Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
บ้านแสนสุขในอิสราเอล             
 





เมื่อสถาปนิกเดนมาร์ก Ulrik Plesner อพยพไปปักหลักอยู่ที่ประเทศอิสราเอล เมื่อ 30 ปีที่แล้วนั้น นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญแห่งวิชาชีพของเขาด้วย เพราะทำให้ได้เริ่มต้นอ้าแขนรับเอาความงดงามทุกอย่างเข้าไว้ในตัวตน นับตั้งแต่ความงามที่เป็นระเบียบแบบแผนของสแกนดิเนเวียไปจนถึงแบบ baroque ยุค post-colonial ของศรีลังกา

ผลงานสำคัญๆ ในอีก 30 กว่าปีต่อมา ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและเอกชนจึงช่วยผลักดันให้สถาปนิกเดนมาร์กผู้นี้กลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดด้านการออกแบบคนหนึ่งของอิสราเอล

สายตาอันเฉียบคมของ Plesner ซึ่งผสมผสานกันระหว่าง ยุโรป-เอเชียและเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออก ทำให้เขาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสไตล์โดดเด่นให้กับอาคารสำคัญๆ ในอิสราเอลมากมาย รวมทั้งศูนย์ Beit Gabriel บนฝั่งทะเล Sea of Galilee ด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอด 30 ปีดังกล่าว เขาไม่เคยรับงานออกแบบบ้านพักอาศัยเลยสักครั้งเดียว เพราะเคยชินกับการออกแบบวิลล่าขนาดใหญ่ในศรีลังกา ที่เขากับหุ้นส่วนคือสถาปนิก Geoffrey Bawa รับทำนั่นเอง ทำให้ Plesner อึดอัดใจถ้าต้องออกแบบบ้านในอิสราเอล ซึ่งเขาพบว่าที่ดินมีขนาดเล็กเกินกว่าจะใส่องค์ประกอบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต (organic elements) เข้าไปได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม ซึ่งสถาปนิกเดนมาร์กผู้นี้คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านพักอาศัย

ดังนั้นเมื่อสบโอกาสในโครงการออกแบบวิลล่าขนาดใหญ่ที่ Savyon ชานกรุงเทลอาวิฟ เขาไม่รีรอที่จะรับทำทันที จึงได้บ้านที่ออกแบบให้ระบบไฟ น้ำ และสวนหย่อมมาบรรจบกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีทางเดินส่วนกลางเป็นตัวเชื่อมหลัก ทางเดินนี้เริ่มต้นจากทางเข้าบ้านไปทะลุทางออกและอยู่ในระนาบเดียวกันโดยตลอด มีเพียงประตูหน้าบ้านเท่านั้นที่ออกแบบสไตล์เอเชียตามความเชื่อที่ว่า จะช่วยป้องกันไม่ให้วิญญาณร้ายพุ่งเข้าสู่ใจกลางของบ้านได้โดยตรง

ทั้ง Plesner และทีมงานคือ Daniela ผู้เป็นลูกสาวและ เพื่อนสถาปนิก Ruthy Packer ต่างให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่เริ่มแรก จึงออกแบบให้มีสระน้ำอยู่ถัดจากทางเข้าใหญ่ทันที สำหรับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นครอบครัวของนักธุรกิจหญิงกับสามีนักวิชาการและลูกๆ อีก 2 คน สระน้ำนี้เป็นมุมสงบยามต้องการหลุดพ้นจากความวุ่นวายได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือมีความลึกเพียง 20 ซม. จึงไม่ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างฟุ่มเฟือยสำหรับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคแห้งแล้งอย่างอิสราเอลแต่อย่างใด

Plesner ออกแบบให้บริเวณที่เป็นพื้นที่ของส่วนรวมคือ ครัว ห้องสมุด และห้องอาหารตั้งอยู่ฟากหนึ่งของบ้าน ขณะที่ห้องนอนทั้งหมดจะอยู่อีกฟากหนึ่ง มีสวนหย่อมสไตล์ zen ประดับเป็นแนวทั้งสองฟาก เขาเน้นว่าสวนหย่อมจำเป็นสำหรับบ้านอยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงแต่จะให้ร่มเงาแต่ยังเป็นมุมสงบของสมาชิกในบ้านได้ด้วย พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของห้องนอนว่า ไม่เน้นเรื่องความกว้างขวางใหญ่โต "อิสราเอลยังได้ชื่อว่าใหม่ต่อวิถีชีวิตแบบนี้อยู่มาก ลูกค้าของผมจึงไม่ต้องเสแสร้งเรื่องความหรูหรา หากแต่เน้นถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่า"

