|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2548
|
|
บล.ไทยพาณิชย์เดินหน้าธุรกิจหลักทรัพย์ครบวงจร ตามนโยบายธนาคารไทยพาณิชย์ที่มุ่งเน้นธนาคารครบวงจร (Universal Bank)
ในปีนี้บริษัทได้วางแผนที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แก่นักลงทุน เพื่อให้บริการได้หลากหลายรูปแบบและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยในปีที่ผ่านมา บล.ไทยพาณิชย์ได้เปิดบริการกองทุนส่วนบุคคลภายใต้ชื่อ "The Privilege by SCBS" เพื่อรองรับฐานลูกค้าในกลุ่ม high net worth
The Privilege by SCBS เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีเงินลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไป โดยสามารถจัดสรรรูปแบบการลงทุนที่หลากหลายให้ตรงตามความต้อง การของผู้ลงทุน
"ปัจจุบันบริการนี้มีทรัพย์สินภายใต้ การบริหารกว่า 400 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 40% โดยคาดว่าภายในปี 2550 จะมีสินทรัพย์ที่บริหารมูลค่าเกินกว่า 5,000 ล้านบาท" กิติกร ติวาพร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกองทุน ส่วนบุคคล บล.ไทยพาณิชย์ ให้ข้อมูล
นอกจาก The Privilege by SCBS แล้ว บล.ไทยพาณิชย์ยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ควอนทิเททิฟ จำกัด เพื่อให้บริการด้านการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและตราสารอนุพันธ์แก่นักลงทุนทั่วไป โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาสสองปีนี้
งานด้านวาณิชธนกิจก็น่าจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่โดดเด่นของ บล.ไทยพาณิชย์ในปีนี้ ต่อเนื่องจากการทำไอพีโอหุ้นบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดของปีที่แล้วและเป็นไอพีโอที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการปรับโครงสร้างหนี้บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไออีกด้วย โดยในปีนี้บริษัทจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายรายด้วยกัน เช่น บริษัทไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเบียร์ช้าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) และบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งล้วนเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีผู้ให้ความสนใจมาก
นอกจากนี้ยังมีบริษัทขนาดไม่ใหญ่มากอีกสองแห่ง คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเครือซัมมิทกรุ๊ป ที่จะเข้าจดทะเบียนในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ และอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในระหว่างเตรียมการ รวมทั้งการขายหุ้น PO (Public Offering) ของ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL อีกด้วย
"รายได้ของฝ่ายวาณิชธนกิจในปีที่ผ่านมาทำได้ประมาณ 260 ล้านบาท แต่ในปีนี้หากทุกดีลไม่มีการเลื่อนหรือชะลอออกไป โดยเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คาด ว่าจะทำให้รายได้ของฝ่ายวาณิชธนกิจปีนี้ได้ถึง 400 ล้านบาท" บังอร สุทธิพัฒนกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจกล่าว
เธอให้ข้อมูลเสริมว่า รายได้ฝ่ายวาณิชธนกิจในปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะมาจากการเป็นที่ปรึกษาในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งก็จะต่อเนื่องมาถึงปีนี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าภาวะตลาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจะไม่ดีนัก แต่ ปีนี้มีบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งยังเป็นปีสุดท้ายที่บริษัทที่เข้าจดทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องภาษี ทำให้มีบริษัท ที่ต้องการเข้าจดทะเบียนในปีนี้เป็นจำนวน มาก
อย่างไรก็ตาม บล.ไทยพาณิชย์คาดว่าในปีนี้จะเริ่มมีรายได้จากธุรกิจที่ปรึกษาในการควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition : M&A) มากขึ้น เนื่องจากการแข่งขันทางธุรกิจจะรุนแรงยิ่งขึ้น จากการเปิดเสรีทางการค้าและผลจากการลงนามเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) กับประเทศต่างๆ จะทำให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาทำธุรกิจในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุน เทคโนโลยี บุคลากรและองค์ความรู้ที่เหนือกว่าบริษัทไทย
บริษัทไทยที่จะแข่งขันได้นับจากนี้จึงต้องปรับตัว นอกจากจะต้องพยายาม "เก่งกว่า" และ "ดีกว่า" แล้ว การลดต้นทุน ให้ต่ำลงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ การขยายขนาดด้วยการควบรวมกิจการจะเป็น กลยุทธ์สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้วในปีที่ผ่านมา ในกรณีของบริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่ทำให้เมเจอร์ฯกลายเป็นผู้นำในธุรกิจโรงภาพยนตร์ชนิดเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 70%
หรือก่อนหน้านี้ที่เป็นการควบรวมกิจการระหว่าง บล.เอเซีย จำกัด (มหาชน) และ บล.แอสเซ็ท พลัส จำกัด (มหาชน) กลายเป็น บล.เอเซีย พลัส ที่รวมเอาจุดเด่น ในด้านนายหน้าค้าหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจจากทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน
"ปี 2548 น่าจะเริ่มมี M&A แต่จะมีมากจริงๆ ในปี 2549 เพราะแต่ละบริษัท จะเริ่มเห็นผลจาก FTA แล้วว่าจำเป็นจะต้อง ใหญ่ขึ้น" กฤช เอทเตอร์ ผู้อำนวยการฝ่าย ตลาดทุนกล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บล.ไทยพาณิชย์ตั้งเป้ารายได้ที่ 1,400 ล้านบาท โดยมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ 5% ซึ่งเป็นผลจากการเปิดศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มอีก 4 สาขา คือ เดอะมอลล์ บางกะปิ ปิ่นเกล้า สมุทรปราการ และนครราชสีมา ส่วนรายได้ในปีที่ผ่านมามีจำนวน 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วน จากการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ 80% และวาณิชธนกิจ 20%
|
|
|
|
|