Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
เงินตรากับการศึกษา             
โดย ธีรัส บุญ-หลง
 





เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Time Higher Education Supplementary (THES) มันสมองทางการวิจัยหาข้อมูลทางการศึกษาในเครือหนังสือพิมพ์ The Time ของอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ตารางอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก 200 อันดับแรก โดยอันดับที่ 1-4 เป็นของอเมริกาหมดเลยครับ เรียงมาตั้งแต่ Harvard, UC Berkley, MIT และ CALTECH โดยอันดับที่ 5 กับ 6 คือ Oxford และ Cambridge ในจำนวน 50 อันดับแรก มีมหาวิทยาลัยจากอังกฤษเพียง 8 แห่ง ซึ่งนอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ก็มีมหาวิทยาลัยในเครือมหาวิทยาลัย London (Imperial College, LSE, UCL, SOAS) แล้วก็ Manchester และ Edinburgh เป็นมหาวิทยาลัยอังกฤษส่วนน้อยที่รายล้อมด้วย มหาวิทยาลัยจากอเมริกา ซึ่งนอกจากนั้นมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรปก็คละกันไปในส่วนที่เหลือ

ในการให้คะแนนครั้งนี้หัวข้อการให้คะแนนได้มาจาก

1. การวัด Citation ของมหาวิทยาลัยนั้น (ก็การวัด research นั่นแหละครับ)

2. จำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา

3. จำนวนนักเรียนต่างชาติ

4. ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในระดับต่างๆ

5. การให้คะแนนของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 1,800 แห่งว่ามหาวิทยาลัยใดเป็นเลิศในวิชานั้นๆ

ครับ ไม่แปลกที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาจะได้ตำแหน่ง 1-4 มาครอง ดูจากตำแหน่งการวัดคะแนน ปัจจัยสำคัญในที่นี้ คือเงินครับ เป็นกลไกตามระบบทุนนิยม เมื่อมีเงินแล้ว จะดึงอาจารย์ดีๆ มาก็ไม่ยาก สภาพแวดล้อมก็ดีขึ้น เพราะมีเงินมาซื้อตึกและอุปกรณ์ดีๆ ทำให้การวิจัยดีขึ้น และดึงดูดให้อาจารย์ที่สนใจ Research ด้านนั้นๆ เข้ามา ชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีอยู่แล้ว ก็จะทำให้ยิ่งดีขึ้นไปอีก จำนวนอาจารย์ต่อนักเรียนก็สามารถมากขึ้นได้

คำถามก็คือว่า ทำไมมหาวิทยาลัยในอเมริกาถึงมีเงินมากกว่าที่อื่นและทำไมอังกฤษที่เคยยิ่งใหญ่ถึงไม่มี คำตอบคือ กลไกของรัฐ สังคม และนิสัยของมนุษย์ ณ ประเทศนั้นๆ

มหาวิทยาลัยในอเมริการะดับต้นๆ นั้นส่วนมากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเก็บค่าเรียนแพงโหดอยู่แล้ว (เฉลี่ยค่าเรียนอย่างเดียว คือ 16,000 ปอนด์ต่อปี) ซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างความเป็นคนชั้นสูงและความเป็นผู้นำของสังคม ตัวอย่างในกรณีนี้คือ เหล่ามหาวิทยาลัยในกลุ่ม Ivy League ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตัวเองนั้นแตกต่างจากคนอื่น มีความเป็น Elite มากกว่าที่อื่น นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยรัฐของอเมริกาก็ยังเก็บค่าเล่าเรียนไม่ต่ำเกินไปนัก พอที่จะทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้ (ค่าเล่าเรียนประมาณ 5,000 ปอนด์ต่อปี) สำหรับคนที่อยู่ในรัฐนั้นๆ ส่วนที่อยู่นอกรัฐจะแพงกว่า

อย่างที่ 2 เป็นปัจจัยสำคัญมากในการที่จะทำให้มหาวิทยาลัยในอเมริการ่ำรวย สิ่งนี้มันสูงค่ากว่าค่าเล่าเรียนยิ่งนัก คือการได้เงินสนับสนุนและบริจาคระดับสุดยอด จากการสำรวจในปี 2002 Harvard ได้เงินบริจาครวมกันแล้วถึง 10,700 ล้านปอนด์ ขณะที่ Yale ได้เงินจากการบริจาครวมแล้วทั้งหมด 6,600 ล้านปอนด์ ในขณะที่ Cambridge และ Oxford ได้เงินบริจาคมากที่สุดในอังกฤษ ซึ่งได้เพียง 2,000 ล้านปอนด์เท่านั้น ไม่เฉพาะมหาวิทยาลัยในอเมริกาที่กล่าวข้างต้นเท่านั้นที่ได้เงินเยอะ แต่ทุกมหาวิทยาลัยก็ได้เงินสนับสนุนเช่นกัน