เพราะครอบครัวนี้ต้องการบ้านที่เป็นสมบัติของทุกคน Plesner จึงสงวนพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้สำหรับทำเป็นห้องนั่งเล่น ซึ่งอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องที่มีขนาดใหญ่ ลึก และกว้าง เพราะตั้งใจออกแบบสำหรับใช้เป็นห้องดนตรีเล็กๆ ด้วย จึงจำเป็นต้องมีห้องขนาดใหญ่ เพื่อรองรับเสียงดนตรีคลาสสิกที่สมาชิกในครอบครัวโปรดปรานทั้งในแง่เป็นผู้เล่นและผู้ฟัง ความโอ่โถงของห้องนั่งเล่นของบ้านนี้จึงขัดกับห้องนอนเรียบๆ เล็กๆ โดยสิ้นเชิง

เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้ส่งเสริมความเป็น "ตะวันออก" อย่างแท้จริง จึงเน้นใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยใช้ปูนฉาบผนังแบบเดียวกับบ้านส่วนใหญ่ในอิสราเอลซึ่งหาได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และมีคุณสมบัติช่วยปกป้องผนังจากความชื้นสูงอันเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิอากาศร้อนชื้นแถบชายฝั่งทะเล ส่วนของพื้นปูด้วยกระเบื้องที่ผลิตจากแหล่งต่างๆ ในอิสราเอล กรอบประตูทำด้วยไม้โอ๊กสีเข้ม แล้วใช้ไม้สนไขว้กันเป็นลายโปร่งแลดูสวยสง่าประดับอยู่ใต้เรือนไม้เลื้อย (pergola) ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของสระน้ำ นอกจากนี้ ไม้ยังเป็นวัสดุหลักในการใช้ออกแบบโต๊ะและเครื่องตกแต่งกระจุกกระจิกด้วย

เห็นได้ชัดว่าสระว่ายน้ำที่มีอยู่นั้นมุ่งประโยชน์ใช้สอยจริง เพราะออกแบบให้เป็นแนวตรงมีความยาวถึง 15 เมตร ปูด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเข้ม ในส่วนของสวนหย่อมที่มีทั้งต้นมะกอก ลั่นทม และเฟื่องฟ้า รวมทั้งศาลพระภูมิของไทยนั้น เป็นเครื่องยืนยันว่า Plesner รักและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตโดยแท้จริง สวนหย่อมยังช่วยนำสายตาไปยังริมรั้วที่อยู่ทางปลายสุดของบ้านซึ่งมีสวนผลไม้เขียวร่มครึ้มที่หาได้ยากยิ่งสำหรับประเทศอิสราเอล ยุค post-industrial

เมื่อมองจากถนนด้านนอกเข้ามา ส่วนหน้าของตัวบ้าน ซึ่งมีหลังคาวางตัวในแนวตรงจะบังเสน่ห์และความงามของตัวบ้านด้านในเอาไว้ทำให้ปรากฏแก่สายตาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น Plesner อธิบายเหตุผลของการออกแบบในจุดนี้ว่า สำหรับเขาแล้ว บ้านเป็นอะไรที่ให้ความรู้สึกเป็นปริศนา และ "การออกแบบ บ้านที่มีขนาดใหญ่กว่ามักจะง่ายกว่าเสมอ เพราะคุณเพียงแต่เพิ่มหรือเสริมในจุดที่ต้องการเท่านั้น แต่กับบ้านที่มีขนาดเล็กกว่า คุณต้องใช้หัวสมอง ในการคิดสร้างสรรค์มากกว่า"

ปัจจุบัน Plesner รับงานออกแบบบ้านพักอาศัยมากขึ้นและย้ำว่า ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม "บ้านต้องให้ความรู้สึกสะดวกสบาย เป็นธรรมชาติ ไม่มีอะไรกดดัน ไม่ต้องใช้ความพยายามในการเข้าถึง"

เรื่องนำของ Merry-Go-Round ฉบับนี้
แปลและเรียบเรียงจากบทความเรื่อง "Calming home" ซึ่งตีพิมพ์ใน
นิตยสาร Wallpaper/November 2004
เขียนโดย David Kaufman และ
ภาพโดย Tzachi Ostrovsky   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us