Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
อรุณ จิรชวาลา The Journey Man             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
อรุณ จิรชวาลา
Banking




ไม่น่าเชื่อว่ากว่าที่ อรุณ จิรชวาลา จะได้ก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ตัวจริงของธนาคารนครหลวงไทย เขาได้วนเวียนทำงานอยู่ในแวดวงธนาคารมาแล้วถึง 6 แห่ง

วันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคาร นครหลวงไทย (SCIB) เปิดแถลงนโยบาย ปี 2548 ซึ่งนอกจากประเด็นในการแถลงที่นักข่าวให้ความสนใจกันแล้ว ครั้งนี้ยังเป็น การออกงานครั้งแรกของอรุณ จิรชวาลา ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ หลังจากที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมาด้วย

การนั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของอรุณครั้งนี้ จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่เกินคาดของเจ้าตัวและพนักงานธนาคารไม่ใช่น้อย ต้นเหตุสำคัญมาจากอุบัติเหตุที่ธนาคารกรุงไทยที่ส่งผลต่อเนื่องให้อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่คนก่อน โยกย้ายไปคุมกรุงไทย เปิดโอกาสให้อรุณได้แสดงบทบาทในฐานะเบอร์หนึ่งขององค์กรนับจากนี้ไป

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับตัวเขาที่นี่ เพราะการมานครหลวงไทยของอรุณก็เป็นอุบัติเหตุเช่นกัน

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานที่นครหลวงไทยเขาดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารศรีนคร เป็นยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 และเป็นช่วงรอยต่อของนโยบาย ภาครัฐว่าจะเอาอย่างไรกับธนาคารแห่งนี้ดี หลังจากที่พยายามพิจารณามาหลายแนวทาง รวมทั้งการเปิดขายให้กับผู้สนใจ ซึ่งก็มีธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แสดงความสนใจเข้ามา แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

ผลสรุปก็เลยออกมาเป็นการควบรวมกิจการกันระหว่างศรีนครและนครหลวง ไทย ซึ่งก็มีผลให้อรุณกลายมาเป็นพนักงาน ของนครหลวงไทยนับจากนั้น

อรุณมีพื้นเพเป็นคนอุดรธานี เรียนหนังสือที่อุดรธานี จนจบมัธยมต้นแล้วมาต่อระดับมัธยมปลายที่เตรียมอุดม หลังจาก นั้นเขาสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เขาใช้ชีวิตนิสิตจุฬาฯ อยู่ ได้ไม่นานก็สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียน ที่สแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาตรีและโทในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลังจากผ่านงานในสายที่ร่ำเรียนมาในต่างประเทศระยะหนึ่ง ในปี 2523 เขา กลับมาทำงานในประเทศไทยและเริ่มชีวิตการทำงานในสายธนาคารพาณิชย์นับตั้งแต่ นั้น โดยเริ่มงานแห่งแรกที่ธนาคารกรุงเทพ ในสายงานด้านบริหารเงิน หลังจากทำงาน อยู่ที่นี่ 7 ปี เขาโยกย้ายไปอยู่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ระยะแรกเขาทำงานในด้าน Treasury ให้กับเอดีบี หลังจากนั้นก็โยกย้าย มาทำงานในส่วนโครงการเอกชน ซึ่งเป็นจังหวะที่งานด้านนี้ของเอดีบีกำลังขยายตัว มีการให้สินเชื่อโครงการในประเทศต่างๆจำนวนมาก ทำให้เขาซึ่งมีหน้าที่วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการต้องเดินทางไปมาอยู่เสมอ เมื่อทำงานที่เอดีบีได้ 6 ปีครึ่งเขาก็ตัดสินใจกลับมาทำงานที่ประเทศ ไทยอีกครั้ง โดยเข้าทำงานในด้านบริหารเงินที่ธนาคารกรุงเทพเช่นเดียวกับครั้งก่อน

อรุณทำงานอยู่ที่ธนาคารกรุงเทพได้ 2 ปีกว่า ก็ถูกทาบทามจากพีระพงศ์ ถนอมพงศ์พันธ์ ที่เคยร่วมงานกันมาตั้งแต่ครั้งทำงานในธนาคารกรุงเทพ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม ชักชวนให้มารับหน้าที่ผู้อำนวย การองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ข.ส.ม.ก.) แทนอโนทัย อุเทนสุต ที่ลาออกไป

"ตอนนั้นเขากำลังหาตัวผู้อำนวยการคนใหม่ สมัยนั้นยังไม่มีการสรรหา ก็ได้ รับการทาบทาม เราก็คิดว่ามันเป็นเรื่องท้าทาย และผมก็คิดว่าเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ด้านการเงิน ทางด้านโครงการ ต่างๆ ก็มองว่าน่าจะทำได้ ก็เลยรับอาสาเข้าไป" อรุณเล่าถึงการตัดสินใจครั้งนั้น

