้กับลูกค้า
เพื่อสร้างความภักดีและนิยมใช้ผลิต ภัณฑ์ของธนาคารเป็นอันดับแรก