Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548
กระตุ้นเศรษฐกิจแบบญี่ปุ่น             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





แยบยลไม่น้อยทีเดียว สำหรับการเปลี่ยนแปลงธนบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นที่เพิ่งเริ่มต้นเมื่อไม่นานนี้ เพราะเป็นนโยบายที่แฝงไว้ด้วยวัตถุประสงค์อันหลากหลาย ที่สำคัญคือมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 เป็นต้นว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่จังหวัด Niigata เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหากับเกาหลีเหนือรวมไปถึงปัญหาการส่งกองกำลังรักษาตนเองไปยังอิรัก ล้วนแต่พาให้บรรยากาศโดยรวมของญี่ปุ่นในระยะนี้ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ข่าวการประกาศใช้ธนบัตรใหม่ของรัฐบาลญี่ปุ่นดูเหมือนจะเบนความสนใจของประชาชนได้มากเป็นพิเศษ

ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้แถลงข่าวแผนการ ใช้ธนบัตรฉบับใหม่อยู่เป็นระยะ แต่ก็ได้รับความสนใจเฉพาะในวงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากการดำเนินงานโดยทีมงานระดับ specialist ที่เลือกสรรมาจากหลายสาขาอาชีพ ช่วยให้ขั้นตอนตั้งแต่การประยุกต์ เทคโนโลยีหลายแขนงมาใช้ควบคู่กับการออกแบบธนบัตรจนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนการนำออกมาใช้จริงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป อีกทั้งมีภาพของสตรีปรากฏบนธนบัตรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีส่วนเสริมให้เกิดกระแส ตอบรับจากสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปอย่างดี

วัตถุประสงค์ที่รัฐบาลตัดสินใจเปลี่ยนโฉมธนบัตร ที่ใช้มานานถึง 20 ปีเต็ม มีหลายประการ อย่างแรกเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการปลอมธนบัตรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (จนถึงมิถุนายน 2547) พบธนบัตรปลอมทั้งสิ้น 28,562 ฉบับ ซึ่งในจำนวนนี้พบในปี 2541 เพียง 908 ฉบับแต่มาในปี 2545 ปีเดียวพบเพิ่มขึ้นถึง 20,211 ฉบับ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2002 เนื่องจากมีผู้คนจากทุกมุมโลกหลั่งไหลเข้าไปในญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก

ประการที่สอง นโยบายนี้จะช่วย "refresh" เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซาต่อเนื่องมาหลายปี ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์ออกมาในระยะแรกมีจำนวน 5 หมื่นล้านฉบับ และส่วนที่เหลือจะค่อยๆ ทยอยเข้าสู่ระบบ ซึ่งคาดการณ์ ไว้ว่าจะสามารถนำธนบัตรใหม่ออกมาใช้แทนที่ธนบัตรเก่า ที่มีอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านฉบับได้หมดภายในสิ้นปี 2548 นั่นหมายความว่าจะมีเงินหมุนเวียน (ชั่วคราว) เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า

ช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซา อัตราดอกเบี้ยของธนาคารในญี่ปุ่นนั้นต่ำมาก ขณะเดียวกันการถอนเงินนอก เวลาทำการของธนาคารยังต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกครั้งละ 105-210 เยน ทำให้แม้กระทั่งเด็กมัธยมที่มีรายได้จากงานพิเศษ ยังไม่คิดจะนำเงินไปฝากธนาคารเพียงเพื่อต้องการดอกเบี้ย ดังนั้นจึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่นำเงินไปลงทุนอย่างอื่นหรือไม่ก็เก็บเป็นเงินสดไว้เอง ซึ่งสะดวกกว่าไปฝากธนาคาร ทำให้สภาพคล่องและการหมุนเวียนเงินเยนลดลงไปกว่าที่ควรจะเป็น

การเปลี่ยนธนบัตรใหม่ครั้งนี้ จึงเสมือนเป็นกลยุทธ์อีกประการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้คนนำเงินออกมาใช้มากขึ้นหรืออย่างน้อยก็นำเงินออกมาแลกเป็นธนบัตรใหม่ก่อนที่ธนบัตรเก่าจะใช้ไม่ได้ (คาดว่าภายในเวลาประมาณ 2 ปีข้างหน้า) ซึ่งช่วยเพิ่มเม็ดเงินให้สะพัดในระบบได้อีกทางหนึ่ง

ผลกระทบที่จะเกิดโดยตรงภายหลังการนำธนบัตร ใหม่ออกมาใช้ คงไม่พ้นเรื่องการเปลี่ยนระบบตรวจสอบธนบัตรภายในเครื่องกลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ธนบัตรโดยมุ่งเน้นไปที่ 1-เครื่อง ATM 2-เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งมีสถิติว่าทั่วประเทศญี่ปุ่น มีเครื่องประเภทนี้กว่า 10 ล้านเครื่อง ซึ่งมากที่สุดในโลก 3-เครื่องแลกเงิน 4-เครื่องจำหน่ายตั๋วต่างๆ อาทิ ตั๋วรถไฟ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่นได้ช่วยแบกรับภาระไว้บางส่วน โดยเฉพาะการถ่ายทอด know-how ในการผลิต และติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบธนบัตรใหม่ ซึ่งสามารถทำได้เพียงนำอุปกรณ์พิเศษเสริมเข้าไปภายในเครื่องเดิม ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มหาศาล เพราะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตู้ใหม่ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ตระหนักดีว่าถึงแม้จะมีการเปลี่ยนธนบัตรใหม่ที่ยากต่อการปลอมแปลงในครั้งนี้แล้วก็ตาม ในอนาคตเทคนิคที่นำมาใช้ปลอมธนบัตรก็ต้องถูกพัฒนาตามมาในอีกไม่ช้า ก็เร็ว เมื่อถึงวันนั้นอาจเห็นแผ่น microchip บางเฉียบฝังอยู่บนธนบัตรญี่ปุ่นก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us