|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดแผนลึกทนายนักเทกโอเวอร์ "วิชัย ทองแตง" เล็งควบกิจการโรงพยาบาลเปาโล-พญาไท เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในปี 48 ก่อนเปิดทางพันธมิตรจากสิงคโปร์ "พาร์ค เวย์ กรุ๊ป" เข้าร่วมทุน
แหล่งข่าววงการแพทย์เปิดเผยว่า กระแสการควบกิจการของโรงพยาบาลในปีนี้คาดว่าจะมีมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มธุรกิจและลดต้นทุนการดำเนินงาน หลังจากที่ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นกระแสการควบกิจการ หรือการเข้าไปถือหุ้นไขว้ของโรงพยาบาลเอกชน ล่าสุดมีกระแสข่าวระบุว่า กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลเปาโล ซึ่งมีนายวิชัย ทองแตง ทนายความชื่อดังคดีซุกหุ้น ในฐานะประธานบริหาร บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน)(PYT) เตรียมที่จะควบกิจการระหว่างโรงพยาบาลเปาโล และโรงพยาบาลพญาไท เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับโรงพยาบาลในเครือ "หลังจากที่ควบกิจการโรง พยาบาลเปาโลและโรงพยาบาลพญาไท แล้วสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลพญาไทจะดีขึ้น เนื่องจากมีขนาดสินทรัพย์เพิ่ม ส่งผลให้ยอดขาดทุนสะสมปรับตัวลดลง ทำให้จูงใจให้นักลงทุนต่างชาติที่สนใจร่วมทุน ตัดสินใจเข้ามาลงทุนได้ง่ายขึ้น"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มพาร์ค เวย์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนในสิงคโปร์ ได้แสดงเจตจำนงเข้ามาร่วมทุนกับโรงพยาบาลพญาไท โดยต้องการเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 30% แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งในส่วนของนายวิชัย ต้องการที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจของทั้งสองโรงพยาบาลให้มีความ แข็งแกร่ง ซึ่งจะทำให้สามารถต่อรองเรื่องราคาหุ้นกับกลุ่มพันธมิตรใหม่ที่จะเข้ามาร่วมทุนได้
นายวิชัย ทองแตง ประธานบริหาร บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน)(PYT)เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของโรงพยาบาลพญาไท หลังจากออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ผ่านศาลล้มละลายกลาง โดยในปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลพญาไทได้มีการปฏิรูปใน 3 ด้าน คือ 1.การปฏิรูปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ซึ่งได้มีการปรับแนวคิดให้พนักงานทราบถึงจุดยืนของโรงพยาบาล เพื่อยกระดับให้เป็นผู้นำตลาด 2. การปฏิรูปรูปแบบองค์กรให้มีความทันสมัยมากขึ้น และ 3. ปฏิรูปภาพลักษณ์องค์กรให้มีความทันสมัย และเครื่องมือการแพทย์มีประสิทธิภาพ
สำหรับงบลงทุนเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลพญาไท ให้มีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของภาพลักษณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ ในปี 2547 ได้ลงทุนไปกว่า 350 ล้านบาท ส่วนในปี 2548 ตั้งงบประมาณไว้จำนวน 300-500 ล้านบาท
ส่วนทิศทางการดำเนินงานของโรงพยาบาลพญาไท 1,2 และ 3 จะมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน โดยโรงพยาบาลพญาไท 1 จะเน้นกลุ่มลูกค้า ที่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมีอาจารย์แพทย์จำนวนมาก ที่มีความรู้ความชำนาญ และที่สำคัญมีความชำนาญด้านโรคทางสมอง ทรวงอก ซึ่งจะเน้นจุดขายในด้านนี้ให้มีความโดดเด่นมากกว่าเดิม
ขณะที่โรงพยาบาลพญาไท 2 เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับปานกลางและสูง เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนในวัยทำงาน และจะปรับปรุงบางส่วนเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพในภูมิภาค (Healt Hub)
สำหรับโรงพยาบาลพญาไท 3 ซึ่งอยู่ด้านฝั่งธนบุรี มีจุดขายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแม่และเด็ก และมีการขยายตัวดีกว่าโรงพยาบาลในเครือทุกแห่ง
นายวิชัย กล่าวว่า ทิศทางในปีหน้ากลุ่มโรงพยาบาลจะมีการควบกิจการ และการเข้าไปถือหุ้นโรงพยาบาลแห่งอื่นในลักษณะของการแลกหุ้น (สวอป) เพื่อเสริมสร้างการเป็นเครือข่ายการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจุดนี้จะสร้างอำนาจในการต่อรองซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ และใช้เทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจได้ โดยคาดว่าจะมีการเข้าไปถือหุ้นโรงพยาบาลอีก 3 แห่งในปี 2548
"แนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลในปี 2548-2549 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง เพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ ซึ่งจุดนี้คาดว่าจะดึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการในไทยเพิ่มขึ้น"
นายวิชัย กล่าวว่า ในขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติ สนใจร่วมทุนกับกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท แต่ไม่สามารถที่จะบอกรายละเอียดได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างเจรจา และต้องการที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่ม โรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดฯได้อีกครั้งในช่วงปลายปี 2548
|
|
|
|
|