Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
A Story from Nagoya Castle             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





วันขึ้นปีใหม่ของทุกปีเป็นวาระพิเศษที่ประชาชนทั่วไปมีโอกาสเข้าสัมผัสบางส่วนของปราสาทเอโด ซึ่งปัจจุบันคือพระราชวัง Imperial ใจกลางมหานครโตเกียว เนื่องจากที่นี่เป็นที่ประทับของจักรพรรดิองค์ปัจจุบันการเข้าชมจึงเป็นไปได้เพียงส่วนเล็กส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่จริงแล้วยังมีอีกแห่งหนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญของเอโดะเอาไว้และสามารถเข้าชมได้ทุกส่วนตลอดปีที่ปราสาทนาโงย่า

การเดินทางสู่ปราสาทนาโงย่าที่สะดวกและประหยัด ที่สุดคือ รถไฟใต้ดิน ถ้าตั้งต้นจากสถานีนาโงย่าสามารถต่อรถไฟใต้ดินสาย Higashiyama ไปลงที่สถานี Sakae แล้วเปลี่ยนเป็นสาย Meijo ไปลงที่สถานี Shiyakusho แล้วเดินไปตามทางออก Castle east

ความสงบเงียบที่แผ่ปกคลุมไปทั่วบริเวณชั้นนอกของปราสาท ทิ้งความพลุกพล่านของเมืองศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมเอาไว้ภายนอกซุ้มประตูทรงโบราณบานใหญ่ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าคือ ปราสาทนาโงย่าที่ยังคงกลิ่นอายบรรยากาศในสมัยเอโดะไว้อย่างไม่เสื่อมคลาย อิฐขนาดใหญ่ที่ซ้อนเรียงกันอย่างเป็นระเบียบประกอบกันขึ้นเป็นฐานที่แข็งแกร่งรับน้ำหนักของตัวปราสาทหลังใหญ่ทั้งหลังเอาไว้เช่นเดียวกับเรื่องราวเมื่อ 400 ปีก่อนอันเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรม วิถีชีวิตรวมไปถึงกรอบความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมญี่ปุ่นจวบจนปัจจุบัน

มองไล่ขึ้นไปยังด้านบนของปราสาท Kinshachi ปลาโลมาคู่สีทองที่ประดับอยู่บนสุดของหลังคา ซึ่งเมื่อครั้งอดีตเป็นเครื่องรางคุ้มครองปราสาทจากอัคคีภัย อีกทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของปราสาทหลังงามหลังนี้และใช้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของโชกุน ที่เรืองอำนาจ อยู่ในสมัยเอโดะ ซึ่งทุกวันนี้ Kinshachi ปลาโลมานำโชคคู่นี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองนาโงย่าไปโดยปริยาย

น่าเสียดายที่มรดกทางวัฒนธรรมเก่าแก่หลายชิ้นถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเสียหายบางส่วนของปราสาทที่ไม่อาจเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ส่งผลให้การบูรณะปราสาทนาโงย่า เมื่อปี 1959 จำต้องเปลี่ยนแปลงสภาพภายในของปราสาทให้กลายเป็น modern style museum ดังที่ปรากฏตราบจนทุกวันนี้

ย้อนเวลากลับไปในสมัย Senkoku การเสียชีวิต อย่างกะทันหันของ Toyotomi Hideyoshi ผู้ที่ทรงอำนาจที่สุดในขณะนั้น เปิดโอกาสให้ Tokugawa Ieyasu ซึ่งดำรงตำแหน่งไดเมียว (เจ้าเมือง) แห่งเมือง Mikawa (ปัจจุบันคือบริเวณตะวันออกของนาโงย่า) เปิดศึกเพื่อ ช่วงชิงอำนาจ

หลังจากการชนะสงครามที่ Sekigahara ในปี 1600 แล้ว Tokugawa Ieyasu ใช้เวลารวบรวมอำนาจ จากไดเมียวทั่วประเทศ จนในที่สุดได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิให้เป็นโชกุนปกครองประเทศ อันเป็นการเริ่มต้นแห่งความรุ่งโรจน์สมัยเอโดะในปี 1603

หากจะว่าไปแล้วโชกุน Tokugawa Ieyasu เป็นโชกุนที่ได้รับการกล่าวขานถึง ทั้งในภาพยนตร์ ละครญี่ปุ่น แม้กระทั่งในการ์ตูนมากที่สุดอีกทั้งยังเป็นภาพลักษณ์ของโชกุนที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

