Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
ทิ้งทวนก่อนเริ่มหาเสียงจริง             
 


   
search resources

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ทักษิณ ชินวัตร




หากงาน "เหลียวหลัง แลหน้า จากรากหญ้า สู่รากแก้ว" ถือเป็นงานแถลงผลงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทางด้านภาพรวม ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในฐานะที่เป็นนายก รัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสามารถสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่อยู่ครบอายุ 4 ปี เป็นรัฐบาลแรกแล้ว

งาน "60 ล้านไทย พ้นภัยเศรษฐกิจ ย่อวิกฤต ต่อโอกาส โดย บสท." ก็ถือได้ว่าเป็นงานแถลงผลงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกงานหนึ่งที่บอกถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากวิกฤติค่าเงินบาท เมื่อปี 2540

"หลังวิกฤติ แนวทางแก้ปัญหามี 2 แนวทาง แนวทางแรก เป็นแนวทางแบบหมอที่ต้องการรักษาคนไข้ แม้ว่าคนไข้จะอาการหนักแค่ไหน หมอก็ต้องมีความพยายามที่จะรักษาคนไข้คนนั้น และจะดีใจมาก หากสามารถรักษาให้หายได้ ส่วนอีกแนว ทางหนึ่ง เป็นแนวทางแบบสัปเหร่อ คือต้องการให้ตาย เพื่อจะได้ นำไปฝังหรือเผา" เป็นคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณภายในงาน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา

คำพูดดังกล่าว แฝงไว้ด้วยนัยทางการสร้างค่านิยม เนื่อง จากเป็นการจัดงานในช่วงของการเริ่มต้นหาเสียง เพราะรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีกำหนดครบวาระในอีกเพียงแค่ 2 สัปดาห์หลังจากงานดังกล่าว

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เกิดขึ้นจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดนี้ ในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจประเทศไทย ในช่วงปี 2544 องค์กรนี้ถูกจัดตั้ง ขึ้นมาในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน โดยการรวบรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากสถาบันการเงินต่างๆ เข้ามาจัดการ

สถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 777,175 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนลูกหนี้ 15,491 ราย มา ไว้ที่ บสท.

ในช่วงแรกของการดำเนินงาน การจัดการกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ กระทำไปค่อนข้างช้า เนื่องจากเป็นองค์กรใหม่และเจ้าหน้าที่ซึ่งถูกโอนย้ายมาอยู่ที่ บสท.ส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานราชการ จึงเกิดความไม่มั่นใจในการเจรจากับลูกหนี้

หลังจากจัดตั้งองค์กรมาเกือบ 1 ปี และมีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการมาเป็นสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ซึ่งมาจากภาคเอกชน การดำเนินงานของ บสท.จึงมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับ

การจัดงานเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา เป็นการแถลง ผลการดำเนินงานในวาระครบรอบ 3 ปี ซึ่ง บสท.สามารถแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งรับโอนมาเมื่อปี 2544 ได้เป็นจำนวนทั้งสิ้นถึง 767,058 ล้านบาท หรือคิดเป็น 98% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ได้รับโอนมาทั้งหมด

"นอกจากการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เร็วกว่ากำหนดแล้ว บสท.ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยจากมูลค่ารวมของหนี้ที่มีข้อยุติทั้งหมด 767,058 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้มากถึง 525,942 ล้านบาท หรือประมาณ 69% ของลูกหนี้ที่มีข้อยุติทั้งหมด" โอฬาร ไชยประวัติ ประธานกรรมการ บสท. กล่าวรายงานต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ

"โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ จำนวน 27 บริษัท ซึ่งมีภาระหนี้ ตามบัญชีรวมกันประมาณ 50,000 ล้านบาท ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จไปแล้ว ส่วนหนึ่งสามารถระดมทุนโดย การเพิ่มทุนในตลาดได้จำนวนประมาณ 30,000 ล้านบาท และส่วนหนึ่งสามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็น เงินทุนหมุนเวียนได้อีกกว่า 12,000 ล้านบาท" เป็นอีกช่วงหนึ่งของ การรายงาน

งานนี้จัดโดยพยายามเน้นให้เห็นความยิ่งใหญ่ของผลสำเร็จ ของ บสท. มีการเชิญแขกมาร่วมงานไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ สถาบันการเงินเอกชน ที่สำคัญที่สุดคือตัวแทนของลูกหนี้ที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ซึ่งต่างก็ ออกมาแสดงความชื่นชม และขอบคุณ บสท.ที่ต่ออายุให้กับธุรกิจ ของเขา ไม่ให้ต้องล้มไปกับปัญหาทางการเงิน เมื่อ 3 ปีก่อน

ลูกหนี้หลายรายส่งสารมาแสดงความขอบคุณ ขณะที่อีกหลายรายยอมเป็น presenter ใน VCD ที่ทำขึ้นมาสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ โดยพูดชื่นชม บสท.ที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขวิกฤติให้กับพวกเขา

ลูกหนี้อย่างดังกิ้น โดนัท บริษัทยางโอตานิ บ้านสวนริมน้ำ บริษัทยูนิแลนด์เฮ้าส์ซิ่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด 38 กะรัต บริษัทสหโมเสคอุตสาหกรรม และบริษัทไทยนามแซนิทารี่แวร์ ถึงกับนำผลิตภัณฑ์มาร่วมออกร้าน เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพ และความ แข็งแกร่งของกิจการที่มีขึ้นหลังผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท.ไปแล้ว

ว่ากันว่าคนที่ปลื้มที่สุดของงานนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่โอฬาร ไชยประวัติ หรือสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ในฐานะประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการแค่ 2 คนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้มีโอกาสออกมาตอกย้ำผลงานในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่อีกเพียงไม่ถึง 2 เดือน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us