|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2548
|
|
ระบบการศึกษาของไทยในระดับพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ที่มิใช่มาจากความพยายามปรับตัวทางเทคนิคของกระทรวงศึกษาธิการของไทยแต่อย่างใดไม่ หากเป็นผลพวงมาจาก "ความล้มเหลว" ของระบบการศึกษาที่มีดัชนีบ่งชี้หนักแน่นอย่างไม่เคยมีมาก่อนมากขึ้น ๆ
โดยเฉพาะการศึกษาของผู้คนระดับบนของสังคมไทยผู้คนกลุ่มนี้เผชิญแรงบีบคั้นจากโลกยุคใหม่มากกว่าคนทั่วไป มีความคาดหวังต่อการศึกษาของบุตรหลานของตนเองมากกว่า ต้องการบุคลากรที่มีการศึกษาที่ดีมาทำงานให้มากกว่า บุคคลกลุ่มนี้คือพลังที่เปลี่ยนแปลงความคิดที่มีปฏิกิริยาต่อสังคมอย่างกระฉับกระเฉง ที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าทั่วไป
จากการศึกษาการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก 500 อันดับแรก (Academic Ranking of World University 2004) ปรากฏว่าไม่มีมหาวิทยาลัยไทยติดแม้แต่แห่งเดียว แม้ว่าการจัดครั้งนี้จะมาจากมหาวิทยาลัยของจีนแผ่นดินใหญ่ (Institute of Higher Education, Shanghai Jiao Tong University) แต่ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับกันมาก มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง (แน่นอนที่อยู่ในอันดับต้นๆ) จะอ้างการจัดอันดับนี้ และมหาวิทยาลัยในเอเชียอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินเดีย หลายแห่งอยู่ในอันดับนี้ ยิ่งไปกว่านั้นใน Top 100 Asia-Pacific University มหาวิทยาลัยก็ไร้วี่แวว
ขณะเดียวกันมีการปรับตัวของมหาวิทยาลัยอย่างน่าสนใจ ที่ดูเหมือนมีความคิดระดับโลกมากขึ้น ช่วงใกล้นี้มหาวิทยาลัยไทยมีพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยระดับโลกมากขึ้นอย่างครึกโครม แม้ว่าแนวความคิดนี้จะเกิดขึ้นมาแล้วนับสิบปี แต่ในช่วงนี้ถือเป็นการปรับขบวนกันครั้งใหญ่ มีหลักสูตรนานาชาติที่ให้ Double Degree ดูเหมือนเป็นความก้าวหน้าของเรา แต่ความจริงเป็นการยอมรับความ "ล้าหลัง" ของตนเอง เพราะเป็นการสร้างพันธมิตรฝ่ายเดียว (ความหมายที่แท้จริงคือมหาวิทยาลัยไทยเป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยระดับโลก) มีความหมายเฉพาะในเมืองไทย ตลาดไทย แต่ต้องแบ่งค่าเล่าเรียนให้มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เป็นความคิดที่ยอมรับว่าเครดิตของมหาวิทยาลัยไทยตกต่ำ จนต้องใช้เครดิตของมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาเสริม
แต่นัยหนึ่ง ก็คือมหาวิทยาลัยและระบบการศึกษากำลังถูกผลักดันเข้าไปอยู่ในเครือข่ายการศึกษาระดับโลกมากขึ้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทรงพลังอิทธิพลมากกว่าเครือข่าย Fast foods มากมายนัก
รายงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าตกใจ ศึกษาความสามารถของนักเรียนอายุ 15 ปี จากหน่วยงาน OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่เรียกว่า PISA (The Programme for International Student Assessment) รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2000 นับเป็นรายงานฉบับที่สอง (PISA 2003) ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง ในหัวข้อ Learning for Tomorrow's World
ความจริงเป็นการศึกษาความสามารถในการใช้วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่าน และการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของวัยรุ่นในประเทศอุตสาหกรรม (30 ประเทศ) และประเทศที่เป็นพาร์ตเนอร์ อีก 11 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ผลของรายงานฉบับนี้ ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มท้ายตารางในทุกวิชา นอกจากจะสะท้อน "ความล้มเหลว" ของระบบการศึกษาอย่างหนักอีกครั้งหนึ่งแล้ว ยังเป็นการทำลายความเชื่อที่ว่าเด็กไทยในฐานะเป็นคนเอเชียที่เก่งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่าโลกตะวันตกเสียสิ้น
เช่นเดียวกันการปรากฏขึ้นของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยอย่างเป็นระบบนั้นไม่เกิน 5 ปีมานี้ และกำลังกลายเป็นสิ่งที่น่าทึ่งของระบบการศึกษาไทยที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ระดับโลก ทั้งในมาตรฐานการศึกษาและธุรกิจระดับภูมิภาคใหม่ของไทยด้วย
แม้ว่าประเทศไทยจะมีโรงเรียนนานาชาติมาแล้วประมาณ 50 ปี แต่อยู่ในวงแคบๆ และมีการก่อตั้งโรงเรียนชนิดนี้กันมากในช่วงรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ที่เปิดเป็นธุรกิจเสรี แต่ความจริงพัฒนาการและการปรับตัวครั้งใหญ่เกิดขึ้นไม่นานมานี้เอง
เป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง ประเทศไทยเป็นแห่งเดียวในโลกที่มีโรงเรียนนานาชาติขึ้นอย่างครึกโครม เป็นแห่งเดียวในโลกที่โรงเรียนเอกชนชั้นนำของอังกฤษถึง 4 แห่งเปิดเครือข่ายของตนเองในประเทศไทย ประเทศที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเป็นประเทศที่มี "ความล้มเหลว" ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างมากด้วย
เรื่องนี้มีสีสันที่สนใจอีกมาก
www.ed.sjtu.edu.cn/rank/2004
www.pisa.oecd.org
|
|
|
|
|