การได้รับบริจาคจากศิษย์เก่าในอเมริกานั้นเป็นเรื่องปกติ มหาวิทยาลัยที่เติบโตหรือเติบโตอยู่แล้วในอเมริกา ส่วนมากมาจากผลพวงของการบริจาคจากศิษย์เก่าที่รักสถาบัน ซึ่งพวกเขาคิดว่าการที่พวกเขามีทุกวันนี้ได้ก็เพราะ ได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้นมา สมาคมศิษย์เก่าใช้การตลาดการขายดึงศิษย์เก่าที่รักสถาบันมารวมตัวกันสร้างเครือข่ายและความสามัคคี ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่การบริจาคเงินมหาศาล โดยเฉลี่ยแล้ว เงินบริจาคที่มหาวิทยาลัยในอเมริกาได้รับมากกว่าเงินบริจาคที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษได้รับถึง 15 เท่า

คำถามต่อไป ทำไมมหาวิทยาลัยในอังกฤษถึงไม่ค่อยได้รับเงินบริจาค คำตอบนี้ ผมใช้เวลาคิดพอสมควรและก็ได้คำตอบออกมาว่า คนอังกฤษไม่มีความรักกับมหาวิทยาลัยขนาดนั้น โดยส่วนมากแล้วคนอังกฤษคิดว่า โอกาสของตนได้สร้างมาจากรากฐานโรงเรียนประถมและมัธยมครับ คนอังกฤษค่อนข้างจะภูมิใจในโรงเรียนของตนเองมาก จะย้ำและพูดตลอดเวลาว่าเป็นศิษย์เก่าของที่ไหน (ส่วนมากคนที่คิดอย่างนี้ คือคนที่ไปเรียนโรงเรียนเอกชน) เขารู้สึกว่าพ่อแม่ยินยอมจ่ายเงินให้เขา ให้ได้โอกาสดี การศึกษาดีๆ และความเป็นอภิสิทธิ์ชนในสังคม แต่พอพวกเขาเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว พวกเขารู้สึกว่าการจ่ายค่าเล่าเรียนเล็กน้อยซึ่งถูกกว่าโรงเรียนถึง 10 กว่าเท่านั้นแพง ทุกคนมีความคิดว่า สิ่งที่พวกเขาควรได้รับคือการเรียนฟรีในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโอกาสที่ควรได้รับจากรัฐบาล บางทีเมื่อพวกเขากู้ยืมเพื่อการศึกษา เขาก็ไม่อยากจะจ่ายเงินคืน แต่ในขณะเดียว พวกเขากลับไม่รู้สึกผิดในการจ่ายเงินกับค่าเหล้าค่าเบียร์ในขณะที่เรียนอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ คนอังกฤษเคยชินกับของฟรีและสวัสดิการจากรัฐบาล

Oxford และ Cambridge ที่ได้เงินบริจาคพอสมควร เพราะมหาวิทยาลัยสร้างความรู้สึกของการเป็นอภิสิทธิ์ชนได้มากกว่าที่อื่น ศิษย์เก่าหลายคนคิดว่าเป็นบุญคุณของมหาวิทยาลัยที่ทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ ศิษย์ส่วนมากที่บริจาคเป็นคนที่ไม่ได้ไปเรียนโรงเรียนมัธยมที่ตนเองภูมิใจขนาดนั้น จึงเห็นว่ามหาวิทยาลัยสำคัญกว่าโรงเรียน

มหาวิทยาลัยในอังกฤษช่วงหลังนั้นกลัวจะตามการวิจัยของมหาวิทยาลัยในอเมริกาไม่ทัน จึงล็อบบี้ขอเพิ่มค่าเรียนเป็น 3,000 ปอนด์ (ในขณะเดียวกันก็บังคับให้นักเรียนต่างชาติจ่ายมากถึงประมาณ 10,000 ปอนด์หรือมากกว่านั้น) เพื่อที่จะได้ไม่ขาดทุนและสามารถนำเงิน มาพัฒนามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งกว่าจะผ่านการอนุมัติของรัฐบาลก็ใช้เวลานานพอสมควร โดยจะเริ่มให้นักเรียนจ่ายในปีการศึกษา 2006 นี้ (ซึ่งไม่รวมที่สกอตแลนด์เพราะคนที่นี่ไม่ยอมจ่ายครับ เรื่องเงินนั้นเป็นเรื่องใหญ่ มหาวิทยาลัยระดับ Elite ของอังกฤษจึงรวมตัวกันเป็น Russell Group กลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ต่อรองจะออกนอกระบบเป็นเอกชน เก็บค่าเรียนเยอะๆ มีการวิจัยร่วมกับ บริษัทเอกชนอื่นๆ พวกเขาคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องระดมทุน