การทำงานของอรุณในบทบาทผู้อำนวยการ ข.ส.ม.ก.นั้น นอกจากจะต้อง ประสานกับพีระพงศ์แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในวันนั้นยังเป็นรองนายกรัฐมนตรี ดูแลงานด้านการจราจร ทำให้เขาต้องเข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหาจราจรกับ พ.ต.ท.ทักษิณแทบทุกสัปดาห์ สำหรับผลงานของเขาที่ ข.ส.ม.ก.มีหลายชิ้นที่เขาภูมิใจ แม้ว่าในช่วงการทำงานของเขา จะยังไม่สามารถผลักดันให้เสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่คาดหวังก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่ได้ทำไว้ก็คือ แผนวิสาหกิจ 5 ปี ซึ่งเป็นแผนงานของ ข.ส.ม.ก.ที่มองไปในอนาคตว่าจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในการบริหารและบริการได้อย่างไรบ้าง เช่น การปรับระบบชำระเงินเป็นตู้หยอดเหรียญหรือระบบการ์ดเพื่อลดจำนวนบุคลากรลงในระยะยาว โดยได้วางแผนงานในการฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องให้ไปทำหน้าที่ในส่วนอื่นทดแทน

นอกจากนี้ยังจัดการระบบประกันภัยให้ดีขึ้น มีการประสานงานกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อนำคนไปขึ้นบีทีเอส การวางแผนสร้างระบบรถเมล์แบบใหม่ เช่น รถเมล์ทางด่วนที่ใช้พื้นที่ใต้ทางด่วนเป็นสถานี แล้ววิ่งให้บริการเฉพาะเส้นทางบนทางด่วน เช่น แจ้งวัฒนะ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และบางนา เป็นต้น

แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง เมื่อพรรคพลังธรรมได้ตัดสินใจถอนตัวจาก การร่วมรัฐบาลในขณะนั้น ทำให้ พ.ต.ท. ทักษิณและพีระพงศ์พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขณะเดียวกันคณะกรรมการ ข.ส.ม.ก.ก็มีการเปลี่ยนแปลงยกชุด อรุณจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งด้วยเช่นกัน รวมเวลาที่เขารับหน้าที่ผู้อำนวยการ ข.ส.ม.ก.อยู่เพียง 1 ปี 1 เดือนเท่านั้น สั้นกว่าเวลา 2 ปีที่เขาตั้งใจไว้ตั้งแต่ก่อนเข้า รับตำแหน่งเสียอีก

ชีวิตของอรุณช่วงนี้กลับเข้ามาอยู่ใน แวดวงธนาคารอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการเข้าร่วมทีมจัดตั้งธนาคารแห่งใหม่ ที่เพิ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลคือ ธนาคารราชสีมา นำโดยกลุ่มเอ็มบีเค ซึ่งเขารับบทบาทรองหัวหน้าทีมโดยมี นวพร เรืองสกุล รับหน้าที่ หัวหน้าทีม ระหว่างที่เตรียมงานต่างๆ อยู่นั้นเป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจเริ่มก่อตัว จนกระทั่งเริ่มเกิดปัญหาในบริษัทเงินทุน ทำให้ กลุ่มผู้ก่อตั้งตัดสินใจชะลอโครงการโดยไม่มีกำหนด เพื่อรอให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทีมงานรุ่นก่อตั้งจึงสลายตัวกันไป

จังหวะเดียวกันนั้นเองที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมเข้าเทกโอเวอร์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ หรือบีบีซี และอรุณก็ได้รับการทาบทามให้เข้ารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลงานด้านบริหาร เงินต่างประเทศและเทคโนโลยี ซึ่งที่นี่เองที่เขาได้ร่วมงานกับอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ เป็นครั้งแรก โดยอภิศักดิ์เป็นผู้บริหารที่ถูก โยกย้ายเข้าไปจากบรรษัทเงินทุนฯ รับหน้าที่รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลงาน ด้านสินเชื่อ

การทำงานที่บีบีซีของอรุณในช่วงนี้อยู่ในระหว่างที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งการลอยตัวค่าเงินบาท การปิด 56 สถาบันการเงิน เปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและสุดท้ายคือ มาตรการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน 14 สิงหาคม ที่กำหนดให้ปิดกิจการบีบีซี จึงมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์การ หรือ BAM ขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยอรุณทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ BAM โดยมีอภิศักดิ์เป็น กรรมการผู้จัดการ

เมื่อมีการโอนหน้าที่การบริหารงาน BAM ให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบัน การเงินแล้ว อรุณมารับตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จนกระทั่งได้รับการทาบทามให้รับ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ของธนาคารศรีนคร และเมื่อยุทธ วรฉัตรธาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ยื่นใบลาออกเขาก็ได้ขึ้นรักษาการแทน แต่ยังไม่ทันที่เขาหรือใครขึ้นรับตำแหน่งอย่างเป็นทาง การก็มีประกาศให้ควบรวมกิจการธนาคารศรีนครเข้ากับนครหลวงไทยเสียก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us