Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
ยุค "อารมณ์" เป็นเครื่องมือการตลาด             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

AIS Homepage
โฮมเพจ DTAC

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
Mobile Phone




ลูกค้ายุคใหม่มักตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ตามความรู้สึกมากขึ้นกว่าการใช้เหตุผล นี่เป็นที่มาของการตลาดแบบใหม่ที่เรียกว่า Emotional Marketing

ไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมการเปิดให้โหวตทายผลการประกวดทั้งอะคาเดมี่แฟนตาเซีย หรือเดอะ สตาร์ แทบจะทำให้ ระบบการส่งข้อความของค่ายมือถือเกือบจะล่มตลอดระยะเวลาของการประกวดทั้งหมด เนื่องจากหลายคนรู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับผู้แข่งขันอย่างแท้จริง

หรือแม้แต่ทำไมบัตรเครดิต วีซ่ามินิ ที่ออกมาเมื่อไม่นานมานี้ถึงได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม นั่นอาจเป็นเพราะว่าคนอาจจะคิดว่าการพกพาบัตรแบบนี้ติดตัวไปด้วยให้ความรู้สึกอีกแบบที่แตกต่างจากการพกพาบัตรเครคิตแบบปกติทั่วไป ดังนั้นพักหลังๆ จึงพบเห็นได้ทั่วไปว่า หลายบริษัทเริ่มใช้แผนการตลาดแบบที่มักจะผูกติดเอาเรื่องอารมณ์ และความรู้สึกของ ผู้ซื้อและผู้ใช้บริการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

อุตสาหกรรมการสื่อสารเป็นธุรกิจหนึ่งที่เห็นการตลาดรูปแบบนี้ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะค่ายใหญ่อย่างเอไอเอส ที่รู้ดีว่า การตลาดแบบที่เรียกกันว่า Emotional marketing หรือการตลาดแบบเข้าถึงอารมณ์ของผู้ใช้จะเป็นแนวทางที่สร้างรายได้ให้งอกงาม ในยุคที่ตลาดการสื่อสาร เริ่มมองหารายได้ต่อหัวของคนจากการให้บริการเสริมมากกว่าการหาลูกค้าหน้าใหม่ แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่มากนัก แต่แนวทาง ของการทำตลาดก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นนับต่อจากนี้

สิ่งที่เอไอเอสพยายามทำมาก่อนหน้านี้หลายปี คือการเปิดตัวแคมเปญสะสม แต้มเพื่อแลกรางวัลสำหรับคนที่โทรมากใช้มากในแต่ละเดือน แต่ก็พับโครงการทิ้งไป เพราะพบในภายหลังว่าวิธีการนี้ใช้ไม่ได้ผลกับธุรกิจการสื่อสาร แต่กลับได้ผลดีที่สุดกับธุรกิจการบิน แต่วิธีการที่ใช้ได้ผลกับธุรกิจสื่อสารคือการแบ่งกลุ่มการใช้งานของผู้ใช้ หรือ segmentation และทำการ customize ตัวบริการให้เหมาะกับแต่ละกลุ่ม

Serenade เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าที่เอไอเอสได้จัดแบ่งเป็นกลุ่มระดับบนใช้จ่ายค่าบริการตั้งแต่ 1,500 บาทขึ้นไป จนถึงระดับหลายหมื่นบาทต่อเดือน ที่เอไอเอสเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ยืนยันทฤษฎีการตลาดแบบใหม่นี้ได้ดีที่สุด

ไม่เพียงแต่เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของบริษัท แม้จะมีจำนวนเพียง 400,000 รายจากจำนวนลูกค้าของค่ายทั้งหมด 15 ล้านรายแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่บริโภคบริการใหม่ๆ มากที่สุดกลุ่มหนึ่งด้วย และเมื่อเห็นช่องทางตรงนี้ เอไอเอสจึงให้ความสำคัญในการจัดหาบริการใหม่ๆ และสรรหากิจกรรมมาตอบสนองกลุ่มการใช้งานนี้เป็นพิเศษ แม้จะถูกบางคนมองว่า เอไอเอสกำลังสร้างมาตรฐานในการให้บริการลูกค้าที่แตกต่างกัน ไม่ต่างอะไรกับการแยกวรรณะในอินเดียสมัยก่อน

