|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มกราคม 2548
|
|
ในปีที่ผ่านมา "เอปสัน" ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ทำงานอย่างหนัก เพื่อโปรโมตภาพลักษณ์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักในฐานะบริษัท ผู้พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อภาพถ่าย โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ หรือพรินเตอร์ ที่เป็น killer product ของเอปสันมาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และยังจะคงดำเนินต่อไปในช่วงหลายปีนับต่อจากนี้
เอปสันวาง positioning ของตัวเองอย่างชัดเจนว่าจะเน้น ทำตลาดสินค้าที่เป็นเอาต์พุตของภาพมากกว่าที่จะเน้นที่มาของการทำให้เกิดภาพ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเอปสันถึงไม่กระโดดเข้า ร่วมกระแสการผลิตสินค้าจำพวกกล้องดิจิตอลเพื่อผู้บริโภคอย่าง เต็มตัว ทั้งๆ ที่เอปสันเองก็มีกล้องดิจิตอลเพื่อมืออาชีพวางขายอยู่แล้วบางรุ่น หรือการเลือกที่จะไม่เข้าร่วมวงการผลิตโทรศัพท์ มือถือติดกล้อง ดังเช่นบริษัทผู้ผลิตสินค้าไอทีบางแห่งได้เริ่มให้ความสนใจกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอลจี, เบนคิว หรือแม้แต่ เอชพี คู่แข่งสำคัญในตลาดเครื่องพิมพ์ของเอปสันเองก็ตาม
โตชิโอะ คิมูระ รองประธานอำนวยการบริหาร บริษัทไซโก้ เอปสัน คอร์เปอเรชั่น แสดงวิสัยทัศน์ของเขาต่อหน้าสื่อมวลชนที่เข้าร่วมรับประทานอาหารค่ำบนชั้น 66 ของอาคารสเตท ทาวเวอร์ ร่วมกับเขา ในโอกาสที่เขาเดินทางมาเยี่ยมเยือนเอปสัน ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า เอปสันจะเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อทำให้เกิดภาพ ทั้งภาพบนกระดาษ บนจอกระจก หรือภาพบนจอ และนี่คือทิศทางที่เอปสันถนัดที่สุด
แม้เอปสันจะมีธุรกิจในกลุ่มอย่างเช่นการผลิตสินค้าเพื่อการประหยัดพลังงาน หรือเซมิคอนดักเตอร์ แต่เมื่อคิดเปรียบเทียบแล้ว รายได้ในปีงบประมาณล่าสุดของเอปสันที่คิดเป็นมูลค่า นับ 13,371 ล้านดอลลาร์ 61 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการทำตลาดกลุ่ม Imaging ทั้งสิ้น
เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าเอปสันจะเน้นตลาดภาพอย่างหนักแน่นอน แผนระยะกลางของเอปสันจึงมีกลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า "SE07" ที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจ "3i" หรือ "3 Imaging" อยู่ด้วย และแน่นอนย่อมไม่พ้นการทำตลาดในกลุ่มภาพบนกระดาษ (Imaging on paper), ภาพบนจอโปรเจกเตอร์ (Imaging on screen) และภาพบนกระจก (Imaging on glass) โดยเอปสันตัดสินใจเพิ่มงบประมาณในการวิจัยพัฒนาเป็น 6-7 เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งหมดของบริษัทอีกด้วย
นอกจากนี้เอปสัน ยังประกาศจับมือร่วมทุนกับค่ายซันโย เปิดบริษัทใหม่ในการผลิตสินค้าจำพวกจอแอลซีดีขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อป้อนตลาดกล้องดิจิตอล และมือถือที่กำลังมาแรงมาก โดยใช้ชื่อ ใหม่ว่า Sunyo-Epson Imaging Device Co.,ltd. นอกจากนี้ยังจับมือกับโตชิบา เพื่อเตรียมผลิตจอประเภทใหม่ที่เรืองแสงได้ด้วยตนเองแม้ขณะอยู่ในความมืด ซึ่งจะเข้ามาทดแทนการใช้แบ็กไลต์ในอุปกรณ์ต่างๆ
การจับมือของเอปสันกับค่ายยักษ์ต่างๆ นับเป็นแนวทางใหม่ของการตลาดในยุคนี้ ที่บริษัทมักจะอาศัยการร่วมทุนกับคนที่มีความถนัดในเรื่องที่ตนไม่มี และอาศัยข้อดีของตนเข้าไปเสริม เพื่อพัฒนาสินค้าตัวใหม่ในกลุ่มเดียวกันกับที่ตนเองมี และสร้างรายได้ใหม่ให้เกิดขึ้น และเหตุผลสำคัญที่สุดก็คือ การสร้างความ เข้มแข็งในการทำตลาดในกลุ่ม Imaging ของตัวเองให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
|
|
|
|
|