Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
ประเทศที่สามของโลกที่จะให้สิทธิกับพวกเขาและพวกเธอ             
โดย ธนิต แก้วสม
 





การเรียกร้องสิทธิแห่งความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันระหว่างหญิงกับชาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเรื่อยมาในโลกยุคใหม่ (นับตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19) โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 มีกระแสการเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านทางองค์กรสตรีทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น จนถึงทุกวันนี้ถือได้ว่าได้รับความก้าวหน้าไปอย่างมากในเรื่องสิทธิของสตรี ในเกือบทุกประเทศผู้หญิงมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้ง ผู้หญิงมีโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับผู้ชาย ผู้หญิงดำรงตำแหน่งงานสำคัญๆ ในระดับประเทศ อย่างเช่น รัฐมนตรีหรือ ประธานาธิบดี หรือเป็นประธานบริษัทสำคัญๆ หลายแห่ง โดยสรุปก็คือผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและสังคม

และในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกันที่สังคมโลกต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ของการเรียกร้องแบบใหม่ คือการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของผู้ชายกับผู้ชาย และผู้หญิงกับผู้หญิง แน่นอนก็คือเรากำลังพูดถึงกลุ่มประชากรที่ชื่อว่า Homosexual หรือเกย์และเลสเบียนนั่นเอง

สำหรับในประเทศสเปน มีการเรียกร้องกันอย่าง เป็นจริงเป็นจังมานานแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับผลแต่อย่างใด แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้เกิดเป็นข่าวใหญ่ขึ้นเมื่อพรรค สังคมนิยม PSOE นำโดย ซาปาเตโร่ นายกรัฐมนตรี ได้รับเลือกมาเป็นรัฐบาล (พรรคนี้ได้ชูนโยบายของสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองเป็นสำคัญ) ได้ประกาศร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง ที่อนุญาตให้คู่สมรสเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย

นับเป็นความคืบหน้าที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุด ตามคำเรียกร้องของประชากร Homosexual ที่ได้ทำการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง และถือว่าเป็นการทำตามคำมั่นสัญญาของฝ่ายรัฐบาลด้วย

แม้ว่าจะเป็นเพียงร่างกฎหมายแต่ก็ได้สร้างความพึงพอใจเป็นอย่างมากให้กับประชากรกลุ่มดังกล่าว มันเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองแบบเต็มตัวซะที ซึ่งที่ผ่านมาพวกเขามีความรู้สึกว่าถูกลิดรอนสิทธิ์ในหลายๆ ประการ และยังถูกสังคมประณามและถูกมองว่าเป็น "พลเมืองพิเศษ"

ในวันที่รัฐบาลได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ตัวแทนรัฐบาลได้ให้ความเห็นว่า "นับเป็นวันที่สำคัญมาก วันหนึ่งสำหรับพลเมืองอีกหลายล้านคน ที่ได้ประสบ กับปัญหาของความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมตลอดมา ซึ่งก็นับว่าเป็นความสำเร็จของทุกคนและทุกฝ่าย ที่สังคม ได้เล็งเห็นความสำคัญและผลักดันให้เกิดความเท่าเทียม กันภายในสังคมอย่างแท้จริง"

"มันเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความเท่าเทียมกันและความเสมอภาคของทุกคนอย่างแท้จริง"

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เจตนารมณ์ของร่างกฎหมาย ฉบับนี้มีความตั้งใจจะให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันกับคู่แต่งงานปกติทุกประการ อาทิ การมีบุตร (การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม), การรับมรดก, การประกันชีวิต, การหย่าร้าง, การเปลี่ยนสัญชาติของคู่ครอง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม หากดูใน รายละเอียดแล้วก็จะพบว่ายังมีข้อที่ต้องถกเถียงและอภิปรายกันพอสมควร อย่างเช่น การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมของคู่สมรสเพศเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนมาก

มีการประมาณกันว่าในสเปนมีคู่ครองเพศเดียวกันอยู่ด้วยกัน 14,000 คู่ และมีเกย์ เลสเบียน อยู่ประมาณ 4 ล้านคน ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่น้อยเลย ตามตัวเลขแล้วเป็นจำนวนมากพอที่ควรจะมีกฎหมายที่จะเข้ามาจัดการและให้ความคุ้มครองอย่าง เป็นระบบ

ทางสมาคมเกย์และเลสเบียนแห่งสเปน ให้ความเห็นว่า ในเรื่องของ ตัวเลขไม่มีใครบอกได้จริงๆ ว่า พวกเขามีอยู่เท่าไร เพราะพวกเขายังไม่มีทะเบียน และในความเป็นจริงแล้วตัวเลขหรือจำนวนก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่ในฐานะที่พวกเขาเป็นพลเมืองเหมือนกัน ก็ควรได้รับสิทธิตามกฎหมายเหมือนกันทุกประการ

ร่างกฎหมายฉบับนี้คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณต้นปี 2005 เมื่อถึงตอนนั้น สเปนก็จะเป็นประเทศที่สามของโลกที่อนุญาตให้เกย์แต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย ถัดจากฮอลแลนด์และเบลเยียม

ในระหว่างนี้รัฐบาลก็เปิดโอกาสให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายดังกล่าว จากการทำแบบสำรวจความคิดเห็น ผลปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยเหตุผลที่ว่าเป็นการแสดงถึงความเท่าเทียมกันทางสังคม โดยไม่จำกัดว่าแต่ละคนจะมีพฤติกรรมทางเพศเป็นอย่างไร ความเห็นสนับสนุนนี้มีถึง 68% จากผู้ถูกสำรวจทั้งหมด

ในส่วนของทางฝ่ายศาสนาคาทอลิกหรือว่า "ฝ่ายโบสถ์" ได้ออกมาแสดงการคัดค้านอย่างหนัก บอกว่าเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรง ที่มีการเสนอกฎหมายในลักษณะนี้ออกมา พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้แทนราษฎรสายคาทอลิกให้โหวตคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ และยังเรียกร้องให้ทุกคนออกมาประท้วงยับยั้งกฎหมายนี้ด้วย โดยชี้ให้เหตุผลในเชิงข้อควรระวังว่า "บุตรของท่านอาจจะถูกคู่สมรสเกย์รับไปเลี้ยงก็ได้เมื่อท่านได้ตายไปแล้ว" ทางกลุ่ม "เพื่อนเกย์" ก็โต้กลับว่า มันรุนแรงเกินไปที่จะพูดอย่างนั้น พวกกลุ่มอำนาจเก่าอนุรักษนิยมยอมทำทุกอย่างเพื่อจะรักษาอำนาจเอาไว้...

เมื่อใดก็ตามที่เกิดประเด็นในลักษณะนี้ มักมีการถกเถียงกันอย่างรุนแรง เนื่องจากต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเอง ฝ่ายหนึ่งก็มองว่าเป็นวิวัฒนาการของ มนุษย์และของสังคมมนุษย์ที่สามารถยอมรับรูปแบบการเป็นอยู่ที่หลากหลายได้ อีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่าเป็น อวิวัฒนาการเพราะไม่เป็นไปตามธรรมชาติที่เป็นมาและ สิ่งเพิ่มเติมความยากในการตัดสินก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นทันที อาจต้องใช้เวลาเป็นสิบปี หรือห้าสิบปี หรือหนึ่งชั่วอายุคน

แต่ในกรณีของประเทศสเปนนี้มีความเป็นไปได้สูงมากที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะผ่านการอนุมัติ และจะมีผลบังคับใช้ในปี 2005   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us