การเปิดห้องพิเศษที่แยกออกไปเฉพาะในศูนย์บริการของเอไอเอส พร้อมบริการน้ำและพนักงานที่ดูแลเป็นพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่ม Serenade พร้อมกับสร้าง Serenade Club ในห้างสรรพสินค้า หรูอย่างเซ็นทรัล ชิดลม และดิเอ็มโพเรียม พร้อมกับบริการซื้อตั๋ว ซื้อสินค้า และสิทธิในการรับบริการของค่ายเป็นพิเศษและบาง ครั้งอาจจะก่อนกลุ่มอื่นๆ เป็นการยืนยัน ได้ดีถึงแนวทางที่ชัดเจนของการเข้าถึงอารมณ์ผู้ใช้ ที่ผู้บริหารเชื่อว่าไม่แปลกที่กลุ่มคนในกลุ่มนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเมือง ที่ค่อนข้างมีฐานะ หรือมีกำลังซื้อจะมองหาความสบาย และรู้สึกว่าตนเองจะต้องได้รับการดูแล หรือบริการที่พิเศษกว่าคนอื่น

เอไอเอสยังมีแผนที่จะเพิ่มจุดให้บริการ Serenade ที่มากขึ้น โดยเฉพาะห้อง VIP สำหรับกลุ่มคนใช้งานโดยเฉพาะ เช่นเดียวกันกับเปิดกิจกรรมให้เฉพาะกลุ่มนี้ และเพิ่มสิทธิพิเศษโดยให้ลูกค้าเป็นคนเลือกเอง เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ใช้จ่ายเป็นจำนวนมากต่อเดือนเอาไว้กับตัว และอะไร ใหม่ๆ ที่พบว่าจะตอบความต้องการด้านอารมณ์ของคนกลุ่มนี้ก็ยังอยู่ในสายตาของบริษัทด้วยต่อไป

ขณะที่ค่ายมวยรองอย่างดีแทค แม้จะไม่ได้จัดกลุ่มคนจ่ายค่าบริการต่อเดือน จำนวนมากๆ ให้อยู่ในระดับบนหรือแทบจะไฮโซอย่างเอไอเอส แต่บริการที่เรียกว่า Maximize ของดีแทคก็เป็นกลุ่มคนที่จ่ายค่าบริการต่อเดือนมากที่สุด ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้ดีแทคสามารถรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้ไว้ให้นานๆ วิธีการหนึ่งที่ดีแทคเลือกใช้คือ ให้บริการที่เป็นพิเศษแยกจากกลุ่มอื่นๆ

ไม่ว่าจะเป็นการออกการ์ดสิทธิพิเศษที่ให้ส่วนลดเป็นพิเศษ ตามร้านค้า ร้านอาหารและสถานบันเทิง และเปิดตัวบริการเลขาส่วนตัว ที่ให้บริการคอลเซ็นเตอร์ที่จะทำหน้าที่ในการตอบคำถามและช่วยเหลือกลุ่มคนใช้ Maximize ตั้งแต่ การจองห้องพักในโรงแรม ตอบคำถามที่ไม่ทราบ ช่วยเป็นธุระในการติดต่อช่างซ่อมรถ ซ่อมไฟ ซ่อมน้ำประปาที่บ้าน และช่วยให้คำปรึกษาทุกอย่างแทบจะเรียกว่าครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้

นี่ยังไม่รวมถึงค่ายสีส้ม ออเร้นจ์ ที่ระบุว่าปีนี้จะเป็นอีกปีที่บริษัทจะให้ความสำคัญในการแยก segmentation ลูกค้ามากยิ่งขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะพบว่าเคยทำมาแล้ว แต่ปีนี้จะยิ่งให้ความสำคัญอีกหลายเท่าตัว เพราะเชื่อว่าคนใช้ความรู้สึกในการ เข้าถึงบริการของตนมากขึ้นนั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us