Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
ตำนานจากโลกตะวันออก "Cotto Studio"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ เซรามิคอุตสาหกรรมไทย

   
search resources

สยาม ซานิทารี แวร์ อินดัสตรี, บจก.
เซรามิคอุตสาหกรรมไทย, บจก.
Ceramics
เทวินทร์ วรรณะบำรุง
คอตโต้ สตูดิโอ




ศาสตร์และศิลป์จากซีกโลกตะวันออกกำลังถูกขับเคลื่อนผ่านกระบวนการจัดการ จาก "Cotto Studio" กลายเป็นกระเบื้องลายใหม่
ที่กำลังสร้างอิทธิพลต่อวงการออกแบบของโลกตะวันตก

รถบัสคันใหญ่พานักข่าวกลุ่มหนึ่งมุ่งหน้าไปยังปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเช้าวันที่สายลมหนาวเริ่มพัดผ่าน เป็นความตั้งใจของผู้บริหารบริษัทเซรามิค อุตสาหกรรมไทย จำกัด ที่ต้องการให้ผู้คนได้รับรู้ถึงแรงบันดาลใจเบื้องหลัง "Pimai Collection by Cotto Studio" รวมทั้งวิธีคิดและวิสัยทัศน์ที่จะก้าวเป็นเทรนด์ เซตเตอร์ (Trend Setter) หรือผู้นำในการกำหนด แนวโน้มลวดลายในการออกแบบกระเบื้องเซรามิกของโลก

เทรนด์ของโลกที่ย้อนยุคกลับมาสู่ความเป็นธรรมชาติจากโลกตะวันออก สอดคล้องกับวิธีคิดของคอตโต้ที่จะนำเสนอเรื่องราวความเป็นเอเชียและไทยออกสู่ตลาดสากล คอตโต้จึงไม่ได้ขายกระเบื้องเพียงอย่างเดียว แต่ยังขายเรื่องเล่าความเป็นมาในตัวกระเบื้องด้วย

ความสง่างามในสถาปัตยกรรมอุทยานประวัติศาสตร์หินพิมายซึ่งเต็มไปด้วยกลิ่นอายอารยธรรมขอมโบราณ ศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศไทย เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ "พิมายคอลเลกชั่น"

ตัวปราสาทยังคงมีความสมบูรณ์ ทั้งๆ ที่เวลาผ่านไปเนิ่นนานกว่าพันปี แม้หินบางก้อนผุกร่อน แต่สายแร่ที่ปรากฏเป็นเส้นริ้วที่งดงามในเนื้อหินยังคงชัดเจน

"น้องๆ จากทีมงานต้องศึกษาและรู้ถึงประวัติความเป็นมาของที่นี่ มาสัมผัสกับเนื้อหิน ใช้เวลาในการพิจารณาในเรื่องของโทนสี ลวดลาย หลายวันทีเดียวก่อนที่จะไปเริ่มกระบวนการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์"

เทวินทร์ วรรณะบำรุง หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Cotto Studio อธิบายเพิ่มเติม วันนั้นเขายังรับหน้าที่เป็นไกด์บรรยายเรื่องราวความเป็นมาของปราสาท รวมทั้งเกร็ดความรู้ต่างๆ ของประวัติศาสตร์ และจุดต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดใน การทำงานชิ้นนี้อีกด้วย

หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ขบวนนักข่าวก็ย้อนกลับมายัง Cotto Studio ในอำเภอหินกอง จังหวัดสระบุรี ซึ่งนอกจากลูกค้าแล้วไม่บ่อยนักที่จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เยี่ยมชม

สถาบันแห่งนี้ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2531 ในอดีตทำหน้าที่เพียงออกแบบลายกระเบื้องให้กับตลาดภายในประเทศของเครือปูนซิเมนต์ไทยเป็นส่วนใหญ่ ผลงาน ในตอนนั้นจึงมีที่มาจากแนวคิดของฝ่ายตลาดเป็นหลัก

ปี 2543 ได้มีการกำหนด positioning ของบริษัทใหม่ในการก้าวขึ้นไปเป็นสินค้าระดับ high-end และเป็นผู้นำในการออกแบบของโลก โดยมีแนวทาง หลักในการออกแบบคือ แบบอิงแนวคิดธรรมชาติ (Nature) แบบร่วมสมัย (Contemporary) แบบอิงแนวคิด ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม (Traditional) แบบสมัยใหม่ทั้งแนวเทคโนโลยี และความงาม (Modern-Tech & Pretty) และแบบเหนือจริง (Sur-realism)

ด้วยวิธีคิดใหม่ ฝ่ายออกแบบจะต้องได้รับการพัฒนา ศักยภาพอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง สินค้า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาสินค้าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของคอตโต้จึงถูกกำหนดจากฝ่ายนี้

ปี 2527 กระเบื้องคอตโต้สร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึง 2,000 ล้านบาท 40% ของกำลังการผลิตกระจายอยู่ในทั่วโลก โดยมีอเมริกาและยุโรปเป็นประเทศเป้าหมาย

"สินค้าอินเทรนด์หรือสินค้าแฟชั่นนั้นเราต้องคิดให้เร็วในมุมมองที่ต้องฉีกจากคนอื่น ดีไซเนอร์อาจใช้เวลาในการออกแบบจากคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กเพียงแค่ 1-2 ชั่วโมง จากมุมไหนในโลกก็ได้และใช้เวลาเพียง 2 เดือนสินค้าตัวนั้นก็ถูกวางขาย" เทวินทร์อธิบายต่อ

แต่สินค้าที่เป็นผู้นำเทรนด์อย่างพิมายนั้นต้องใช้เวลานอกจากความสามารถของทีมดีไซเนอร์แล้วยังคงมีความหมายลึกไปถึงการทุ่มทุนพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตที่สามารถฝังริ้วลายของหินทรายลงไปในเนื้อกระเบื้อง แม้ผิวของกระเบื้องถูกกะเทาะออกลวดลายเหล่านั้น ก็ยังคงอยู่

เช่นเดียวกับเรื่องราวความเป็นมาของผลงานในชุด "จัสมินไรซ์" ข้าวหอมมะลิจากเมืองไทย มู่ลี่ไม้ไผ่สัญลักษณ์ของโลกตะวันออกที่รังสรรค์เป็นลายกระเบื้องในชุด "แบมบู" รวมทั้งผลงานล่าสุดที่กำลังอยู่ในห้องทดลอง "Thai Paper" มาจากความประทับใจในกระดาษสา

ธรรมชาติใช้เวลาสร้างหินก้อนหนึ่งๆ เป็นพันปีแต่เทคโนโลยีการก่อสร้างก็จำลองขั้นตอนการเกิดหินให้สั้นขึ้น เช่นเดียวกับลวดลายสลักเสลาบนเนื้อหินที่ใช้ความเพียรจากฝีมือมนุษย์อยู่นานกลับถูกเครื่องปั๊มลายอัดแรงดันสูงผลิตออกมาได้ทีละมากๆ

การเยี่ยมชมในวันนั้นของสื่อมวลชนจบลงด้วยปาร์ตี้เล็กๆ ท่ามกลางสายลมเย็น แสงเทียนวับแวมที่ถูกจุดวางไว้บนหยวกกล้วยที่มีดอกลั่นทมประดับงดงามอย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับโปรดักส์ตัวใหม่ที่กำลังถูกกล่าวถึง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us