รัฐบาลอังกฤษและคนอังกฤษส่วนมากมักไม่เข้าใจตนเอง สิ่งที่พวกเขาอยากให้เป็นคือความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของแต่ละมหาวิทยาลัย ต้องการให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เก็บเงินค่าเรียนเท่ากัน รับคนจบจากโรงเรียนเอกชน และรัฐบาลในจำนวนที่เท่าๆ กัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้อย่างไร ในประเทศที่ตัดสินคนที่สำเนียง มีระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นหลักยึด มีโรงเรียนมัธยมต่างๆ ที่ทำตัวหรูหรา แบ่งชนชั้นมากที่สุดในโลก ครับ สิ่งที่อังกฤษต้องทำคือ ให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการตัดสินสิ่งต่างๆ มากขึ้น ใครใคร่เป็นเอกชนก็เป็นไป (ก็ดี รัฐบาลไม่ต้องให้เงินสนับสนุน) ใครใคร่เป็นมหาวิทยาลัยรัฐก็ดีไป (ได้เงินสนับสนุนจากทางรัฐ) แล้วให้นักเรียนเลือกกันเองว่า ต้องการไปมหาวิทยาลัยแบบไหน ไม่ต้องกลัวว่า คนจนจะ เรียนมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ เดี๋ยวทางมหาวิทยาลัยเอกชน ก็มีทุนให้นักเรียนยากจนแต่เรียนดีเองครับ ประเทศอังกฤษ ควรมีมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำเหมือน Harvard และมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำแบบ Texas at Austin ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักการหาเงินจากศิษย์เก่า การสร้างเครือข่าย สมาคม ศิษย์เก่า และการตลาดสำคัญมากครับ เพื่อความเจริญในการ Research เพื่อความสุขของมหาวิทยาลัยที่ไม่ต้องกลัวอีกต่อไปว่าจะมีสมองไหลไปอเมริกาหรือที่อื่น สามารถ ให้อาจารย์ได้อยู่ที่บ้าน มีรายได้ที่ดี ตั้งใจสอน ให้เวลากับนักเรียนมากขึ้น

ที่ผมวิจารณ์มา ไม่ได้หมายความว่ามหาวิทยาลัย ในอเมริกาดีกว่าอังกฤษนะครับ มันเทียบกันลำบาก เพราะระบบสังคม และสิ่งที่ได้มันต่างกัน ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมยังคิดว่าระบบปริญญาตรีในอังกฤษนั้นให้ความรู้ลึกกว่า ให้รู้จักคิดรับผิดชอบด้วยตัวเองมากกว่า สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างสูงสุด (คิดแบบคนไม่รวยมาก สามารถเอามาประยุกต์ในบ้านเราได้ครับ) ส่วนที่อเมริกา ปริญญาตรีค่อนข้างกว้าง เน้นความรู้หลายแนว แล้วค่อยไปเจอประสบการณ์จริงอีกทีหนึ่ง และการศึกษาค่อนข้างที่จะมีอาจารย์คอยช่วยเหลือดูแล ส่วนปริญญาโท ผมก็ยังคิดว่าปริญญาโทแบบเน้นเฉพาะทางของอังกฤษ ค่อนข้างจะเรียนแล้วเอาไปใช้ทำงานได้เลยดีกว่าอเมริกา แล้วก็เรียนแค่ปีเดียว แทนที่จะเป็น 2 ปีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับจริงๆ คือ เมื่อไปถึงปริญญาที่เกี่ยวกับการวิจัยแล้ว (เช่น ปริญญาโทวิจัย และปริญญาเอก) โดยรวมแล้วอเมริกาค่อนข้างจะดีกว่า มีอุปกรณ์และเงินที่ดี พร้อมมาสนับสนุนการวิจัย สามารถดึงอาจารย์ที่ดี ที่สุดในโลกมาสอนด้วยข้อเสนอที่อาจารย์ไม่สามารถบอก ปัดได้ ที่ผ่านมาอังกฤษสร้างนักคิดมาเยอะพอสมควร คิดสิ่งประดิษฐ์อะไรมาหลายอย่าง แต่ต่อไปนี้ต้องหัดค้าขายแบบอเมริกาบ้างแล้วครับ ต้องหัดตามอย่างประเทศที่ไม่ค่อยได้คิดอะไรมาก แต่ดึงคนที่คิดเป็น (เช่น ยิว คนยุโรป ตะวันออกต่างๆ รวมถึงชาวเอเชียเรา) เข้ามาในประเทศ สร้างความสามัคคี ให้คนของเขาพัฒนาขึ้น คิดเป็นขึ้นแล้วขายของเป็น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us