โดยคำสั่งของโชกุน Tokugawa Ieyasu ปราสาทนาโงย่าสร้างขึ้นในปี 1610 เพื่อใช้เป็นที่พำนัก ของตระกูล Tokugawa โดยส่งบุตรชายไปเป็นไดเมียว ที่วางใจให้ช่วยดูแลเมืองทางตะวันตกและทางใต้ได้ ดังนั้นปราสาทนาโงย่าจึงเป็นเสมือนศูนย์บัญชาการแห่งที่สองในสมัยนั้น ความเจริญที่ส่งต่อมาจากเอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ทำให้นาโงย่ากลายเป็นเมืองศูนย์กลางของธุรกิจและวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ระบบโครงสร้างทางสังคมที่โชกุน Tokugawa Ieyasu วางเอาไว้นั้นถูกรักษาและปฏิบัติสืบต่อมาอย่าง เคร่งครัด ความสัมพันธ์ในแนวดิ่งของคนภายในกลุ่มขึ้นกับอายุและตำแหน่งโยงใยเข้ากับความสัมพันธ์ในแนวนอนของคนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันหรือคนที่มีตำแหน่งเดียวกัน ความจงรักภักดีและความรู้สึกเป็นเจ้าของกลุ่มร่วมกันนำมาซึ่งความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นรากฝังลึกอยู่ทั่วไปในสังคมญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นสังคมในบริษัท โรงเรียน สโมสรกีฬา จนกระทั่งถึงการแสดงออกในระดับมหภาคที่ถูกเรียกว่า "ชาตินิยม"

ยิ่งไปกว่านั้นการทำอะไรให้เหมือนกับสมาชิกคนอื่นในกลุ่มเป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังในสามัญสำนึกของคนญี่ปุ่น การตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่างถูกครอบงำโดยความคิดของคนอื่นมากกว่าความคิดเห็นหรือแม้กระทั่งความเชื่อส่วนของตน ด้วยความกังวลว่ากำลังถูกจับตามองอยู่หรือไม่สร้างความเครียดและกดดันขึ้นภายใน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นอกจากนี้เพื่อรักษาฐานอำนาจ และง่ายต่อการควบ คุมของโชกุน คำสั่ง ห้ามเปลี่ยนชนชั้นวรรณะถูกเริ่มขึ้นในสังคมสมัยเอโดะ วรรณะทั้ง 4 ดังกล่าวคือ (1) ซามูไร เป็นชนชั้นพิเศษที่ทำหน้าที่ดูแลปกป้องเมืองตลอดจนเป็นที่ปรึกษาไดเมียวเป็นกลุ่มคนที่อนุญาตให้พกอาวุธได้ ประมาณการว่าในจำนวนประชากร 30 ล้านคนในสมัยเอโดะมีซามูไรอยู่ถึง 2 ล้านคน

(2) ชาวนา จากคำกล่าวที่ "กองทัพเดินด้วยท้อง" ชาวนาจึงได้รับการยกย่องให้มีตำแหน่งทางสังคม ที่สูงรองจากซามูไร ไม่ว่าปีนั้นสภาพฝนฟ้าจะเป็นเช่นไร ข้าวที่ผลิตได้จะต้องปันส่วนไปเก็บไว้ในคลังของโชกุนเพื่อแบ่งสันให้ไดเมียวไปอีกต่อหนึ่ง ถึงกระนั้นก็ตามชาวนาจะได้รับการดูแลอย่างดีเป็นการตอบแทน ด้วยแนวคิดเช่นนี้เองที่ทำให้การเกษตรของญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนตลอดมาแม้ในปัจจุบันก็ตามชาวไร่ชาวนาญี่ปุ่นนั้นไม่มีคำว่า "จน"

(3) ช่างฝีมือ อุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดของญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มีรากฐานจากการสนับสนุนโดยรัฐบาลของโชกุน อย่างเช่น เครื่องพอร์ชเลน ชุดกิโมโน การผลิตมีดและดาบ ช่างไม้ อุตสาหกรรมเหล้าเบียร์ เป็นต้น

(4) พ่อค้า จัดเป็นวรรณะต่ำสุดในสังคมเนื่อง จากไม่ได้ทำการผลิตเหมือนอย่างชาวนาและช่างฝีมือ แต่ในทางตรงข้ามกลับเป็นชนชั้นที่มีความร่ำรวยที่สุด ด้วยสถานภาพทางสังคมสมัยเอโดะส่งผลให้มีการปฏิบัติต่อลูกค้าซึ่งมีวรรณะสูงกว่าอย่างดีเยี่ยม กลายเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาตลอดทำให้ทุกวันนี้มั่นใจได้ว่าสินค้าคุณภาพเยี่ยมที่ตีตรา Made in Japan นั้นมาพร้อมกับการบริการที่ดีเลิศเสมอ

ถึงแม้ว่าระบบชนชั้นวรรณะในยุคสมัยของเอโดะ จะสิ้นสุดไปพร้อมกับ The Last Samurai และ The Last Shogun (โชกุน Tokugawa คนที่ 15 ในปี 1868) แล้วก็ตาม ที่มาของวิธีคิดที่ยังคงหยั่งรากลึกในสังคมญี่ปุ่นอยู่จนทุกวันนี้ เป็นผลสะท้อนมาจากเรื่องราวบางส่วนของสมัยเอโดะที่จารึกไว้ในปราสาทนาโงย่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us